Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พนักงานมหาวิทยาลัย หรือ พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา คือ บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการในสถาบันอุดมศึกษา โดยได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน หรือเงินรายได้ของสถาบันอุดมศึกษา
ในอดีตมีการกำหนดให้บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในสถาบันอุดมศึกษา มีสถานะเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา เมื่อ พ.ศ. 2507[1] ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดจ้างพนักงานทดแทนอัตราข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการออกนอกระบบในปี พ.ศ. 2545 โดยให้ได้รับเงินเดือนเพิ่มที่มากกว่าข้าราชการ โดยมีอัตราในการจ้างพนักงานมหาวิทยาลัย เพิ่มขึ้น 1.7 เท่า สำหรับข้าราชการ สาย ก. และเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า สำหรับข้าราชการ สาย ข. และ สาย ค. ตามข้อเสนอของคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) ซึ่งมีนายพิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน[2] จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการกำหนดอัตราพนักงานมหาวิทยาลัย ทดแทนอัตราข้าราชการ ซึ่งเงิน 1.7 เท่า และ 1.5 เท่า ไม่ใช่เงินเดือนทั้งหมด แต่เป็นเงินที่รัฐบาลจัดสรรเพื่อจ้างพนักงาน 1 อัตรา เมื่อหักเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสวัสดิการ และอื่นๆ ที่เหลือจึงเป็นเงินเดือน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 ขึ้น จึงมีการกำหนดเกี่ยวกับพนักงานมหาวิทยาลัย อย่างเป็นทางการ
ปัจจุบันในสถาบันอุดมศึกษาไม่มีการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาแล้ว โดยสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ จะใช้การบรรจุและแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัยทดแทนอัตราข้าราชการเดิม ซึ่งพนักงานมหาวิทยาลัย มีสิทธิที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ และตำแหน่งผู้บริหารเช่นเดียวกันกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา[3]
ผู้ที่จะบรรจุเข้ารับราชการหรือปฏิบัติงานเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังนี้
และไม่มีลักษณะต้องห้ามลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พนักงานมหาวิทยาลัย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัย นั้น เนื่องจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีการปรับปรุงบัญชี 18 [4] ของระเบียบสำนักนายก รัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราช อิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2536 [5] ซึ่งเป็นเกณฑ์การขอพระราชทานครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีลักษณะพิเศษ โดยให้รวมถึงบุคลากรประเภทพนักงานมหาวิทยาลัยด้วย ตามบัญชี 18
ดังตัวอย่างของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้
1. พนักงานมหาวิทยาลัยที่จะเสนอขอพระราชทานได้ คือ พนักงานมหาวิทยาลัยหมวดเงินอุดหนุน ซึ่งจ้างจากงบประมานแผ่นดิน ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบการจ้างในระบบพนักงานมหาวิทยาลัย เท่านั้น
2. ตามร่างบัญชี 18 ลำดับที่ 1 ตำแหน่ง “ประจำแผนก” หมายความถึง ตำแหน่งที่บรรจุโดยใช้วุฒิปริญญาตรีขึ้นไป ส่วนตำแหน่งที่ใช้วุฒิ ปวช. และ ปวส. บรรจุก็สามารถขอพระราชทานได้หากมีเวลาราชการครบตามเกณฑ์ และได้รับเงินเดือนถึงขึ้นต่ำของวุฒิปริญญาตรีที่ใช้ในการบรรจุพนักงานมหาวิทยาลัย
3. ในการขอพระราชทานเครื่องราชฯ นั้น ต้องคำนึงถึงผลของการปฏิบัติงานด้วย เนื่องจากข้อ 10 (2) ของระเบียบฯ ดังกล่าวได้กำหนดคุณสมบัติของผู้สมควรได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชฯ ไว้ดังนี้
“เป็นผู้ประพฤติดีและปฏิบัติงานราชการหรือปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนด้วยความอุตสาหะ ซื่อสัตย์ และเอาใจใส่ ต่อหน้าที่อย่างดียิ่ง”
เครื่องแต่งกายของพนักงานมหาวิทยาลัยในงานพิธีต่างๆ มีการกำหนดขึ้นในแต่ละสถาบันอุดมศึกษาตามแต่ความเหมาะสมแตกต่างกันไป อ้างอิงจากเครื่องแบบปกติขาว เครื่องแบบเต็มยศหรือครึ่งยศของข้าราชการพลเรือนทั่วไป โดยปกติจะมีข้อแตกต่างที่ดวงตรา สัญลักษณ์ และอินทรธนู ที่จะเปลี่ยนไปตามแต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด อาทิ มหาวิทยาลัยมหิดลใช้ตรามหาวิทยาลัยและดอกกันภัยมหิดลบนอินทรธนู [6] จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเครื่องแบบของสตรีไปใช้เสื้อคล้ายแบบบุรุษ [7] มหาวิทยาลัยพะเยา[8] เป็นต้น
สถาบันอุดมศึกษา | ข้าราชการพลเรือน ในสถาบัน อุดมศึกษา | พนักงานมหาวิทยาลัย | พนักงานราชการ | ลูกจ้างประจำ | ลูกจ้างชั่วคราว | อื่นๆ | รวม[10] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1. มหาวิทยาลัยของรัฐ (16 แห่ง) | 17,366 | 24,338 | 1,077 | 4,816 | 11,950 | 3,868 | 63,415 |
2. มหาวิทยาลัยในกำกับ (14 แห่ง) | 6,244 | 25,559 | 47 | 7,652 | 10,804 | 9,542 | 59,848 |
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏ (40 แห่ง) | 5,427 | 13,077 | 873 | 950 | 8,081 | 184 | 28,592 |
4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคล (9 แห่ง) | 4,612 | 3,018 | 407 | 822 | 4,560 | 67 | 13,486 |
รวม | 33,649 | 65,992 | 2,404 | 14,240 | 35,395 | 13,661 | 165,341 |
จำนวนเปอร์เซ็นต์ | 20.35% | 39.91% | 1.45% | 8.16% | 21.41% | 8.26% | 100.00% |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.