ปลาพรม หรือ ปลาพรมหัวเหม็น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Osteochilus melanopleura) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[2][4] มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลปลาสร้อยนกเขา มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 60 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยทั่วไปคือ 40 เซนติเมตร มีลำตัวกว้างและแบนข้าง หลังโค้ง ท่อนหางสั้น เกล็ดมีขนาดเล็ก ลำตัวมีเทาปนเงิน ลำตัวตอนเหนือครีบอกมีลายสีดำจาง ๆ ขวางลำตัวเป็นลักษณะเด่น นัยน์ตาเป็นสีแดง
ปลาพรม | |
---|---|
ปลาพรมหัวเหม็นที่เชียงใหม่ ซู อควาเรียม ภายในสวนสัตว์เชียงใหม่ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | ปลาตะเพียน Cypriniformes |
วงศ์: | วงศ์ปลาตะเพียน Cyprinidae |
สกุล: | ปลาสร้อยนกเขาน้ำจืด Osteochilus (Bleeker, 1852) |
สปีชีส์: | Osteochilus melanopleura |
ชื่อทวินาม | |
Osteochilus melanopleura (Bleeker, 1852) | |
ชื่อพ้อง | |
Rohita melanopleura Bleeker, 1852[2] |
พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำ คลอง หรืออ่างเก็บน้ำทั่วไปในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค เป็นปลาที่หากินรวมกันเป็นฝูง ใช้ปากแทะตะไคร่น้ำตามโขดหินหรือตอไม้ใต้น้ำเป็นอาหารหลัก รวมทั้งกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น กุ้งหรือแมลง เป็นอาหารด้วย ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ นักมีนวิทยาชาวอเมริกันได้บันทึกไว้ว่า การตกปลาชนิดนี้ใช้เบ็ดเกี่ยวที่เป็นข้าวสุกปั้นเป็นก้อนกลม หรือใช้กุ้งหรือแมลงตกในแม่น้ำเจ้าพระยา
เหตุที่ได้ชื่อว่า "พรมหัวเหม็น" เนื่องจากเนื้อโดยเฉพาะส่วนหัวมีกลิ่นเหม็นคาวเหม็นเขียว ถึงกระนั้น ส่วนเนื้อลำตัวก็ยังใช้ประกอบอาหารได้ดีทั้งเป็นอาหารสดและทำเป็นปลาแห้ง นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม[5]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.