Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลากะรังหัวโขน (อังกฤษ: Estuarine stonefish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Synanceia horrida) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหิน (Synanceiidae)
ปลากะรังหัวโขน | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Scorpaeniformes |
วงศ์: | Synanceiidae |
สกุล: | Synanceia |
สปีชีส์: | S. horrida |
ชื่อทวินาม | |
Synanceia horrida (Linnaeus, 1766) | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
เป็นปลาหินชนิดหนึ่ง มีลำตัวป้อมเกือบกลม หัวขนาดใหญ่ สีลำตัวคล้ำมีลายเลอะ ส่วนบริเวณหัวมีหนามจำนวนมาก ลำตัวสากมีหนามเล็ก ผิวหนังหนาและเป็นปุ่ม ครีบหลังยาวครีบอกกว้าง ที่หลังมีก้านครีบแข็งขนาดใหญ่ ครีบอกและครีบท้อง ก้านครีบแข็งมีทั้งหมด 13 ก้าน มีลักษณะเป็นหนาม ซึ่งหนามนี้มีพิษร้ายแรงมาก โดยเกิดจากบริเวณก้านครีบแข็งอยู่ใต้ชั้นผิวหนังโดยอยู่รอบส่วนกลาง ส่วนที่ปลายของก้านหนามห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อ พิษจะถูกปล่อยออกมาเมื่อเยื่อหุ้มฉีกขาดออกไปเพื่อป้องกันตัว ซึ่งมีอันตรายมากอาจทำให้ผู้ที่สัมผัสถูกเสียชีวิตได้
ปลากะรังหัวโขน มีรูปลักษณ์คล้ายกับก้อนหิน จึงมีพฤติกรรมกบดานอยู่นิ่ง ๆ กับที่ เพื่อรอฮุบเหยื่อไปทั้งคำ ซึ่งได้แก่ ปลาขนาดเล็ก, กุ้ง และครัสเตเชียนชนิดต่าง ๆ มีความยาวลำตัวประมาณ 60 เซนติเมตร (2 ฟุต)
พบกระจายพันธุ์ทั่วไปตามแนวปะการังและใกล้ชายฝั่งของแถบอินโด-แปซฟิก เช่น อินเดียจนถึงจีน, ฟิลิปปินส์, ปาปัวนิวกินี และ ออสเตรเลีย และมีบันทึกว่าพบในวานูอาตูด้วย
บางครั้งอาจพบได้ตามแหล่งน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำ ปลากะรังหัวโขนแม้จะมีพิษร้ายแรง แต่ก็ถือเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงไว้แสดงตามสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ รวมถึงมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย เป็นปลาที่หาซื้อได้ไม่ยาก ราคาไม่แพง โดยผู้เลี้ยงสามารถที่จะปรับสภาพน้ำในที่เลี้ยงให้เป็นน้ำกร่อยที่มีความเค็มค่อนข้างเค็มเหมือนน้ำทะเลได้ ปลาจึงสามารถปรับตัวให้อยู่รอดได้ [2] [3]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.