โรคประสาท (อังกฤษ: neurosis) เป็นคำเก่าที่ปัจจุบันไม่มีที่ใช้ในทางการแพทย์แล้ว โดยเดิมหมายถึงความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่งที่ไม่รุนแรง แสดงอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้จิตใจแปรปรวน อ่อนไหวง่าย มักมีความรู้สึกไม่สบายใจ วิตกกังวลอยู่เสมอ ไม่สามารถควบคุมความรู้สึกอารมณ์หรือพฤติกรรมให้เหมือนเดิมได้ อาการทางกายภาพแสดงออกได้ หลายรูปแบบ
คำว่า Steave ถูกเสนอให้ใช้เป็นครั้งแรกโดยแพทย์ชาวสก็อตต์ William Cullen ในปี ค.ศ. 1769 โดยหมายถึงความผิดปกติเกี่ยวกับการรับสัมผัสและการเคลื่อนไหว (disorders of sense and motion) ซึ่งเกิดจากการได้รับผลกระทบโดยรวมของระบบประสาท (general affection of the nernous system) โดยถือว่าเป็นคำที่ใช้อธิบายความผิดปกติและอาการทางระบบประสาทหลายๆ อย่างที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยสรีรวิทยา มีที่มาจากคำภาษากรีก neuron (เส้นประสาท) เสริมกับคำปัจจัย -osis (ซึ่งผิดปกติ ซึ่งเป็นโรค) อย่างไรก็ดีคำ neurosis นี้ถูกอธิบายอย่างละเอียดโดย Carl Jung และ Sigmund Freud ในกว่าหนึ่งศตวรรษต่อมา ต่อมาจึงมีการใช้คำนี้ในงานเขียนทางจิตวิทยาและปรัชญาอยู่ระยะหนึ่ง[1]
คู่มือการวินิจฉัยและจำแนกทางสถิติของโรคทางจิตใจ (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, DSM) ได้ถอนหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกับ neurosis ออกทั้งหมด สะท้อนถึงการตัดสินใจของบรรณาธิการที่ต้องการให้มีการใช้พฤติกรรมมาเป็นเงื่อนไขการวินิจฉัยแทนที่จะเป็นกระบวนการทางจิตที่ซ่อนอยู่[2] หลังจากนั้น The American Heritage Medical Dictionary ก็ได้ระบุว่าคำนี้เป็นคำที่ไม่มีที่ใช้ในการวินิจฉัยทางจิตเวชอีกต่อไป[3] การเปลี่ยนแปลงของ DSM ครั้งนี้ทำให้เกิดการโต้เถียงกันอย่างกว้างขวาง[4]
- เกิดขึ้นฉับพลัน มักทราบว่าอาการเกิดขึ้นเมื่อใด ก่อนเกิดอาการมักมีสาเหตุที่กระตุ้นเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ เช่น การตาย ฯลฯ
- เป็นความแปรปรวนชนิดอ่อน ส่วนมากยังทำงานหรือเข้าสังคมได้แต่สมรรถภาพไม่ดีเท่าที่ควร
- บุคลิกภาพไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
- อยู่ในสภาพของความเป็นจริงและคงสภาพตัวเองได้
- รู้ตัวว่าไม่สบาย กังวลผิดปกติ ตามลักษณะอาการ
- ชนิดวิตกกังวล มีอารการวิตกกังวลเป็นสำคัญ ไม่สบายใจ หวาดหวั่นไม่สมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีอาการตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ใจสั่น อาจตัวร้อน ชาเป็นแถบ ๆ หายใจไม่อิ่ม เบื่ออาหาร มีเหงื่อออกตามมือและเท้า ก่อนหลับมีอาการสะดุ้งคล้ายตกเหว
- ชนิดฮิสทีเรีย เกิดจากความขัดแย้งทางจิตใจหรือความวิตกกังวลได้เปลี่ยนเป็นอาการทางกายที่เกี่ยวกับระบบความรู้สึกหรือส่วนของร่างกายที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ ตรวจไม่พบอาการผิดปกติ ลักษณะสำคัญ คือ มีบุคลิกภาพฮิสทีเรียมาก่อน เจ้าอารมณ์ หลงตัวเอง มีปัญหาทางเพศมาเกี่ยวข้อง ไม่สนใจอาการที่เกิดขึ้น มีความโน้มเอียงที่จะเรียกร้องความสามารถจากคนอื่นหรือมีผลตอบแทนที่เกิดจากการที่เกิดขึ้นและมีลักษณะชักจูงง่าย
- ชนิดหวาดกลัว มีความกลัวอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ อาการหวาดกลัวแสดงออกในรูปการเป็นลม อ่อนเพลีย ใจสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ และอาการหายไปเมื่อพ้นสภาพการณ์ สิ่งที่กลัวมักได้แก่ กลัวการอยู่ตามลำพัง กลัวสถานการณ์บางอย่าง กลัววัตถุ กลัวกิจกรรม
- ชนิดย้ำคิดย้ำทำ เกิดจากสภาวะที่ความวิตกกังวล ถูกแก้ไขด้วยการคิดหรือการกระทำบางอย่างซ้ำ ๆ กัน โดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้
- ชนิดซึมเศร้า เป็นความแปรปรวนซึ่งมักเกิดจากความขัดแย้งภายในใจ หรือเหตุการณ์เกี่ยวกับการสูญเสีย ทำให้มีความรู้สึกเศร้า ขาดความสนใจ ความคิดช้า เคลื่อนไหวช้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ท้องผูก ฯลฯ
- ชนิดท้อแท้ อาการมีหลายแบบส่วนมากเป็นแบบท้อแท้ใจ หมดแรง ไม่แจ่มใส นอนไม่หลับ
- ชนิดบุคลิกวิปลาส จะรู้สึกว่าส่วนของร่างกาย บุคลิกภาพตนเองเปลี่ยนแปลง รู้สึกสับสน ไม่รู้ตัวเองเป็นใคร ไม่มีตัวตนที่แท้จริง ฯลฯ
- ชนิดไฮโปคอนดิเคิล มีความวุ่นวายเกี่ยวกับร่างกายและย้ำคิดเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองโดยที่ร่างกายอยู่ในสภาพปกติเหมือนคนทั่วไป
Russon, John (2003). Human Experience: Philosophy, Neurosis, and the Elements of Everyday Life. State University of New York Press. ISBN 0791457540. See also Kirsten Jacobson, (2006), "The Interpersonal Expression of Human Spatiality: A Phenomenological Interpretation of Anorexia Nervosa," Chiasmi International 8, pp 157-74.
Horwitz and Wakefield (2007). The Loss of Sadness. Oxford. ISBN 9780195313048.{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
The American Heritage Medical Dictionary. Houghton Mifflin. 2007. ISBN 9780618824359.
Wilson, Mitchell, (1993), "DSM-III and the Transformation of American Psychiatry: A History". The American Journal of Psychiatry, 150,3, pp 399-410.