Remove ads
ลีกฟุตบอลอาชีพระดับสูงสุดในเยอรมนี จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุนเดิสลีกา (เยอรมัน: Bundesliga; แปลตรงตัวว่า ลีกสหพันธรัฐ) เป็นระบบการแข่งขันฟุตบอลลีกสูงสุดของประเทศเยอรมนี เริ่มก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1962 ที่เมืองดอร์ทมุนท์ และฤดูกาลแรกเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1963 ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของสมาคมฟุตบอลเยอรมัน
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
ก่อตั้ง | 1963 |
---|---|
ประเทศ | เยอรมนี |
สมาพันธ์ | ยูฟ่า |
จำนวนทีม | 18 |
ระดับในพีระมิด | 1 |
ตกชั้นสู่ | ซไวเทอบุนเดิสลีกา |
ถ้วยระดับประเทศ | เดเอ็ฟเบ-โพคาล เดเอ็ฟเอ็ล-ซูเพอร์คัพ |
ถ้วยระดับลีก | เดเอ็ฟเอ็ล-ลีกาโพคาล |
ถ้วยระดับนานาชาติ | ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ยูฟ่ายูโรปาลีก ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน (1 สมัย) (2023–24) |
ชนะเลิศมากที่สุด | ไบเอิร์นมิวนิก (32 สมัย) |
หุ้นส่วนโทรทัศน์ | สไกด็อยทช์ลันท์ อาแอร์เด บีอินสปอตส์ พีพีทีวี (บางคู่) |
เว็บไซต์ | www |
ปัจจุบัน: 2024–25 |
บุนเดิสลีกาแบ่งเป็น 2 ลีก คือ "ลีก 1" (First Bundesliga) รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "บุนเดิสลีกา" และ "ซไวเทอบุนเดิสลีกา" (Second Bundesliga) ซึ่งแยกออกมาจากลีก 1 เมื่อ ค.ศ. 1974 ในประเทศเยอรมนีมีแต่บุนเดิสลีกา 2 ลีกเท่านั้นที่เป็นลีกฟุตบอลอาชีพ
บุนเดิสลีกาเป็นลีกฟุตบอลอาชีพในประเทศเยอรมนีที่มีผู้เข้าร่วมในสนามโดยเฉลี่ยต่อเกมสูงที่สุดในโลกในบรรดาลีกทั้งหมด บุนเดิสลีกาประกอบด้วยทีม 18 ทีม ฤดูกาลเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤษภาคม เกมส่วนใหญ่จะเล่นในวันเสาร์และอาทิตย์โดยมีเกมไม่กี่เกมที่เล่นในวันธรรมดา ทุกสโมสรใน Bundesliga มีสิทธิ์ได้เล่น เดเอ็ฟเบ-โพคาล
ทีมที่คว้าแชมป์สูงสุดคือ ไบเอิร์นมิวนิก 32 สมัย โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ 5 สมัย โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค 5 สมัย
ตั้งแต่ปี 1920 มีการวางแผนที่จะก่อตั้งฟุตบอลลีกอาชีพในระดับชาติขึ้นมา แต่มีกระแสต่อต้านและไม่เห็นด้วย เนื่องจากในยุคนั้นความเข้มแข็งของฟุตบอลในภูมิภาคในแคว้นยังมีมากอยู่ แต่เดิมใช้ในนามชื่อ การแข่งขันชิงชนะเลิศฟุตบอลเยอรมัน ต่อมาในฤดูร้อนปี 1962 ภายหลังความล้มเหลวของทีมชาติเยอรมนีตะวันตกในฟุตบอลโลกปี 1962 ที่พ่ายให้กับยูโกสลาเวียในรอบ 8 ทีมสุดท้าย 0-1 สมาคมฟุตบอลเยอรมัน จึงได้ตัดสินใจก่อตั้งแล้วได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อ บุนเดิสลีกา ซึ่งเป็นฟุตบอลลีกอาชีพที่แข่งทั้งประเทศ (เยอรมนีตะวันตก) เป็นลีกสูงสุดเป็นครั้งแรก และมี Oberliga (upper league) หรือ Reoaliga (ลีกภูมิภาค) ในปัจจุบัน เป็นลีกระดับสอง โดยถูกแบ่งออกเป็น 5 โซน – เหนือ, ตะวันตก, ตะวันตกเฉียงใต้, ใต้, เบอร์ลินตะวันตก ซึ่งในช่วง 2 ปีแรก บุนเดิสลีกามี 16 ทีม แต่เพิ่มเป็น 18 ทีมในปี 1965, การตกชั้น ตก 2 ทีม, การเลื่อนจากโอเบอร์ลีกา 2 ทีมแชมป์และรองแชมป์จากทั้ง 5 กลุ่ม รวม10 มาแข่งในรอบสุดท้ายแบบทัวร์นาเมนต์ เพื่อหา 2 ทีมเลื่อนชั้นไปบุนเดิสลีกา
ลีกระดับ 2 ได้ถูกยุบรวมเหลือเพียง 2 ลีก เป็นลีกโซนเหนือและลีกโซนใต้ โดยมีฝั่งละ 20 ทีม และเรียกว่า บุนเดิสลีกา 2 การเลื่อนชั้นไปบุนเดิสลีกา เลื่อน 3 ทีม แชมป์แต่ละโซนได้เลื่อนชั้นโดยตรง ทีมอันดับ 2 ของทั้งสองโซน มาแข่งเพลย์ออฟ กันเพื่อหาอีก 1 ทีม เลื่อนชั้นตามไปเป็นทีมที่ 3
ในปี 1981 ลีกระดับ 2 คือ บุนเดิสลีกา 2 ได้ถูกรวมเป็นลีกเดียว แข่งทั่วประเทศ โดยมีทีม 20 ทีม
ระบบลีกของเยอรมนีตะวันตกได้รวมกับลีกของเยอรมนีตะวันออก ในปี 1991 จำนวนทีมในบุนเดิสลีกา เพิ่มขึ้นเป็น 20 ทีม จำนวนทีมในบุนเดสลีก 2 เพิ่มขึ้นเป็น 24 ทีม ในปี 1991 ก่อนที่จะลดจำนวนลงเหลือ 20 ทีม ในปี 1993 และ เหลือ 18 ทีมในปี 1994
ในปี 1994 ลีกระดับภูมิภาคได้ถูกก่อตั้งขึ้นมาอีกครั้ง ในลีกระดับ3ของระบบฟุตบอลลีกเยอรมัน โดยถูกจัดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม (เหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้, ใต้) ในปีแรกหรือปี 1994 นั้น แชมป์ ของทั้ง 4 ลีก ได้สิทธิเลื่อนชั้น โดยตรง แต่ในปีต่อ ๆ มา แชมป์จากโซนใต้ได้สิทธิ์เลื่อนชั้น1ทีม แชมป์จากโซนตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ได้สิทธิเลื่อนชั้น 1 ทีม
อีก 2 ทีม แชมป์จากโซนเหนือและโซนตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องเพลย์ออฟกัน เพื่อหา 1 ทีมเลื่อนชั้น ส่วนอีกทีม ให้สิทธิ รองแชมป์จากโซนใต้ กับ รองแชมป์โซนตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ เพลย์ออฟกันเพื่อหาอีก 1 ทีมเลื่อนชั้น
ลีกระดับ 3 ยุบเหลือ 2 ลีก เหนือและใต้ โดยแชมป์และรองแชมป์ เลื่อนสู่บุนเดิสลีกา 2
ในปี 2006 สมาคมฟุตบอลเยอรมันได้ตัดสินใจก่อตั้ง ลีกา 3 ที่จัดแข่งรวมทั้งประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีกำหนดให้เริ่มใช้ในปี 2008-09 ในฤดูกาลแรก 2008-09 20 ทีมจะมาจาก 4 ทีมที่ตกชั้นจากบุนเดิสลีกา 2 ทั้งหมด 16 ทีม อันดับ 3-10 ของลีกภูมิภาค ทั้งโซนเหนือ 8 ทีม และโซนใต้อีก 8 ทีม
เมื่อจบฤดูกาล 2 ทีมอันดับสุดท้ายของตารางจะตกชั้นลงไปเล่นในซไวเทอบุนเดิสลีกา และ ทีมอันดับ 1 และ 2 (แชมป์และรองแชมป์) จากซไวเทอบุนเดิสลีกาจะเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในบุนเดิสลีกา ส่วนทีมอันดับ 16 ของบุนเดิสลีกาจะเล่นเพลย์ออฟกับทีมอันดับ 3 ของซไวเทอบุนเดิสลีกาเพื่อหาทีมลงเล่นในบุนเดิสลีกาประจำฤดูกาลถัดไป
4 ทีมที่อันดับดีสุดจะได้ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยสี่ทีมอันดับแรกจะผ่านเข้าไปรอในรอบแบ่งกลุ่ม(ทีมชนะเลิศได้อยู่โถ 1) ส่วนอันดับ 5 จะมีสิทธิเข้าไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีก
สโมสร | ชนะเลิศ (สมัย) | ปีที่ชนะเลิศ |
---|---|---|
ไบเอิร์นมิวนิก | 32 | 1968–69, 1971–72, 1972–73, 1973–74, 1979–80, 1980–81, 1984–85, 1985–86, 1986–87, 1988–89, 1989–90, 1993–94, 1996–97, 1998–99, 1999–2000, 2000–01, 2002–03, 2004–05, 2005–06, 2007–08, 2009–10, 2012–13, 2013–14, 2014–15, 2015–16, 2016–17, 2017–18, 2018–19, 2019–20, 2020–21, 2021–22, 2022–23 |
โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ | 5 | 1994–95, 1995–96, 2001–02, 2010–11, 2011–12 |
โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค | 5 | 1969–70, 1970–71, 1974–75, 1975–76, 1976–77 |
แวร์เดอร์เบรเมิน | 4 | 1964–65, 1987–88, 1992–93, 2003–04 |
ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา | 3 | 1978–79, 1981–82, 1982–83 |
เฟาเอ็ฟเบ ชตุทท์การ์ท | 3 | 1983–84, 1991–92, 2006–07 |
ไคเซิร์สเลาเทิร์น | 2 | 1990–91, 1997–98 |
แอร์สเทอร์ เอ็ฟเซ เคิลน์ | 2 | 1963–64, 1977–78 |
แอร์สเทอร์ เอ็ฟเซ เนือร์นแบร์ค | 1 | 1967–68 |
เทเอสเฟา 1860 มิวนิก | 1 | 1965–66 |
เฟาเอ็ฟเอ็ล ว็อลฟส์บวร์ค | 1 | 2008–09 |
ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน | 1 | 2023–24 |
รัฐ | สมัย | ทีมชนะเลิศ |
---|---|---|
ไบเอิร์น | ไบเอิร์นมิวนิก (32), แอร์สเทอร์ เอ็ฟเซ เนือร์นแบร์ค (1), เทเอสเฟา 1860 มิวนิก (1) | |
นอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน | โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ (5), โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค (5), แอร์สเทอร์ เอ็ฟเซ เคิลน์ (2), ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน (1) | |
เบรเมิน | แวร์เดอร์เบรเมิน (4) | |
ฮัมบวร์ค | ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา (3) | |
บาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค | เฟาเอ็ฟเบ ชตุทท์การ์ท (3) | |
ไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ | ไคเซิร์สเลาเทิร์น (2) | |
นีเดอร์ซัคเซิน | เฟาเอ็ฟเอ็ล ว็อลฟส์บวร์ค (1), ไอน์ทรัคท์เบราน์ชไวค์ (1) |
เมือง | สมัย | ทีมชนะเลิศ |
---|---|---|
มิวนิก | ไบเอิร์นมิวนิก (32), เทเอสเฟา 1860 มิวนิก (1) | |
ดอร์ทมุนท์ | โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ (5) | |
เมินเชินกลัทบัค | โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค (5) | |
เบรเมิน | แวร์เดอร์เบรเมิน (4) | |
ฮัมบวร์ค | ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา (3) | |
ชตุทท์การ์ท | เฟาเอ็ฟเบ ชตุทท์การ์ท (3) | |
โคโลญ | แอร์สเทอร์ เอ็ฟเซ เคิลน์ (2) | |
ไคเซิร์สเลาเทิร์น | ไคเซิร์สเลาเทิร์น (2) | |
เนือร์นแบร์ค | แอร์สเทอร์ เอ็ฟเซ เนือร์นแบร์ค (1) | |
ว็อลฟส์บวร์ค | เฟาเอ็ฟเอ็ล ว็อลฟส์บวร์ค (1) | |
เบราน์ชไวค์ | ไอน์ทรัคท์เบราน์ชไวค์ (1) | |
เลเวอร์คูเซิน | ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน (1) |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.