Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุญผ่อง ละครโทรทัศน์ไทยทางช่องไทยพีบีเอส ออกอากาศในช่วงกลางปี พ.ศ. 2556
บุญผ่อง | |
---|---|
ประเภท | ละครโทรทัศน์ |
สร้างโดย | ฮั้ง มโนก้า |
พัฒนาโดย | สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส |
กำกับโดย | สมพร เชื้อบุญอุ้ม |
แสดงนำ | เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ พลอย ศรนรินทร์ ฮิโระ ซะโนะ นุสบา ปุณณกันต์ ปีเตอร์ ธูนสตระ อริศรา วงษ์ชาลี คะซุกิ ยะโนะ |
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่อง | ฮิเดะกิ โมะริ สินนภา สารสาส มงคล อุทก |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | ไทริโกะ โนะ โซะโยะคะเซะ (สายลม) โดย อิจิบังโมะชิ เท็ตสึยะ ฮะนะซะกะริ (ดอกไม้บาน) โดย พลอย ศรนรินทร์[1] |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น |
จำนวนตอน | 14 ตอน |
การผลิต | |
สถานที่ถ่ายทำ | กาญจนบุรี, สมุทรสงคราม |
ความยาวตอน | 35 นาที/ตอน |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ไทยพีบีเอส |
ออกอากาศ | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556 (พุธ, พฤหัสบดี 20.20-21.15 น.) รีรัน: 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556–30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 (เสาร์, อาทิตย์ 11.05-12.00 น.) |
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพญี่ปุ่นได้เดินทัพผ่านทางประเทศไทย ทำให้ไทยได้รับผลกระทบจากสงครามไปด้วย มีการทิ้งระเบิดอย่างต่อเนื่องจากสหรัฐอเมริกา บุญผ่อง ชายหนุ่มผู้เป็นลูกชายคนโตของครอบครัวสิริเวชชะพันธ์ แห่งตลาดปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี รับสุรัตน์ ภรรยา และผณี ลูกสาววัย 9 ขวบ เพียงคนเดียวที่เดินทางหนีระเบิดจากพระนครมาอยู่ที่นี่
ที่กาญจนบุรี และราชบุรี ได้มีการเกณฑ์เชลยสงคราม ซึ่งเป็นทหารชาติตะวันตกฝ่ายสัมพันธมิตรมาสร้างทางรถไฟและสะพานข้ามแม่น้ำแควเพื่อที่จะตัดผ่านไปประเทศพม่า เชลยหลายคนต้องล้มตายจากสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยโรคภัยต่าง ๆ จากป่าดิบชื้น รวมถึงการกินอยู่ที่ลำบาก และการถูกทรมานให้ทำงานตลอดวัน ตลอดคืน เป็นที่น่าหดหู่ใจอย่างมากต่อผู้พบเห็น รวมถึงบุญผ่อง บุญผ่องจึงตัดสินใจบางอย่างที่จะช่วยพวกเชลย แม้จะต้องเสี่ยงชีวิตตนเองและครอบครัวก็ตาม บุญผ่องได้รับการติดต่อจากกองทัพญี่ปุ่นให้ไปส่งอาหารถึงในค่ายเชลย บุญผ่องจึงแอบส่งยาและของใช้ต่าง ๆ ใส่ลงไปในข้าวของเหล่านี้ แม้จะไม่เป็นที่เห็นด้วยจากครอบครัว รวมถึงเป็นที่สงสัยของทางญี่ปุ่น หลายต่อหลายครั้งมีการตรวจค้น แต่ก็ไม่พบเจอ ท้ายที่สุดเมื่อญี่ปุ่นสงสัยมากขึ้น บุญผ่องจึงให้ผณี ลูกสาวตัวเล็ก ๆ ของตนเองเป็นคนนำไปส่งให้ ด้วยผณีนั้นเป็นที่ผูกพันของ มิโยชิ นายทหารชาวญี่ปุ่นที่รักผณีเสมือนลูกสาวตนเองจริง ๆ จนก่อให้เกิดเป็นมิตรภาพต่างวัย
ตัวละคร | นักแสดง |
---|---|
บุญผ่อง | เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ |
ผณี | พลอย ศรนรินทร์ |
มิโยชิ | ฮิโระ ซะโนะ |
สุรัตน์ | นุสบา ปุณณกันต์ |
ฉวี | อริศรา วงษ์ชาลี |
ไซโตะ | คะซุกิ ยะโนะ |
เวรี่ | ปีเตอร์ ธูนสตระ |
ไมเคิล | คิริน ไซมอน ยัง |
รำเพย | ณัฏฐนันท์ เกียรติดาฐนิต |
ยิ้ม | นันทิยา ศรีอุบล |
แผน (น้องชายบุญผ่อง) | กฤษฎี พวงประยงค์ |
ขุนสิริเวชชะพันธ์ (หมอเขียน-พ่อบุญผ่อง) | ธวัชวงศ์ ปิยะเกศิน |
ลำเจียก (แม่บุญผ่อง) | อำภา ภูษิต |
บุหงา (น้องสาวบุญผ่อง) | ปรียาพร ร่มเย็น |
บุบผา (น้องสาวบุญผ่อง) | จีน ฮอยล์ |
กระแต | นัดตะวัน ศักดิ์ศิริ |
หนุน | ธนัทภัทร อยู่เย็น |
มร.เคจี (หัวหน้าองค์กรวี) | เคน สตรุทเกอร์ |
ประชา (สมาชิกขบวนการใต้ดินต่อต้านญี่ปุ่น) | ชลัฏ ณ สงขลา (นักแสดงรับเชิญ) |
ยายรำเพย | ฉันทนา กิติยพันธ์ (นักแสดงรับเชิญ) |
มือปืน | สถาพร นาควิไลโรจน์ (นักแสดงรับเชิญ) |
บุญผ่อง เป็นละครโทรทัศน์ที่สร้างมาจากเรื่องจริงของบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ อดีตนักธุรกิจชาวกาญจนบุรี ที่ให้ความช่วยเหลือเชลยสงครามในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ถูกเกณฑ์มาสร้างทรงรถไฟสายมรณะและสะพานข้ามแม่น้ำแคว ด้วยการแอบส่งยาและข้าวของต่าง ๆ ให้ จนได้รับการยกย่องจากหลายชาติที่เป็นชาติสัมพันธมิตรในภายหลังสงครามยุติ จนได้รับฉายาว่า "วีรบุรุษสะพานข้ามแม่น้ำแคว" หรือ "วีรบุรุษช่องเขาขาด"[2]
บทละครได้ถูกเขียนขึ้นโดยอ้างอิงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ด้วยระยะเวลาการเขียนยาวนานกว่า 5 ปี โดยผ่านคำให้สัมภาษณ์ของ ผณี ศุภวัฒน์ (สิริเวชชะพันธ์) บุตรสาวของบุญผ่องที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ ซึ่งกลายมาเป็นตัวละครสำคัญในเรื่องด้วย และลำไย สิริเวชชะพันธ์ น้องสะใภ้ของบุญผ่อง
การถ่ายทำถ่ายในสถานที่จริง และอีกหลายสถานที่ ร่วมด้วยนักแสดงหลากหลายเชื้อชาติ หลากหลายภาษา จนเมื่อละครเปิดตัวเป็นครั้งแรก มีงานแถลงข่าวเปิดตัวในวันที่ 25-26 เมษายน พ.ศ. 2556 ที่จังหวัดกาญจนบุรี สถานที่เกิดเหตุจริง[3] และมีรอบเปิดตัวสำหรับสื่อมวลชน ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556 ที่โรงภาพยนตร์เอสพลานาด แคราย[4]
และก่อนที่ละครจะออกอากาศ ได้มีการเผยแพร่สารคดี "ไม้หมอนสุดท้าย บนทางสายมรณะ" เป็นการให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้ชมก่อนที่จะละครจะเริ่มต้น[5]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.