Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงชาติโคลอมเบียได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1863 ลักษณะเป็นธงสามสีสามแถบแนวนอนสีเหลือง สีน้ำเงิน และสีแดง แถบสีเหลืองนั้นกว้างเป็นสองเท่าของแถบสีน้ำเงินและแถบสีแดง
สเปน: "Tricolor Nacional" | |
การใช้ | ธงชาติ ensign |
---|---|
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1863 |
ลักษณะ | ธงสามสีสามแถบแนวนอนสีเหลือง-น้ำเงิน-แดง อัตราส่วนของแถบแนวนอนเป็น 2:1:1 |
สัดส่วนของแถบสีเหลือง สีน้ำเงิน และสีแดง ในธงชาติโคลอมเบีย เรียงลำดับจากบนลงล่าง คิดเป็นอัตราส่วน 2:1:1 เช่นเดียวกับธงชาติเอกวาดอร์ ลักษณะดังกล่าวนี้ได้หยิบยืมมาจากธงชาติกรันโคลอมเบีย ซึ่งต่างจากธงสามสีโดยทั่วไปที่ไม่ว่าจะเรียงตามแนวตั้งหรือแนวนอนก็ตามมักมีขนาดแถบที่เท่ากัน ทั้งนี้ ธงชาติเวเนซุเอลาซึ่งมีที่มาจากธงชาติกรันโคลอมเบียเช่นเดียวกันกลับใช้แถบธงสามสีในลักษณะที่เท่ากันทุกแถบตามธรรมเนียมเดียวกับธงสามสีของชาติอื่นๆ
สำหรับสีธงชาติโดยมาตรฐานนั้นไม่ได้มีการกำหนดไว้ แต่แนะนำให้ใช้การเทียบสีตามตารางถัดไป
ตามที่มีการให้นิยามไว้ในปัจจุบัน แต่ละสีล้วนมีความหมายดังต่อไปนี้
นอกจากนี้ยังมีการให้นิยามสีธงไว้อีกหลายแบบ เช่น นิยามหนึ่งกล่าวว่า สีเหลืองคือดวงตะวันและแผ่นดินของประชาชน สีน้ำเงินคือสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวโคลอมเบีย สีแดงคือโลหิตของผู้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาติ เป็นต้น
สำหรับขนาดของธงนั้นมิได้มีการกำหนดขนาดที่แน่นอนไว้ แต่โดยธรรมเนียมปฏิบัตืนิยมใช้สัดส่วนธงกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน
ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ฟรันซิสโก เด มิรันดา (Francisco de Miranda) เป็นผู้ให้กำเนิดธงสีเหลือง-น้ำเงิน-ของประเทศสหภาพมหาโคลอมเบีย ซึ่งต่อมาประเทศเอกวาดอร์ โคลอมเบีย และเวเนซุเอลา ต่างได้นำเอามาดัดแปลงเป็นแบบธงชาติของตนเองสืบมาจนถึงปัจจุบัน
มีหลักฐานบ่งบอกถึงแรงบันดาลใจในการออกแบบธงของมิรันดาอย่างน้อยที่สุด 2 แห่ง ในจดหมายที่เขามีไปยังเคาท์ ซีโมน โรมาโนวิช โวรอนซอฟฟ์ (Count Simon Romanovich Woronzoff) ในปี ค.ศ. 1792 มิรันดาได้กล่าวไว้ว่าสีทั้งสามสีในธงมาจากทฤษฎีของสีแม่บท ซึ่งเขาได้รับแนวคิดนี้มาจากโยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธอ นักเขียนและนักปราชญ์ชาวเยอรมัน โดยเขาได้บอกเล่าถึงการสนทนาของตนเองกับเกอเธอระหว่างงานเลี้ยงที่เมืองไวมาร์ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมนี) ในช่วงฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1785 ด้วยความจับใจถึงการบรรยายของมิรันดาถึงเรื่องราวความกล้าของเขาในสงครามการปฏิวัติอเมริกา และการเดินทางไปทั่วทวีปอเมริกาและยุโรป เกอเธอจึงเอ่ยกับมิรันดาว่า "โชคชะตาของท่านคือการสร้างสถานที่ซึ่งแม่สีทั้งหลายจะไม่ถูกบิดเบือนในแผ่นดินของท่านเอง" ("Your destiny is to create in your land a place where primary colours are not distorted.”) จากนั้นเกอเธอจึงได้อธิบายเพิ่มเติมแก่มิรันดา ดังความที่เขาได้เล่าไว้ในจดหมายดังนี้
“ | เริ่มแรกเขาได้อธิบายถึงวิธีการที่ม่านตาแปรสภาพแสงให้กลายเป็นแม่สีสามสี...จากนั้นเขาจึงพิสูจน์ให้ข้าพเจ้าทราบว่า เพราะเหตุใดสีเหลืองจึงเป็นสีที่อบอุ่น สง่างาม และใกล้เคียงกับสีขาวมากที่สุด เพราะเหตุใดสีฟ้า (สีน้ำเงิน) จึงให้ความรู้สึกที่ผสมผสานระหว่างความตื่นเต้นและความสงบ และก่อระยะห่างที่ทำให้เงาปรากฏเด่นชัด และเพราะเหตุใดสีแดงจึงเป็นการยกระดับขึ้นมาจากสีเหลืองกับสีน้ำเงิน การสังเคราะห์สี และการที่แสงจางหายไปในเงามืด
มันไม่ใช่เป็นเพราะว่าโลกคือผู้สร้างสีเหลือง สีฟ้า และสีแดงต่างๆ ขึ้นมา แต่เป็นเพราะว่าด้วยวิธีการเช่นนี้ ที่ทั้งสามสีก่อเกิดการผสมผสามกันอย่างไร้ขีดจำกัดต่างหาก เราผู้เป็นมนุษย์จึงได้แลเห็นมัน ... ประเทศหนึ่งประเทศ (เกอเธอสรุป) ย่อมเริ่มขึ้นจากชื่อหนึ่งชื่อและธงหนึ่งธง และมันจะกลายเป็นทั้งสองสิ่งนั้น ดังเช่นบุคคลผู้เติมเต็มชะตาชีวิตของตนเองได้ |
” |
หลังจากที่มิรันดาได้ออกแบบธงตามแนวคิดที่ได้รับจากการสนทนาครั้งนั้น เขาก็ระลึกขึ้นได้ด้วยความยินดีว่าเคยได้ไปชมภาพวาดปูนเปียก (fresco) ของลาซซาโร ทาวาโรเน ที่ปาลาซโซ เบลิมบัว ในเมืองเจนัว ประเทศอิตาลี ซึ่งรูปดังกล่าวนั้นเป็นรูปของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส คลี่ธงสีพื้นๆ ผืนหนึ่งที่เมืองเวรากัว (Veragua) ในระหว่างการเดินทางครั้งที่สี่ของตนเอง[1]
แรงบันดาลใจอีกอย่างหนึ่งในการออกแบบธงของมิรันดาอาจพบได้ในจดหมายเหตุการทหารประจำวันของเขา ซึ่งระบุไว้ว่าธงสีเหลือง-น้ำเงิน-แดง มีที่มาจากธงสีเดีนวกันของกองกำลังเบือเกอร์วอช ("Bürgerwache") ของเมืองฮัมบวร์ค ซึ่งเขาได้พบเห็นในระหว่างการเดินทางในประเทศเยอรมนี[2][3]
ในปี ค.ศ. 1801 ในแผนการสร้างกองทัพเพื่อปลดปล่อยดินแดนอเมริกาจากสเปน ซึ่งมิรันดาได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีของฝ่ายสหราชอาณาจักรให้ช่วยทำการรบแต่ไม่สำเร็จ เขาได้ขอร้องให้มีการจัดหาสิ่งของเป็น "ธงสิบผืน ซึ่งจะต้องมีสีแดง เหลือง และน้ำเงิน สำหรับพื้นที่สามแห่ง"[4] ทว่าอย่างไรก็ตาม ธงชาติกรันโคลอมเบียผืนแรกก็ยังไม่ปรากฏขึ้น จนกระทั่งได้มีการชักขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1806 ที่เมืองจัคเมล ประเทศเฮติ ระหว่างการเดินทางสู่เวเนซุเอลาอันปราศจากโชคของมิรันดา
ธงผืนที่ 1 ค.ศ. 1819–1820 | ธงผืนที่ 2 ค.ศ. 1820–1821 | ธงผืนที่ 3 ค.ศ. 1821–1830 | ธงผืนที่ 4 แบบนำเสนอ (ไม่เป็นทางการ) ค.ศ. 1822 |
ธงชาติ | ธงพลเรือน ธงเรือราษฎร์ | ธงพลเรือน ธงเรือพลเรือน | ธงกองทัพ และ ธงนาวี |
ค.ศ. 1834 - 1861 | ค.ศ. 1834 - 1861 | สหรัฐนิวกรานาดา ค.ศ. 1861 | ค.ศ. 1834 - 1861 |
ธงพลเรือน ธงเรือราษฎร์ | ธงพลเรือน ธงเรือราษฎร์ | ธงนาวี | ธงนาวี |
ค.ศ. 1863 - 1890 | ตั้งแต่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1932 | ค.ศ. 1863 - 1890 | ตั้งแต่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1934 |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.