Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงชาติมาลาวี เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 ซึ่งเป็นวันที่ไนแอซาแลนด์ประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
การใช้ | ธงชาติ และ ธงเรือพลเรือน และ ธงเรือรัฐบาล |
---|---|
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 (นำกลับมาใช้ใหม่เมื่อ พ.ศ. 2555) |
ลักษณะ | ลักษณะเป็นธงสามสีสามแถบแนวนอนสีดำ-แดง-เขียวที่แถบสีดำนั้นมีรูปดวงอาทิตย์สีแดงครึ่งดวงเปล่งรัศมี |
ทั้งนี้ ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบธงในปี พ.ศ. 2553 มาลาวีใช้ธงชาติเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็น 3 แถบตามแนวนอน แต่ละแถบกว้างเท่ากัน แถบบนสีดำ แถบกลางสีแดง แถบล่างสีเขียว ที่แถบสีดำนั้นมีรูปดวงอาทิตย์สีแดงครึ่งดวงเปล่งรัศมี ธงนี้ ในธงนี้ รูปดวงอาทิตย์ครึ่งดวงคือดวงอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า หมายถึงรุ่งอรุณแห่งความหวังและอิสรภาพของทวีปแอฟริกา (ในขณะที่ออกแบบธงดังกล่าว บรรดาประเทศในทวีปแอฟริกาเริ่มจะได้รับเอกราชจากชาติมหาอำนาจต่างๆ บ้างแล้ว) สีดำหมายถึงประชาชนชาวแอฟริกา สีแดงหมายถึงผู้สละชีพเพื่อเอกราช และสีเขียวหมายถึงธรรมชาติ
ธงชาติผืนใหม่ออกแบบโดย พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553[1] ลักษณะเป็นธงสามสีสามแถบแนวนอน เรียงแถบสีธงจากบนลงล่างเป็นสีแดง สีดำ และสีขาว ตามแนวทางที่ใช้กับสีกลุ่มอุดมการณืร่วมแอฟริกาทั่วไป ที่กลางธงเป็นรูปดวงอาทิตย์เปล่งรัศมีเต็มดวงสีขาวเพื่อสื่อความหมายถึงความก้าวหน้าที่เศรษฐกิจของประเทศซึ่งเริ่มขึ้นนับตั้งประเทศได้รับเอกราช[2] การเปลี่ยนธงที่เกิดขึ้นครั้งนี้ พรรคแนวร่วมประชาธิปไตยมาลาวีซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านได้แสดงการคัดค้านด้วยการฟ้องร้องต่อศาลในเรื่องดังกล่าว[3]
จอยเซ แบนดา ประธานาธิบดีคนใหม่ ได้รับรองมติของรัฐสภาให้กลับไปใช้ธงชาติแบบเดิม เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555.[4][5]
ระดับค่าความเข้มของโทนสีที่ใช้เป็นธงชาติ ใช้ระบบBritish Standard colours:[6]
Scheme | Black | Red | Green |
---|---|---|---|
British Standard Colours | 0-000 | 0-005 | 0-010 |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.