ท่าราชวรดิฐ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.
ท่าราชวรดิฐ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านหน้าพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย ถนนมหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ท่าราชวรดิฐเป็นท่าเทียบเรือพระที่นั่ง ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของพระบรมมหาราชวัง เดิมเป็นที่ตั้งของพระตำหนักน้ำซึ่งสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นตำหนักปักเสาลงในน้ำ ทอดคานเหมือนเรือนแพ มีหลังคามุงกระเบื้อง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รื้อตำหนักของเดิมเสีย แล้วลงเขื่อนถมที่ขึ้นเสมอพื้นดิน และสร้างพระที่นั่งขึ้นหมู่หนึ่งเป็นพลับพลาสูงตรงกลางองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า "พระที่นั่งชลังคพิมาน" ต่อพลับพลาสูงเข้าไปทางด้านตะวันออก มีพระที่นั่งสูงเป็นที่ประทับองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า "พระที่นั่งทิพยสถานเทพสถิต" พระที่นั่งข้างเหนือลดพื้นต่ำลงมาเป็นท้องพระโรงฝ่ายหน้าองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า "พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย" มีพระที่นั่งข้างใต้เหมือนกันกับองค์ข้างเหนือเป็นที่พักฝ่ายใน พระราชทานนามว่า "พระที่นั่งอนงค์ในสราญรมย์" ส่วนตรงหน้าพระที่นั่งชลังคพิมานใต้ท่าเสด็จลงเรือ โปรดเกล้าฯ ให้ก่อเขื่อนทำสระเป็นที่สรงสระหนึ่งก่อกำแพงเป็นบริเวณข้างในทั้ง 3 ด้านมีป้อมริมน้ำปลายแนวกำแพงด้านเหนือ พระราชทานนามว่าป้อมพรหมอำนวยศิลป์ ป้อมข้างใต้ตรงชื่อ ป้อมอินทร์อำนวยศร และโปรดเกล้าฯ ให้เรียกรวมกันทั้งบริเวณว่า ท่าราชวรดิฐ แปลว่า ท่าอันประเสริฐของพระราชา ข้างเหนือขึ้นไปทำท่าสำหรับเรือข้าราชการอีกท่าหนึ่ง โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า ท่านิเวศน์วรดิฐ ซึ่งปัจจุบันเป็นท่าเรือรับส่งข้าราชการทหารเรือและประชาชนทั่วไปข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยาจากฝั่งพระนครไปยังฝั่งธนบุรีขึ้นตรงท่าของกรมอู่ทหารเรือ
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งในบริเวณท่าราชวรดิฐชำรุดจึงโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมรักษาพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัยไว้ นอกนั้นให้รื้อเสีย ปัจจุบันท่าราชวรดิฐยังเป็นที่เสด็จประทับในการเสด็จโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค