Loading AI tools
สปีชีส์ของพืช จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทองหลางลาย, ปาริชาติ, ทองหลางด่าง หรือ ทองเผือก (ภาคเหนือ) (ชื่อวิทยาศาสตร์: Erythrina variegata) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5-10 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามเรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางจะโตกว่าสองใบด้านข้าง ออกดอกเป็นช่อยาวประมาณ 30–40 เซนติเมตร รูปดอกถั่ว สีแดงเข้ม ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักยาว 15–30 เซนติเมตร
ทองหลางลาย | |
---|---|
ต้นไม่ที่โกลกาตา รัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย | |
ดอก | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | ถั่ว Fabales |
วงศ์: | ถั่ว Fabaceae |
วงศ์ย่อย: | วงศ์ย่อยถั่ว Faboideae |
สกุล: | Erythrina Erythrina L. |
สปีชีส์: | Erythrina variegata |
ชื่อทวินาม | |
Erythrina variegata L. | |
ทองหลางลายกระจายพันธุ์ในเอเชียทั้งเขตร้อนและเขตอบอุ่น เจริญได้ในสภาพดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและปักชำ
ทองหลางลายหรือปาริชาติ เป็นดอกไม้ประจำ มหาวิทยาลัยทักษิณ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.