Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถนนพม่า (Burma Road; ภาษาจีน: 滇缅公路) เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างพม่ากับภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยเริ่มจากเมืองล่าเสี้ยวในพม่าไปจนถึงเมืองคุนหมิงในยูนนาน สร้างขึ้นเมื่อพม่าเป็นอาณานิคมของอังกฤษเพื่อส่งความช่วยเหลือให้จีนระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 การป้องกันการลำเลียงผ่านถนนสายนี้ทำให้ญี่ปุ่นต้องเข้าไปยึดครองพม่าใน พ.ศ. 2485 การใช้ถนนนี้ถูกฟื้นฟูโดยฝ่ายสัมพันธมิตรโดยการสร้างถนนเลโดใน พ.ศ. 2488 บางส่วนของถนนนี้ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน[1]
ถนนนี้มีความยาว 1,154 กิโลเมตร ทอดยาวไปตามเขตภูเขา ส่วนของถนนที่สร้างจากคุนหมิงไปยังชายแดนพม่าใช้แรงงานชาวจีนและชาวพม่าประมาณ 200,000 คนระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2480 และเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2481 ถนนนี้มีบทบาทสำคัญในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่ออังกฤษใช้ถนนพม่าเป็นเส้นทางขนส่งยุทธปัจจัยไปยังจีน ก่อนที่ญี่ปุ่นจะรุกรานอาณานิคมของอังกฤษ ยุทธปัจจัยถูกนำขึ้นบกที่ย่างกุ้ง และขนส่งทางรถไฟไปยังเมืองลาชิโอ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของถนนในพม่า หลังจากที่ญี่ปุ่นยึดพม่าได้ใน พ.ศ. 2485 ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องส่งยุทธปัจจัยให้ฝ่ายจีนคณะชาติของนายพลเจียง ไคเช็กทางอากาศ โดยผ่านทางรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ข้ามปลายด้านตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย
เป้าหมายของอังกฤษคือต้องกำจัดญี่ปุ่นออกจากพม่าเพื่อเปิดเส้นทางติดต่อทางภาคพื้นดินกับจีนอีกครั้ง ในที่สุด กองทัพผสมระหว่างอินเดีย อังกฤษ จีน และสหรัฐได้เข้ายึดรัฐอัสสัมของอินเดียและทางเหนือของพม่าได้ และเปิดเส้นทางการติดต่อใหม่เรียกถนนเลโด ที่เริ่มต้นจากเมืองเลโดในรัฐอัสสัม ผ่านมิตจีนา และเชื่อมต่อกับถนนพม่าเดิมที่วานติงเจิน ในยูนนาน รถบรรทุกคันแรกที่ใช้ถนนสายใหม่นี้ได้ไปถึงชายแดนจีนในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2488
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.