Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ณัฐ ยนตรรักษ์ (เกิด 6 ตุลาคม พ.ศ. 2497) เป็นนักเปียโนและนักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงของไทย มีผลงานการเล่นเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เป็นผู้ได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาคีตศิลป์ จัดโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. 2549
ณัฐ ยนตรรักษ์ | |
---|---|
ชื่อเกิด | ณัฐ ยนตรรักษ์ |
เกิด | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2497 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
แนวเพลง | ดนตรีคลาสสิก |
อาชีพ |
|
เครื่องดนตรี | เปียโน |
ช่วงปี | พ.ศ. 2531–ปัจจุบัน |
คู่สมรส | วงเดือน อินทราวุธ |
เว็บไซต์ | http://www.nat-studio.com |
ณัฐ ยนตรรักษ์ จบการศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เคยร่วมคณะนักร้องประสานเสียง BCC Boys' Choir จบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [1] เป็นนรุ่นที่ 15 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ( CU15 ) และไปศึกษาต่อด้านดนตรี ที่ Goldsmiths' College ประเทศอังกฤษ และได้รับทุนศึกษาต่อด้านเปียโนที่มหาวิทยาลัยรีดดิง [2] สมรสกับวงเดือน อินทราวุธ (บุตรีในเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือ) อดีตนักแสดงหญิง มีบุตร 3 คนมีศักดิ์เป็นลุงของมินนี่ (นักร้อง)
ณัฐ มีผลงานแสดงดนตรีคลาสสิก และประพันธ์เพลงคลาสสิกที่นำเสนอความเป็นไทยไว้หลายเพลง รวมทั้งเพลง "สยามโซนาต้า" ที่แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา เมื่อ พ.ศ. 2542 [3] ได้รับการยกย่องเป็นนักเปียโนฝีมือเลิศ (Piano Virtuoso) เป็นนักเปียโนชาวไทยคนแรกที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็น Steinway Artist [4] และได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นศิลปินร่วมสมัย รางวัลศิลปาธร สาขาคีตศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2549
ณัฐ ยนตรรักษ์ และภรรยา เป็นคริสเตียน [5] ปัจจุบันเปิดโรงเรียนสอนเปียโน ชื่อ ณัฐ สตูดิโอ ( Nat Studio )
ผลงานเปียโนโซนาตาของณัฐ ชื่อ "Glory to Our Great Kings" ซึ่งแสดงเป็นครั้งแรกในคอนเสิร์ตเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ในปี พ.ศ. 2537 และได้รับการบรรเลงในงานประชุมสหประชาชาติที่นิวยอร์กในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2538 [2][6]
อัลบั้มเพลง
อัลบั้ม : คนเดียวในดวงใจ (2526)
1. คนเดียวในดวงใจ
2. ฝันถึงเธอ
3. ทะเลชีวิต
4. ตาแสนกลม
5. ในฝัน
6. ดอกไม้
7. จันทร์เอ๋ย
8. ยวนย่าเหล่
9. ใครจะร้องไห้เพื่อฉัน
10. บัวขาว
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.