สิบสองอิหม่าม (อาหรับ: ٱثْنَا عَشَرِيَّة; ʾIthnā ʿAšarīyah เปอร์เซีย: شیعه دوازده‌امامی, Šī'eh-ye Davâzdah-Emâmī) เป็นที่รู้จักกันในชื่อ อิมามียะฮ์ (อาหรับ: إِمَامِيَّة) เป็นสาขาของชีอะฮ์ที่นับถือมากที่สุด คำว่า สิบสองอิหม่าม อิงถึงหัวหน้าทั้งสิบสองที่รู้จักในชื่อสิบสองอิหม่าม และความเชื่อว่า อิหม่ามมะฮ์ดี อิมามคนสุดท้ายที่ลึกลับ จะปรากฏอีกครั้งพร้อมกับการมาของอีซา เพื่อฆ่า ดัจญาล

Thumb
ลายวิจิตรของอิมามทั้ง 12 ล้อมรอบชื่อศาสดามุฮัมมัด

ชีอะฮ์สิบสองอิหม่ามเป็นสาขาที่มีคนนับถือมากที่สุด โดยนับถือไป 85% ของชีอะฮ์ทั้งหมด หรือประมาณ 150 ถึง 200 ล้านคน[1][2][3][4]

สิบสองอิหม่ามเป็นที่นับถือส่วนใหญ่ในประเทศอิหร่าน, อาเซอร์ไบจาน, อิรัก, เลบานอน, บาห์เรน และส่วนน้อยในประเทศอินเดีย, ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, ซาอุดีอาระเบีย, บังกลาเทศ, คูเวต, โอมาน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, กาตาร์, ไนจีเรีย, ชาด และแทนซาเนีย[5][6][7][8][9][10]

คำศัพท์

สิบสองอิหม่าม เป็นฐานความเชื่อถึงลูกหลานชายทั้งสิบสองคนในพงศาวลีของมุฮัมมัด เริ่มด้วยอะลี อิบน์ อบีฏอลิบ และสิ้นสุดที่มุฮัมมัด อัลมะฮ์ดี เป็นอิมามที่มีอำนาจทางศาสนาและการเมือง[11]

สิบสองอิหม่ามถูกเรียกอีกหลายชื่อ ได้แก่:

  • ชีอะฮ์ อิงถึงกลุ่มของมุสลิมที่เชื่อว่าผู้สืบทอดของมุฮัมมัดต้องเป็นสมาชิกครอบครัวของท่านเท่านั้น[12] ตาบะตาบัยกล่าวว่าคำนี้สื่อถึงพรรคพวกของอะลีในสมัยของมุฮัมมัด[13]
  • ญะอ์ฟารี อิงถึงโรงเรียนกฎหมายของสิบสองอิหม่าม โดยมีต้นตอจากชื่อ ญะอ์ฟัร อัศศอดิก ผู้เป็นอิมามคนที่ 6 ที่ได้ฉายา "ผู้เรียบเรียงกฎหมาย"[14] ญะอ์ฟัร อัศศอดิก เป็นที่ให้เกียรติและอิงโดยผู้ก่อตั้งมัซฮับฮะนะฟีและมาลิกีของซุนนี[15]
  • อิมามี หรือ อิมามียะฮ์ อิงถึงความเชื่อของสิบสองอิหม่ามว่าเหล่าอิมามไม่เคยผิดพลาด ถึงแม้ว่าสาขาอิสมาอิลีจะมีความเชื่อหมือนกัน แต่ฝ่ายสิบสองอิหม่ามเชื่อว่าผู้นำทางสังคมหลังจากมุฮัมมัดที่สืบเชื้อสายจากอะลีและผู้สืบทอดทั้ง 11 คน มีคุณสมบัติความไม่ผิดพลาดทั้งสิบสี่[16]

ชะรีอะฮ์ (ฟุรูอุดดีน)

รายงานจากนัสร์ รากศัพท์ของชะรีอะฮ์คือชัรอ์ ซึ่งหมายถึงเส้นทางที่ชายและหญิงคนติดตาม เขาเขียนเพิ่มเติมว่า มุสลิมควรตามชะรีอะฮ์ควบคู่กับกฎหมายทางการ โดยแบ่งออกเป็น 5 หมวดหมู่ คือ: จำเป็น (วาญิบ), แนะนำ (มันดูบ), น่าตำหนิ หรือ น่ารังเกียจ (มักรูฮ), ต้องห้าม (ฮะรอม) และทำในสิ่งที่กฎหมายของพระเจ้าไม่ได้แตกต่าง (มุบาฮ์) รากของชะรีอะฮ์คืออัลกุรอาน ส่วนฮะดีษและซุนนะฮ์เป็นหลักฐานชั้นรองของชะรีอะฮ์และเป็นส่วนประกอบของอัลกุรอาน ชะรีอะฮ์มีข้อกฎหมายที่แปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ยังคงใช้ได้กับสถานการณ์ใหม่[17]

  • ละหมาด – เป็นการละหมาดประจำวัน 5 ครั้ง ในภาษาเปอร์เซียกับภาษาอุรดูเรียกว่า นมาซ
  • ศีลอด – ถือศีลอดในช่วงเราะมะฎอน ภาษาเปอร์เซียเรียกว่า รูเซะฮ์
  • ซะกาต
  • คุมส์ ("หนึ่งส่วนห้า" ของเงินเก็บ) – ภาษี
  • ฮัจญ์ – ดำเนินการแสวงบุญที่มักกะฮ์
  • ญิฮาด (ดิ้นรน) – การดิ้นรนเพื่อให้พระเจ้าพอใจ การญิฮาดต่อความชั่วร้ายของวิญญาณในชีวิตประจำวัน เรียกว่า ญิฮาดอัตบาร ส่วนญิฮาดภายนอกต่อสภาพแวดล้อมอันชั่วร้ายในชีวิตประจำวัน เรียกว่า ญิฮาดอัสฆ็อร อย่าเข้าใจผิดกับความหมายในปัจจุบัน ซึ่งเข้าใจผิดเป็น "สงครามศักดิ์สิทธิ์" การเขียนความจริง (ญิฮาดบิลเกาะลัม "การดิ้นรนด้วยปากกา") และพูดความจริงต่อหน้าผู้กดขี่เป็นรูปแบบหนึ่งของญิฮาดด้วย
  • ทำในสิ่งที่สั่ง
  • ละทิ้งในสิ่งชั่วร้าย
  • ตะวัลลา – รักอะฮ์ลุลบัยต์กับผู้ติดตามของพวกท่าน
  • ตะบัรรอ – ละทิ้งจากศัตรูของอะฮ์ลุลบัยต์[18]

ความแตกต่าง

การอำพราง (ตะกียะฮ์)

ตามชีอะฮ์ การกระทำในด้านศาสนาเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน แต่ถ้าการแสดงความศรัทธาอาจทำให้ชีวิต, เกียรติยศ และทรัพย์สมบัติของคนหนึ่งตกอยู่ในอันตราย เขาสามารถปกปิดความศรัทธาตามอายะฮ์ 16: 106 ว่า เป็นอาวุธของผู้อ่อนแอต่อหน้าทรราช[19] เป็นเรื่องต้องห้ามถ้าการปกปิดทำให้ศาสนาหรืออุดมการณ์ของศาสนาหายไป แต่ถ้าไม่มีความเสี่ยงต่อการถูกฆ่า ก็ไม่ต้องอำพราง เพราะไม่มีที่ใดอำพรางต่อการสอนศาสนา[20] บริเวณที่ชีอะฮ์เป็นชนส่วนน้อยภายใต้การปกครองของผู้ปกครองที่ต่อต้านความเชื่อของพวกเขา พวกเขาเลือกที่จะอยู่อย่างระมัดระวังเพื่อเลี่ยงการสูญเสีย[21]

มุตอะฮ์: การแต่งงานชั่วคราว

นิกาฮ์อัลมุตอะฮ์ (อาหรับ: نكاح المتعة แปลตรงตัว "แต่งงานเพื่อความสุข")[22] หรือ ซิเฆาะฮ์ เป็นการแต่งงานตามกลุ่มอุศูลีชะรีอะฮ์ของชีอะฮ์ ซึ่งเป็นการแต่งงานจำกัดเวลา แล้วค่อยหย่าเมื่อหมดเวลา อย่างไรก็ตาม ฝ่ายซุนนีถือว่าเป็น ฮะรอม (ต้องห้าม) และเป็นหัวข้อ ฟิกฮ์ ที่โต้แย้งกันมากที่สุด ทั้งฝ่ายซุนนีกับชีอะฮ์มีมุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้ตงข้ามกัน ซุนนีบางกลุ่มยอมรับนิกาฮ์มิซยาร[23]

มีการอ้างว่ามุตอะฮ์มีมาตั้งแต่สมัยของมุฮัมมัด และในช่วงนั้นยังไม่เป็นที่ต้องห้าม ชีอะฮ์เชื่อว่า สิ่งที่อนุญาตในสมัยมุฮัมมัด ยังคงได้รับการอนุญาตในภายหลัง มุตอะฮ์ถูกปฏิบัติมาในช่วงที่มุฮัมมัดได้รับวะฮ์ยู จนกระทั่งสมัยอุมัรที่นำอายะฮ์ 70: 29 มาโต้แย้ง[24]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.