คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

ชาวอเมริกันเชื้อสายไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชาวอเมริกันเชื้อสายไทย
Remove ads

ชาวอเมริกันเชื้อสายไทย (อดีตเรียก ชาวอเมริกันเชื้อสายสยาม) หมายถึง พลเมืองสหรัฐที่มีเชื้อสายมาจากประเทศไทย[3] ประชากรอเมริกันเชื้อสายไทยมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและชาติพันธุ์ ซึ่งประกอบด้วยคนไทยจำนวนมากที่ระบุว่าเป็นเชื้อชาติผสมและเป็นไทยเชื้อสายจีน[4]

ข้อมูลเบื้องต้น ประชากรทั้งหมด, ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ ...
Remove ads
Remove ads

ประวัติ

ชาวไทยคนแรกที่เข้าเมืองมาในสหรัฐอเมริกาคือแฝดสยาม อิน-จัน ซึ่งเข้ามาในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2373 โดยอาศัยอยู่ที่รัฐนอร์ทแคโรไลนา และใช้ชื่อสกุลว่า "บังเกอร์" (Bunker) ซึ่งลูกหลานของแฝดสยามนี้ก็ใช้นามสกุลว่า บังเกอร์ ตราบเท่าปัจจุบัน

นักเรียนไทยคนแรกที่ไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกาคือ เทียนฮี้ ซึ่งเข้ามาในสหรัฐอเมริกาพร้อมกันกับมิชชันนารีชาวอเมริกัน และสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยแพทย์ที่นิวยอร์ก ในปี พ.ศ. 2414 และเทียนฮี้ก็เป็นบิดาของอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยคือ พจน์ สารสิน

  • พ.ศ. 2504-2513 คนไทยตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาประมาณ 5,000 คน
  • พ.ศ. 2514-2523 คนไทยตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาประมาณ 44,000 คน
  • พ.ศ. 2524-2533 คนไทยตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาประมาณ 64,400 คน

ในปี พ.ศ. 2536 คาดว่ามีชาวอเมริกันเชื้อสายไทยตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาอยู่ประมาณ 120,000 คน

Remove ads

สถิติประชากร

สรุป
มุมมอง

ชุมชนชาวอเมริกันเชื้อสายไทยที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในย่านไทยทาวน์ โดยในปี 2545 ประมาณการว่ามีชาวอเมริกันเชื้อสายไทยกว่า 80,000 คนอาศัยอยู่ในเมืองลอสแอนเจลิส

นอกจากลอสแอนเจลิสแล้ว ชาวอเมริกันเชื้อสายไทยยังอาศัยอยู่ในอีกหลายเมือง เช่น มินนิโซตา ควีน นิวยอร์ก แดลลัส-ฟอร์ตเวิร์ท อ่าวซานฟรานซิสโก เฟรสโน และแซคราเมนโต

สถิติ

ข้อมูลจาก สถาบันนโยบายการย้ายถิ่น (Migration Policy Institute )
  • จำนวนประชากรสหรัฐอเมริกาที่เกิดในประเทศไทย (Foreign-Born Population)
ข้อมูลเพิ่มเติม ปี (ค.ศ.), จำนวน (คน) ...
  • จำนวนผู้ได้รับอนุญาตใหม่ ให้มีสิทธิ์อาศัยและทำงานอย่างถาวรในสหรัฐอเมริกา (Permanent Resident)
ข้อมูลเพิ่มเติม ปี (ค.ศ.), จำนวน (คน) ...
  • จำนวนผู้ที่ได้เป็นพลเมืองสหรัฐอเมริกา (Citizenship)
ข้อมูลเพิ่มเติม ปี (ค.ศ.), จำนวน (คน) ...
Remove ads

วัฒนธรรมไทยในอเมริกา

ชาวอเมริกันเชื้อสายไทยมีชื่อเสียงเรื่องอาหารไทย จากการนำอาหารไทยเข้ามาในสหรัฐอเมริกา อาหารไทยเป็นที่นิยมในหลายเมืองในสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันร้านอาหารอเมริกันก็มีอาหารไทย หรืออาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารไทยในเมนูอาหาร

การเมือง

สรุป
มุมมอง
Thumb
ลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ

ใน พ.ศ. 2546 มีคนอเมริกันเชื้อสายไทยสองคนลงรับสมัครเลือกตั้งในระดับเทศบาล คนหนึ่งในแอนาไฮม์ รัฐแคลิฟอร์เนีย และอีกคนในฮิวสตัน รัฐเท็กซัส ซึ่งทั้งสองไม่ได้รับเลือก แต่มาวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 กอพัฒน์ เจริญบรรพชน (Gorpat Henry Charoen) ได้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในสหรัฐอเมริกาคนแรกที่มีที่มาจากประเทศไทย โดยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองลาพัลมา ในปี พ.ศ. 2549[5] ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีเมืองในปีถัดมา[5] และดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง ในปี พ.ศ. 2555[6]

ในปี พ.ศ. 2553 พันตรี ชาลส์ โจว ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1 รัฐฮาวาย ถือเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเชื้อสายไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ผ่านการเลือกตั้งเข้าไปทำงานในรัฐสภาสหรัฐอเมริกา[7]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 พันโทหญิง ลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ ได้รับชัยชนะการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 8 รัฐอิลลินอย ซึ่งทำให้เธอเป็นสตรีเชื้อสายไทยคนแรก[8] และเป็นคนเชื้อสายไทยคนที่สองที่ได้เป็นดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

นอกจากนี้ยังมีนักการเมืองเชื้อสายไทยอีกสองคนคือ จอห์น พิปพี อดีตสมาชิกวุฒิสภา เขต 37 รัฐเพนซิลเวเนีย[9] และอเดเลด อเล็กซันดรา ซิงก์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่านการเงินของรัฐฟลอริดา ทั้งนี้เธอเป็นลื่อของจัน บังเกอร์ แฝดสยามผู้มีชื่อเสียงเมื่อนับจากฝ่ายมารดา[10][11]

Remove ads

ชาวอเมริกันเชื้อสายไทยในวัฒนธรรมสมัยนิยม

Remove ads

ดูเพิ่ม

  • ไทยทาวน์ (ลอสแอนเจลิส)
  • ไทยทาวน์ (ฟิลาเดลเฟีย)
  • ลิตเติลไทยแลนด์เวย์ (นครนิวยอร์ก)
  • ชาวแคนาดาเชื้อสายไทย
  • ชาวออสเตรเลียเชื้อสายไทย
  • ชาวนิวซีแลนด์เชื้อสายไทย
  • ชาวไทยในสหราชอาณาจักร
  • ชาวไทยในสวีเดน
  • ชาวไทยในญี่ปุ่น

อ้างอิง

Loading content...

ข้อมูล

Loading content...

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads