กฤษณชนมาษฏมี (อักษรโรมัน: Krishna Janmashtami) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ชนมาษฏมี (อักษรโรมัน: Janmashtami) หรือ โคกุลาษฏมี (อักษรโรมัน: Gokulashtami) เป็นเทศกาลประจำปีในศาสนาฮินดูที่เฉลิมฉลองประสูติกาลของพระกฤษณะ อวตารปางที่แปดของพระวิษณุ[1] วันที่ของกฤษณชนมาษฏมีตรงกับในปฏิทินฮินดู ในวันที่แปด (อัษฏมี) ของกฤษณปักษ์ (ปักษ์มืด) ในศราวน หรือภัทรปัท (ขึ้นอยู่กับปฏิทิน) ซึ่งตรงกับช่วงระหว่างเดือนสิงหาคมและกันยายนตามปฏิทินเกรกอเรียน[1]
กฤษณชนมาษฏมี | |
---|---|
เทวรูปแสดงพระกฤษณะครั้นเยาว์ | |
ชื่ออื่น | กฤษณาษฏมี, SaatamAatham, โคกุลาษฏมี, ยทุกุลาษฏมี, ศรีกฤษณชยันตี, ศรีชยันตี |
จัดขึ้นโดย | ชาวฮินดู |
ประเภท | ในทางศาสนา (1–2 วัน), ในทางวัฒนธรรม |
การเฉลิมฉลอง | ทหิหันที (วันถัดมา), เล่นว่าว, งานเทศกาล, อดอาหาร, ขนมหวานพื้นบ้าน ฯลฯ |
การถือปฏิบัติ | การแสดงดนตรี, พิธีบูชา, การเฝ้ายามนามค่ำคืน, อดอาหาร |
วันที่ | 26 สิงหาคม 2567 |
กฤษณชนมาษฏมีถือเป็นเทศกาลสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในลัทธิไวษณพของศาสนาฮินดู[2] ระหว่างเทศกาลมีการแสดงร่ายรำประกอบดนตรีแสดงถึงพระชนมชีพของพระกฤษณะตามที่ระบุไว้ใน ภาควตปุราณะ (เช่น รสลีลา หรือ กฤษณลีลา), การขับร้องบทสรรเสริญในช่วงเที่ยงคืน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นกาลประสูติของพระศิวะ, อดอาหาร (อุปวส; upavasa), การเฝ้ายามยามค่ำคืน (ราตรี ชครัน; Jagaran), และเทศกาล (มโหตสว; Mahotsav) ในวันถัดไป[3] ชนมาษฏมีเป็นที่ฉลองกันมากเป็นพิเศษในมถุรา และ วฤนทาวัน และในประเทศอินเดีย[1][4]
ถัดจากเทศกาลชนมาษฏมีคือเทศกาลนันโทตสว (Nandotsav) ที่ซึ่งเฉลิมฉลองเหตุการณ์เมื่อนันทะ บาบา ได้แจกจ่ายของขวัญไปทั่วแก่ชุมชนเพื่อเป็นเกียรติแห่งประสูติกาล[5]
ดูเพิ่ม
- หมู่มนเทียรกฤษณชนมสถาน ที่ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ประสูติของพระกฤษณะ
- ดาฮีฮันดี การเฉลิมฉลองชนมาษฏมีในรัฐมหาราษฏระ
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.