Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฉัตรชัย สาสะกุล อดีตนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทยและอดีตแชมเปี้ยนโลกมวยสากลอาชีพในรุ่นฟลายเวท ของสภามวยโลก (WBC)
ฉัตรชัย สาสะกุล | |
---|---|
เกิด | ฉัตรชัย สาสะกุล 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 |
สถิติเหรียญโอลิมปิก | ||
---|---|---|
มวยสากลสมัครเล่น | ||
เอเชียนเกมส์ | ||
ปักกิ่ง 1990 | ไลท์ฟลายเวท | |
ซีเกมส์ | ||
จาร์กาตา 1987 | พินเวท | |
กัวลาลัมเปอร์ 1989 | พินเวท |
ฉัตรชัย มีชื่อเล่นว่า หนึ่ง เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 ที่จังหวัดนครราชสีมา แต่ครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ที่เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ฉัตรชัยอายุ 4 ขวบ ฉัตรชัยเริ่มชกมวยครั้งแรกในแบบมวยไทยในชื่อแรกสุุดคือ "ไอ้หนึ่ง ศิษย์สายทอง" จากการบังคับของพ่อ เป็นมวยเดินสายชกกินเดิมพัน ต่อมา อ.บี้ บางลี่ ได้ดึงตัวฉัตรชัยมาซ้อมที่ค่ายเกียรติอาร์ดี หลังจากค่ายมวยเกียรติอาร์ดียุบ อ.บี้ บางลี่ ได้นำนักมวยในสังกัดมาอยู่ในสังกัดของ "เสี่ยเน้า" วิรัตน์ วชิรรัตนวงศ์ โดยฉัตรชัยใช้ชื่อในการชกว่า "หนึ่งธรณี เพชรยินดี"[1] ก่อนจะหันมาชกมวยสากลสมัครเล่น ขณะที่ศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา ชกแข่งขันในนามโรงเรียน ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง และได้ติดทีมชาติในที่สุด เข้าแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติหลายครั้ง ทั้งโอลิมปิก, เอเชียนเกมส์ และซีเกมส์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จถึงขั้นสูงสุด โดยเฉพาะในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1988 ที่โซล ประเทศเกาหลีใต้ ฉัตรชัยขึ้นชกในรุ่นไลท์ฟลายเวท รอบแรก ได้บาย รอบสอง ชนะ หลุยส์ โรลอน จากเปอร์โตริโก เมื่อ 21 กันยายน พ.ศ. 2531 รอบสาม ชนะ เมาริซ ไมนา จากเคนยา เมื่อ 25 กันยายน พ.ศ. 2531 รอบ 8 คนสุดท้าย แพ้ โรแบร์ต อิซอสเซกิ จากฮังการี ตกรอบ เมื่อ 27 กันยายน พ.ศ. 2531[2] ทั้ง ๆ ก่อนชก ฉัตรชัยถือเป็นนักมวยความหวังอันดับหนึ่ง[3]จึงหันมาชกมวยอาชีพ โดยระยะแรกชกในสังกัดของทรงชัย รัตนสุบรรณ ชกชนะรวด 7 ครั้ง จนสามารถไต่อันดับขึ้นไปเป็นรองแชมป์โลกอันดับ 2 ในรุ่นฟลายเวท ของ สหพันธ์มวยนานาชาติ แต่เนื่องจากมีกรณีที่ฉัตรชัยต้องเซ็นสัญญาเพื่อยกสิทธิ์ให้กับทรงชัย วิรัตน์ วชิรรัตนวงศ์ ปฎิเสธที่จะไม่เซ็นสัญญา ส่งผลให้อันดับโลกของฉัตรชัยหล่นไป และทรงชัยได้ดันพิชิต ศิษย์บางพระจันทร์ ขึ้นเป็นแชมป์โลกของสถาบันนั้นแทน และวิรัตน์แยกฉัตรชัยมาจัดชกเอง จนเป็นที่มาของการก่อตั้งบริษัท เพชรยินดี บ็อกซิ่ง โปรโมชั่น ในการดำเนินงานด้านมวยสากลเป็นเอกเทศ [4]
เมื่อวิรัตน์แยกฉัตรชัยมาจัดชกเอง วิรัตน์และกลุ่มผู้สนับสนุนได้ตั้งเป้าหมายให้ชิงแชมป์โลกรุ่นฟลายเวทของสภามวยโลก (WBC) กับ ยูริ อาร์บาชาค็อฟ แชมป์โลกชาวรัสเซีย ฉัตรชัยชกอุ่นเครื่องอยู่หลายครั้ง จนมีสถิติชกทั้งหมด 20 ครั้ง ไม่เคยแพ้ไม่เคยเสมอ เป็นการชนะน็อก 15 ครั้ง จนได้มีโอกาสชิงแชมป์โลกของ WBC ไฟท์บังคับในรุ่นฟลายเวท กับอาร์บาชาค็อฟ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2538 ถึงประเทศญี่ปุ่น การชกเป็นไปอย่างคู่คี่ แต่อาร์บาชาค็อฟออกหมัดได้จะแจ้งกว่าในยกท้าย ๆ จึงเป็นฝ่ายชนะคะแนนไปอย่างเป็นเอกฉันท์
ฉัตรชัย ยังคงชกมวยต่อมา จนเมื่อต้นปี พ.ศ. 2540 ยูริ อาร์บาชาค็อฟต้องการแขวนนวม แต่ทางผู้จัดการยังต้องการให้ชกต่ออีกสักครั้ง ฉัตรชัยจึงได้ชิงแชมป์เฉพาะกาล (Interim Champion) ในรุ่นนี้ กับ อิแซเลียส ซามูดิโอ นักมวยชาวอเมริกันเชื้อสายเม็กซิกัน และเป็นฝ่ายชนะคะแนนไป และป้องกันตำแหน่งไว้ได้อีกหนึ่งครั้ง ก่อนที่จะพบกับแชมป์จริง ยูริ อาร์บาชาค็อฟ อีกครั้งในปลายปี ซึ่งครั้งนี้ฉัตรชัยเป็นฝ่ายชนะคะแนนไปอย่างขาดลอย จึงกลายเป็นแชมป์โลกตัวจริงไปทันที
ในปี พ.ศ. 2541 ฉัตรชัยชกป้องกันตำแหน่งไว้ได้อย่างสวยงามอีก 2 ครั้ง กับนักมวยชาวเกาหลีใต้ ก่อนที่จะเสียตำแหน่งไปในปลายปี โดยไม่มีใครคาดฝัน เมื่อเป็นฝ่ายแพ้น็อกยก 8 แมนนี่ ปาเกียว นักมวยชาวฟิลิปปินส์ ที่วิทยาลัยทองสุข เขตตลิ่งชัน โดยฉัตรชัยโดนหมัดสวนของปาเกียวเข้าไปเต็ม ๆ ซึ่งก่อนการชกในครั้งนี้ ฉัตรชัย ต้องเผชิญกับปัญหาชีวิตส่วนตัว คือ ภรรยาที่อยู่กินด้วยกันมาได้หนีไปกับชายคนใหม่เพียงไม่กี่วัน โดยที่ฉัตรชัยไม่รู้ตัวมาก่อน รวมถึงเจ้าตัวก็มีหนี้สินจากการเล่นพนันฟุตบอล[4]ประกอบกับการฟิตซ้อมไม่เต็มที่ โดยฟิตซ้อมในระยะเวลาแค่เดือนเดียวเท่านั้น [4]จึงทำให้เสียแชมป์โลกไปในที่สุด
โดยฉัตรชัยถือได้ว่าเป็นนักมวยที่พื้นฐานมวยสากลดีเยี่ยม เนื่องจากเคยชกมวยสมัครเล่นมาก่อน แต่มีจุดอ่อนคือ การฟิตซ้อมน้อยและมักมีปัญหาส่วนตัวเข้ามากระทบอยู่เสมอ ๆ
หลังจากนั้นฉัตรชัยจึงคิดจะแขวนนวมจึงได้หยุดชกไปพักหนึ่ง ก่อนที่จะกลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2542 และเลื่อนรุ่นขึ้นไปชกในรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท และสามารถคว้าแชมป์สภามวยแห่งเอเชีย (ABC) ในรุ่นแบนตั้มเวทมาได้และชกป้องกันตำแหน่งไว้ได้หลายครั้ง โดยชนะคะแนน 6 ยก อัลเฟร็ด นาเกา นักมวยชาวฟิลิปปินส์ไปได้ในต้นปี พ.ศ. 2550
และเมื่อวันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2550 ฉัตรชัยเอาชนะน็อค ลิโต ซิสโนริโอ นักมวยชาวฟิลิปปินส์ไปในยกที่ 4 แต่ 1 วันให้หลัง เมื่อวันเสาร์ที่ 31 มีนาคม เวลา 21.15 น. ที่โรงพยาบาลปิยะมินทร์ ซิสโนริโอได้เสียชีวิตเนื่องจากสมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจากการถูกฉัตรชัยน็อก นับเป็นเรื่องน่าเศร้าของวงการมวยอีกครั้งหนึ่ง[5]
ต่อมาในวันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ฉัตรชัยได้มีโอกาสชิงแชมป์โลกอีกครั้งถึง 2 สถาบัน คือ สภามวยโลก (WBC) และ สมาคมมวยโลก (WBA) ในรุ่นซูเปอร์ฟลายเวทกับ กริสเตียน มิฆาเรส มักมวยชาวเม็กซิกันถึงประเทศเม็กซิโก ฉัตรชัยเป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอไปอย่างหมดรูปในยกที่ 3 ซึ่งหลังการชกในครั้งนั้นฉัตรชัยจึงได้แขวนนวมไปในที่สุด
หลังจากเลิกมวย ฉัตรชัยมีกิจการส่วนตัว คือ โต๊ะสนุกเกอร์[6] ตลอดจนเปิดร้านหมูกระทะที่ย่านทาวน์อินทาวน์ [4] ปัจจุบันมีกิจการสอนมวยไทยเป็นของตัวเองในชื่อ สาสะกุลมวยไทยยิม ในซอยรามคำแหง 71 (เดิมอยู่ในซอยลาดพร้าว 128/3 เขตบางกะปิ[7]) และเป็นเทรนเนอร์ให้กับนักมวยของผู้จัดการตนเองคือ นายวิรัตน์ เช่น พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์, คมพยัคฆ์ ป.ประมุข[8]และน็อคเอาท์ ซีพีเฟรชมาร์ท ฉัตรชัยมีกิจกรรมอดิเรกยามว่างที่ชื่นชอบ คือ การร้องเพลงและเล่นกีตาร์
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.