Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 (เยอรมัน: Karl; ละติน: Carolus; 1 ตุลาคม ค.ศ. 1685 – 20 ตุลาคม ค.ศ. 1740) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และเอลีนออนอเรอ มัคดาเลเนอแห่งน็อยบวร์ค อภิเษกสมรสกับ เอลีซาเบ็ท คริสทีเนอแห่งเบราน์ชไวค์ พระองค์ทรงเข้าพิธีบรมราชาภิเษก ณ แฟรงก์เฟิร์ต
จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 | |||||
---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (อ่านต่อ...) | |||||
ครองราชย์ | 12 ตุลาคม 1711 – 20 ตุลาคม 1740 | ||||
ราชาภิเษก | 22 ธันวาคม 1711, แฟรงก์เฟิร์ต | ||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิโยเซ็ฟที่ 1 | ||||
ถัดไป | จักรพรรดิคาร์ลที่ 7 | ||||
ผู้ว่าราชการ | ดูรายพระนามและชื่อ
| ||||
พระราชสมภพ | 1 ตุลาคม ค.ศ. 1685 พระราชวังโฮฟบวร์ค, เวียนนา | ||||
สวรรคต | 20 ตุลาคม ค.ศ. 1740 ปี) พระราชวังออการ์เทิน, เวียนนา | (55||||
ฝังพระศพ | โบสถ์จักรวรรดิ | ||||
คู่อภิเษก | เอลีซาเบ็ท คริสทีเนอแห่งเบราน์ชไวค์ (สมรส 1708) | ||||
พระราชบุตร |
| ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ฮาพส์บวร์ค | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ | ||||
พระราชมารดา | เอลีออนอเรอ มัคดาเลเนอแห่งน็อยบวร์ค | ||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก | ||||
ลายพระอภิไธย |
อาร์คดยุคคาร์ล ทรงประสูติเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2228 เป็นบุตรคนที่สองของจักรพรรดิเลโอปอลที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับจักรพรรดินีเอเลนอร์ แม็กเดเลน แห่งนูเรนเบิร์ก
หลังการสวรรคตของพระเจ้าชาร์ลที่ 2 แห่งสเปน เมื่อปี พ.ศ. 2243 โดยปราศจากรัชทายาท เจ้าชายคาร์ลประกาศตัวเองเป็นผู้มีสิทธิ์สืบราชบัลลังก์สเปนต่อผ่านทางสายตระกูลฮาพส์บวร์ค [1] การประกาศตัวนั้นเป็นชนวนให้เกิดเหตุสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน เพราะทางฝั่งของฝรั่งเศสก็ได้ตั้งเจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งอองชู ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งสเปนคนถัดไป
สงครามครั้งนั้นกินเวลาร่วมกว่า 14 ปี โดยมีชาติมหาอำนาจของยุโรปหลายชาติเข้าร่วม โดยทางด้านของคาร์ลหรือทางฝั่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นั้น ได้รับการสนับสนุนจากทางอังกฤษ โปรตุเกส สก็อตแลนด์และไอร์แลนด์ จนสามารถสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นพระเจ้าคาร์ลที่ 3 แห่งสเปนได้ ในช่วงปี 2248 แม้ว่าจะมีอำนาจจำกัดแค่เพียงพื้นที่ของคาตาโลเนีย แต่ก็สามารถอยู่ได้นานถึงหกปี จนกระทั่งมีจุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในปี 2254 เมื่อพี่ชายของพระองค์ จักรพรรดิโจเซฟที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์สวรรคตลงอย่างกะทันหัน และบัลลังก็ถูกส่งมอบต่อให้กับเจ้าชายคาร์ล ในฐานะของจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ [2] อย่างไรก็ตามสถานะนั้นของคาร์ลทำให้ชาติพันธมิตรต่างถอนตัวจากการร่วมมือ เพราะไม่อยากให้เกิดรัฐขนาดใหญ่ที่มีประมุขร่วม ซึ่งในที่นี่ก็คือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับจักรวรรดิสเปน ทำให้จักรพรรดิคาร์ลทรงขาดแนวร่วมที่ต้านทานกำลังจากฝรั่งเศสและถูกบีบให้ทำสนธิสัญญาสงบศึก ซึ่งผลในครั้งนั้นทำให้เจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งอองชู ถูกแต่งตั้งขึ้นเป็นจักรพรรดิฟิลิบที่ 5 แห่งสเปนอย่างเป็นทางการ และจักรพรรดิคาร์ลต้องถอนตัวจากศึกในครั้งนี้ไป
เมื่อคาร์ลรับราชสมบัติต่อจากพี่ชายในปี 2254 ปัญหาสำคัญที่ตัวของเขาจะต้องเผชิญ และเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค นั่นก็คือการขาดแคลนบุรุษเพศที่มีสิทธิ์ในการขึ้นครองราชย์บัลลังก์ ด้วยนอกจากตัวของพระองค์เองแล้วนั้น ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คไม่มีบุรุษเพศสายตรงคนอื่นอีกแล้ว กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หากจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 ไม่ทรงมีพระราชโอรส จะเท่ากับว่าตระกูลฮาพส์บวร์กสายตรงก็จะสูญสิ้นและไม่มีใครได้ครองราชบัลลังก์ต่อนั่นเอง
จักรพรรดิคาร์ลนั้นทรงแต่งงานกับเอลิซาเบธ คริสทีนแห่งเบราน์ชไวค์-วัฟเฟินบุร์สเทิล ทรงมีบุตร-ธิดารวมกัน 4 พระองค์ แต่ที่มีพระชนม์ชีพจนโตมีเพียงแค่สองพระองค์ และทั้งสองพระองค์นั้นล้วนแล้วแต่เป็นผู้หญิงทั้งสิ้น ประกอบไปด้วย มาเรีย เทเรซา (2260-2323) กับ มาเรีย อันนา (2261-2287) การที่ผู้สืบสายโลหิตขององค์จักรพรรดิมีแต่ผู้หญิงกลายเป็นปัญหาใหญ่ตลอดรัชสมัย เนื่องด้วยกฏธรรมเนียมที่ยึดมั่นก็มาโดยตลอดตัดขาดการสืบราชสมบัติของรัชทายาทที่เป็นสตรีไป แต่ตอนนี้รัชทายาททั้งหมดของจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 นั้นเป็นสตรี พระองค์จึงทรงมีพระดำริประกาศร่างกฤษฎีกาว่าด้วยปัญหาการสืบสันตติวงศ์ (Pragmatic Sanction) ที่เปลี่ยนกฎที่ห้ามสตรีมีสิทธิ์ในราชบัลลังก์ เพื่อเปิดทางให้บุตรีพระองค์โตอย่างเจ้าหญิงมาเรีย เทเรซา สามารถขึ้นครองราชย์ได้
อย่างไรก็ตามการที่จะทำให้กฤษฎีกานี้เป็นที่ยอมรับของทั้งภายในและภายนอกอาณาจักรได้ ต้องผ่านการเจรจาให้สมผลประโยชน์ของหลายฝ่าย การนั้นพระองค์จึงต้องทรงยอมที่จะระงับบริษัทการค้าที่ทรงตั้งขึ้นได้ไม่นานที่ดัชต์ลง เพื่อให้ทางสหราชอาณาจักรยินยอมที่จะยอมรับกฤษฎีกาฉบับนี้ และต้องพยายามที่จะทำให้เหล่าสมาชิกในสภาผู้คัดเลือก (Imperial Diet) เห็นพ้องต้องกันด้วย อย่างไรก็ดีก็มีบางรัฐที่ตัดสินใจที่จะไม่สนับสนุนแนวคิดของพระองค์ ซึ่งรวมถึงกฤษฎีกานี้ด้วย ซึ่งรัฐที่ไม่เห็นด้วยนั้นมีสองรัฐหลักคือ บาวาเรีย และ ปรัสเซีย
ในช่วงต้นของการครองราชย์ของพระองค์ หากไม่นับปัญหาน่าปวดหัวอย่างปัญหาว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ ก็นับได้ว่าเป็นยุคสมัยที่อำนาจของราชวงศ์ฮาพส์บวร์กแผ่ขยายอิทธิพลและดินแดนได้มากขึ้น ชัยชนะเหนือตุรกีเหนือสงครามออสเตรีย-ตุรกีทำให้จักรวรรดิของพระองค์มีอำนาจเหนือดินแดนบารัต เซอร์เบีย และโอทาเนีย และชัยชนะเหนือสงครามสี่พันธมิตรก็ทำให้พระองค์สามารถแลกพื้นที่เกาะซาร์ดิเนียที่ป้องกันได้ยากกับเกาะซิซิลี ที่อยู่ภายใต้การปกครองของดยุคแห่งซาวอยได้ด้วย
ในปี 2276 เกิดสงครามสืบราชสมบัติโปแลนด์ขึ้น พระองค์ทรงสนับสนุนออกัสตัส ดยุคแห่งแซกซอนี ลูกชายของกษัตริย์พระองค์ก่อนในการขึ้นครองราชบัลลังก์โปแลนด์คนถัดไป ในสงครามครั้งนั้นแม้ทางออสเตรียสามารถทำให้ออกัสตัส ดยุคแห่งแซกซอนีขึ้นเป็น พระเจ้าออกัสตัสที่ 3 ได้เป็นผลสำเร็จ แต่พระองค์ก็ต้องถูกบีบให้มอบราชอาณาจักรเนเปิ้ลส์ให้กับสเปน แลกกับตำแหน่งใต้การปกครองดัชชีแห่งปาร์มาที่เล็กกว่ามากมาแทน
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นพระองค์ก็ทรงคัดเลือกหาคู่ที่เหมาะสมให้กับพระราชธิดาองค์โตอันเป็นรัชทายาทของพระองค์อย่าง อาร์คดัชเชส มาเรีย เทเรซา โดยในตอนแรกพระองค์ทรงเลือกให้เจ้าชายเลโอพอล เคลเมนต์แห่งลอแรนเป็นคู่สมรสของพระนาง แต่เจ้าชายเลโอพอลกับเสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคฝีดาษไปเสียก่อน ทำให้พระองค์ต้องทรงคัดเลือกหาตัวคนที่เหมาะสมในการเป็นคู่สมรสให้กับลูกสาวของตัวเอง แล้วในการกลั่นกรองรอบที่สอง ก็ได้ชื่อของ ฟรานซิส สตีเฟน แห่งลอแรน พระอนุชาของเลโอพอล อย่างไรก็ตามนั้นทางการฝรั่งเศสต้องการที่จะให้ตำแหน่งดัชชีแห่งลอแรนเป็นของสตานิสวาฟ เลชชินสกี ผู้ที่ฝรั่งเศสสนับสนุนให้เป็นกษัตริย์โปแลนด์คนถัดไป แต่เพรี้ยงพร้ำให้กับทางออสเตรีย ความต้องการนี้อยู่บนพื้นฐานการประณีประนอมกับทางฝรั่งเศสเพื่อยุติความขัดแย้งในสงครามโปแลนด์ ซึ่งในท้ายที่สุดจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 ก็ต้องยอมให้ลูกเขยสละตำแหน่งดัชชีแห่งลอแรนก่อน ถึงจะยอมให้มีการอภิเษกกันระหว่างฟรานซิสกับมาเรีย เทเรซา
ต่อมาเมื่อปี 2280 จักรพรรดิทรงตัดสินใจที่จะพาจักรวรรดิเข้าสู่สงครามอีกครั้ง โดยให้การช่วยเหลือทางรัสเซียในการทำสงครามกับพวกแขกเติร์ก อย่างไรก็ตามผลของสงครามครั้งนี้นั้นกลับไม่เป็นไปตามคาด ด้วยความพ่ายแพ้ของทางรัสเซีย ทางจักรวรรดิของพระองค์ก็ต้องสูญเสียดินแดนเกือบครึ่งที่เคยได้มาครั้งทำสงครามกับพวกตุรกีเองคืนให้กับทางฝั่งนั้น และยังทำให้จักรวรรดิเป็นหนี้จากการทำสงครามยืดเยื้ออีกด้วย
จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 ทรงอภิเษกกับเอลิซาเบธ คริสทีน แห่ง เบราน์ชไวค์-วัฟเฟินบุร์สเทิล พระองค์ทรงมีบุตรและธิดารวมกับ 4 พระองค์ แต่ทีแค่สองพระองค์ที่มีพระชนม์รอดมาจากสมัยเด็ก นั่นก็คือ อาร์คดัชเชสมาเรีย เทเรซา และอาร์คดัชเชสมาเรีย อันนา อย่างไรก็ตามเชื่อว่าพระองค์ทรงมีรสนิยมเป็นชายรักชาย มีเรื่องเล่าลือเล่าขานถึงการที่พระองค์ทรงเล่นชู้กับเหล่าข้าราชบริพารเพศชายของตัวเอง [3] อย่างไมเคิล โจเซฟ เคาท์แห่งอาเธน ผู้ซึ่งทรงสนิทสนมกับจักรพรรดิและมักจะถูกเรียกว่า “สุดที่รักของข้า ผู้ที่รู้ใจและอยู่กับข้าเสมอมา” [4] พระองค์ทรงจะไปหาชายผู้นี้อยู่เป็นประจำตลอดเวลาเกือบ 19 ปี จนกระทั่งชู้รักของพระองค์เสียชีวิตไปเมื่อปี 2265
ในเดือนตุลาคม 2283 พระองค์ทรงนำข้าราชบริพาลไปล่าสุดแถวชายขอบของฮังการี อย่างไรก็ตามด้วยสภาพอากาศที่ทั้งชื้นและหนาวที่สุดเท่าที่พระองค์เคยเจอมา ด้วยสภาพอากาศแบบนั้นทำให้พระองค์ทรงเป็นไข้หวัดอย่างกระทันหัน พระองค์ป่วยหนักและสวรรคตอย่างกะทันหันที่ฮอฟบูร์ก เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม รวมอายุขัยทั้งสิ้น 55 พรรษา อย่างไรก็ตามบันทึก Memoirs Voltaire [5] ของพระองค์ทรงบันทึกว่าพระองค์มีอาการทรุดลงหลังจากรับประทานเห็ดพิษเข้าไป จนกระทั่งสวรรคตในเวลาถัดมา
หลังการสวรรคตของพระองค์ ปัญหาการสืบสันตติวงศ์ก็กลับมาเป็นหัวข้อหลักอีกครั้ง กฤษฎีกาว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ที่ร่างเอาไว้ ถูกเพิกเฉยต่อการใช้งาน มหาอำนาจหลายฝ่ายสนับสนุนผู้แทนจากรัฐบาวาเรีย คาร์ล อัลเบิร์ต เจ้าผู้เลือกแห่งบาวาเรียให้เป็นจักรพรรดิพระองค์ถัดไป นั่นจึงเป็นชนวนเหตุสำคัญที่นำไปสู่การทำสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรียในเวลาถัดมา
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.