คิง เพาเวอร์ มหานคร

ตึกระฟ้าในกรุงเทพมหานคร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คิง เพาเวอร์ มหานครmap

คิง เพาเวอร์ มหานคร (อังกฤษ: King Power MahaNakhon) ชื่อเดิมอาคาร มหานคร เป็นตึกระฟ้าในรูปแบบอาคารประเภทใช้ประโยชน์ผสมผสาน ตั้งอยู่ติดกับสถานีช่องนนทรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ในย่านสีลมและสาทรซึ่งเป็นย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพมหานคร ออกแบบให้เสมือนโอบล้อมด้วยริบบิ้น 3 มิติ หรือพิกเซล เป็นอาคารกระจกทั้งหลัง สร้างสรรค์โดยบริษัทสถาปนิกในกลุ่มบริษัท บูโร โอเล่อ เชียเรน กรุ๊ป

ข้อมูลเบื้องต้น คิง เพาเวอร์ มหานคร King Power MahaNakhon, ข้อมูลทั่วไป ...
คิง เพาเวอร์ มหานคร
King Power MahaNakhon
Thumb
ตึกคิง เพาเวอร์ มหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2566 รายละเอียด
Thumb
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง114 ถนนนราธิวาสราชนครินทร์
แขวงสีลม เขตบางรัก
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พิกัด13°43′25″N 100°31′42″E
สถานะ เปิดให้บริการ
เริ่มสร้าง20 มิถุนายน พ.ศ. 2554
เปิดตัว29 สิงหาคม พ.ศ. 2559
การใช้งานห้องชุดเพื่อการอยู่อาศัย, โรงแรม, ร้านค้าปลีก, จุดชมวิว
ความสูง
หลังคา314.2 เมตร
รายละเอียด
จำนวนชั้น78 ชั้น
พื้นที่ชั้น150,000 เมตร²
บริษัท
สถาปนิกบริษัท สถาปนิกในกลุ่มบริษัท บูโร โอเล่อ เชียเรน กรุ๊ป
ผู้พัฒนาบริษัท เพซ ดีเวลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท อินดัสเทรียล บิลดิ้งส์ คอร์ปอเรชั่น
เจ้าของบริษัท คิง เพาเวอร์ มหานคร จำกัด
อ้างอิง: https://kingpowermahanakhon.co.th/
ปิด

คิง เพาเวอร์ มหานคร เคยเป็นตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2561 จนถูกทำลายสถิติในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2561[1] โดยอาคารแมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนเซส ซึ่งตั้งอยู่ในโครงการไอคอนสยาม (ความสูง 318.95 เมตร) ปัจจุบันเป็นอาคารที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย ด้วยความสูง 314.2 เมตร จำนวน 78 ชั้น ประกอบไปด้วยส่วนโรงแรม ร้านค้าปลีก และส่วนห้องชุดพักอาศัยจำนวน 209 ห้อง โดยราคาของห้องชุดดังกล่าว ราคาเฉลี่ย 3.5 แสนบาท/ตร.ม. [2] เริ่มต้นที่ 32 ล้านบาทไปจนถึง 305 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็น 1 ในอาคารชุดพักอาศัยที่มีราคาสูงที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยในชั้น 74–78 เป็นที่ตั้งของภัตตาคารมหานครแบงค็อกสกายบาร์ และมหานครสกายวอล์ก จุดชมทิวทัศน์ของกรุงเทพมหานคร

ประวัติ

โครงการมหานครได้เปิดตัวต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ด้วยการออกแบบร่วมกันของบริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ และอินดัสเทรียล บิลดิ้งส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (IBC)[3] โดยพิธีวางศิลาฤกษ์มีขึ้นวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554 และคาดว่ามูลค่าของโครงการนั้นอาจสูงถึง 18,000 ล้านบาท[4] และได้มีงานเปิดตัวโครงการในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559 โดยใช้ชื่องานว่า “มหานคร แบงค็อก ไรซ์ซิ่ง เดอะ ไนท์ ออฟ ไลท์” (MAHANAKHON: BANGKOK RISING, THE NIGHT OF LIGHTS) [5]

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 กลุ่มบริษัทคิง เพาเวอร์ ได้เข้าซื้อหุ้นโครงการ 51% จากกลุ่มเพช ดีเวลลอปเม้นท์ โดยซื้อเฉพาะส่วนโรงแรม ชั้นชมทัศนียภาพ และส่วนมหานครคิวบ์ ยกเว้นส่วนของห้องชุดเพื่อการพักอาศัย[6][7] และต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออาคารเป็น คิง เพาเวอร์ มหานคร ในปัจจุบัน

ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จำหน่าย ไปรษณีย์บัตรภาพพร้อมส่ง ชุด คิง พาวเวอร์ มหานคร[8]

การออกแบบและจัดสรรพื้นที่

Thumb
คิง เพาเวอร์ มหานครใน พ.ศ. 2566

คิง เพาเวอร์ มหานครตั้งอยู่บนพื้นที่จำนวน 9 ไร่ บนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ มีพื้นที่ใช้สอย 135,000 ตร.ม.[9] ออกแบบภายใต้แนวคิดอาคารเสมือนถูกโอบล้อมด้วยริบบิ้น 3 มิติหรือ "พิกเซล" ด้วยความสูง 314.2 เมตร จำนวน 78 ชั้น เมื่อตึกสร้างเสร็จได้ทำลายสถิติความสูงของตึกใบหยก 2 ที่มีความสูง 304 เมตร

คิง เพาเวอร์ มหานคร ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้

  • โรงแรมเดอะ สแตนดาร์ด แบงค็อก มหานคร (The Standard, Bangkok Mahanakhon)[10][11]
    • โอโฮ แบงค็อก (Ojo Bangkok) ชื่อเดิม: มหานคร แบงค็อก สกายบาร์ (Mahanakhon Bangkok Sky Bar) ห้องอาหารที่สูงที่สุดในประเทศไทย[12][13]
    • สกาย บีช (Sky Beach) รูฟท็อปบาร์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย สร้างบนพื้นที่เดิมของมหานคร สกายวอล์ค (Mahanakhon SkyWalk) จุดชมทัศนียภาพบนชั้นดาดฟ้าของอาคาร
  • ห้องชุดเพื่อการพักอาศัย เดอะ เรสซิเดนเซส แอท คิง เพาเวอร์ มหานคร (The Residences at King Power Mahanakhon)
  • มหานคร คิวบ์ (Mahanakhon CUBE) อาคารไลฟ์สไตล์ รีเทล

นอกจากนี้ยังมีลานกิจกรรมมหานครสแควร์ และทางเชื่อมไปยังสถานีช่องนนทรีของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม

Thumb
ทัศนียภาพที่ชั้น 78

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.