รางวัลครุฑทองคำ หรือรางวัลผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น เป็นรางวัลที่สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย มอบให้แก่ผู้บริหารราชการพลเรือน จำนวน 9 คน เพื่อประกาศเกียรติคุณบุคคลที่มีผลงานสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่สังคมและระบบราชการ โดยเริ่มต้นโครงการในปี พ.ศ. 2529
ประเภทที่พิจารณา
การพิจารณารางวัลครุฑทองคำ (หลังปี พ.ศ. 2530) แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
- สายตำแหน่งปลัดกระทรวง
- สายตำแหน่งอธิบดี
- สายตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด
- สายตำแหน่งอธิการบดี
- สายตำแหน่งเอกอัครราชทูต
คุณสมบัติ
สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น คือ เป็นข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการไม่ต่ำกว่าระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไปทุกส่วนราชการ (ยกเว้นกระทรวงกลาโหมและข้าราชการการเมือง) โดยจะต้องดำรงตำแหน่งเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี[1]
หลักเกณฑ์การพิจารณา
- การปฏิบัติงาน หมายถึง ความประพฤติและการปฏิบัติที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญให้เป็นแบบอย่างที่ดีของข้าราชการทั่วไป
- ความมีคุณธรรม
- หลักการ
- มนุษย์สัมพันธ์
- บุคลิกภาพ
- การอุทิศตนให้กับงาน
- ผลงาน หมายถึง การปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อทางราชการ และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
- ความชัดเจน
- ความเชื่อถือ
- การสร้างสรรค์
- ความมีประสิทธิภาพ
- การนำค่านิยมสร้างสรรค์ไปเป็นหลักปฏิบัติในการบริหารงาน ประกอบด้วย
- กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
- ซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ
- โปร่งใส
- ไม่เลือกปฏิบัติ
- มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
รายนามผู้ได้รับรางวัลครุฑทองคำ
รายนามผู้ได้รับรางวัลครุฑทองคำ (ชื่อตำแหน่งคือ ตำแหน่งที่ได้รับรางวัลดังกล่าว)
พ.ศ. 2529
|
|
พ.ศ. 2530
|
|
พ.ศ. 2532
|
|
พ.ศ. 2534
|
|
พ.ศ. 2536
|
|
พ.ศ. 2538
|
|
พ.ศ. 2540
|
|
พ.ศ. 2542
|
|
พ.ศ. 2545
|
|
พ.ศ. 2548
|
|
พ.ศ. 2550
|
|
พ.ศ. 2553
|
|
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.