Remove ads
โรงเรียนแพทย์สังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นสถาบันแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2528 จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 8 ของประเทศ มีเป้าหมายเพื่อทดแทนการขาดแคลนแพทย์ในระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย โดยในระยะแรกอาศัยความร่วมมือทางวิชาการจากคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช) ปัจจุบันมีโรงพยาบาลในสังกัดของคณะคือศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนครนายก และโรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัย ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน จังหวัดนนทบุรี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
Faculty of Medicine, Srinakharinwirot university | |
คติพจน์ | บัณฑิต ย่อมฝึกตน[1] |
---|---|
สถาปนา | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2528 |
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
สังกัดวิชาการ | ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม |
คณบดี | ผศ.พญ.นันทนา ชุมช่วย |
อาจารย์ | 260 (มกราคม พ.ศ. 2566)[2] |
ปริญญาตรี | 1,096 (พ.ศ. 2565)[3] |
ที่อยู่ |
|
สี | สีเขียวเข้ม |
เว็บไซต์ | www |
มีนิสิตแพทย์ศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตรวม 1,150 คน (พ.ศ. 2562)[3] และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ได้เริ่มหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตร่วมกับมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ เป็นหลักสูตรแพทยศาสตร์ภายใต้การรับรองของแพทยสภาแรกที่มีการศึกษาในต่างประเทศเป็นภาคบังคับของหลักสูตร
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เริ่มดำเนินโครงการจัดตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ภายใต้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของเปรม ติณสูลานนท์ และได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2528 โดยก่อตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในประเทศไทย
ระยะแรกในการดำเนินการนั้นดำเนินภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒกับกรุงเทพมหานคร โดยมีโรงพยาบาลวชิรพยาบาล (ปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล) เป็นฐานการศึกษาชั้นคลินิก (ชั้นปีที่ 4-6) และได้ร่วมมือจากโรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และโรงพยาบาลส่วนภูมิภาคในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่มีอยู่แล้ว เป็นสถาบันสมทบเพื่อจัดการเรียนการสอน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ทางคณะแพทยศาสตร์ร่วมกับทาง มหาวิทยาลัยได้เห็นพ้องกันที่จะมีโรงพยาบาลเป็นของตนเอง เพื่อรองรับการขยายตัวของคณะแพทยศาสตร์ จึงเริ่มโครงการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งตั้งชื่อเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบสามรอบของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างขึ้นในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่อำเภอองครักษ์ขนาด 17 ชั้น พื้นที่ 60,000 ตารางเมตร ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2542 และเริ่มเปิดบริการรักษาผู้ป่วย เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2543
คณะแพทยศาสตร์มีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ โดยมีหลักสูตรแพทยศาสตร์ร่วมกัน โดยมีนิสิตรุ่นแรกของหลักสูตรในปีการศึกษา 2546 ภายใต้ระบบชั้นพรีคลินิกศึกษาที่นอตติงแฮม และชั้นคลินิกศึกษาที่ประเทศไทย
หน่วยงานภายในคณะแบ่งออกเป็น[4] ภาควิชาพรีคลินิก ซึ่งฐานการปฏิบัติงานและฐานการเรียนการสอนอยู่ที่ อาคารคณะแพทยศาสตร์ (อาคาร 15) และ อาคารกายวิภาคศาสตร์ (อาคาร 16) ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยภาควิชากายวิภาคศาสตร์, จุลชีววิทยา, ชีวเคมี, พยาธิวิทยา, เภสัชวิทยา และ สรีรวิทยา
ส่วนภาควิชาคลินิกมีฐานการปฏิบัติงานและฐานการเรียนการสอนอยู่ที่ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ และ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน ประกอบด้วยภาควิชากุมารเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์, นิติเวชศาสตร์, รังสีวิทยา, วิสัญญีวิทยา, เวชศาสตร์ฉุกเฉิน, เวชศาสตร์ป้องกันและสังคม, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, ศัลยศาสตร์, สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, โสต ศอ นาสิกวิทยา, ออร์โธปิดิกส์, อายุรศาสตร์ และ ตจวิทยา
ในปัจจุบัน นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1-3 เรียนที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จากเดิมที่นิสิตชั้นปีที่ 1 ต้องเรียนที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ (ปีการศึกษา 2563 เป็นปีการศึกษาสุดท้าย) ส่วนชั้นปีที่ 4-6 ฝึกปฏิบัติงานชั้นคลินิกหมุนเวียนระหว่างโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน และโรงพยาบาลร่วมอื่น ๆ เช่น โรงพยาบาลสมุทรปราการ, โรงพยาบาลนครนายก, โรงพยาบาลตำรวจ, โรงพยาบาลปทุมธานี, โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี, โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี, โรงพยาบาลเลิดสินเป็นต้น
-
ลำดับที่ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1. | ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์ประพฤติ ธีรคุปต์ | 4 กรกฎาคม 2528 - 30 กันยายน 2528 |
2. | ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์ปราโมทย์ วีรานุวัตติ์ | 1 ตุลาคม 2528 - 30 กันยายน 2533 |
3. | ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์วสันต์ จงเจษฎ์ | 1 ตุลาคม 2533 - 30 กันยายน 2534 |
4. | ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์ประพฤติ ธีรคุปต์ | 26 กุมภาพันธ์ 2535 - 29 ธันวาคม 2537 |
5. | นายแพทย์ธรรมนูญ วานิยะพงศ์ | 1 กรกฎาคม 2538 - 6 มีนาคม 2546 |
6. | รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อรุณวงศ์ เทพชาตรี | 10 มีนาคม 2546 - 9 มีนาคม 2550 |
7. | ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล | 10 มีนาคม 2550 - 10 มีนาคม 2554 |
8. | รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วุฒิชัย ธนาพงศธร | 10 มีนาคม 2554 - 9 มีนาคม 2557 |
9. | ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์ | 10 มีนาคม 2557 - 13 มีนาคม 2561 |
10. | รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ไพโรจน์ จงบัญญัติเจริญ | 14 มีนาคม 2561 - 13 มีนาคม 2565 |
11. | ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปานสิริ พันธุ์สุวรรณ | 14 มีนาคม 2565 - 10 พฤษภาคม 2565 |
12. | รองศาสตราจารย์ นายแพทย์โอฬาร พรหมาลิขิต | 11 พฤษภาคม 2565 - 20 พฤษภาคม 2565 |
13. | ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปานสิริ พันธุ์สุวรรณ | 21 พฤษภาคม 2565 - 2 พฤษภาคม 2566 |
14. | ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ชุมช่วย | 3 พฤษภาคม 2566 - ปัจจุบัน |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.