Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University) เป็นคณะในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 พร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ
Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University | |
สถาปนา | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 |
---|---|
คณบดี | รองศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ ปัญญาแก้ว |
ที่อยู่ | ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200 |
สี | สีฟ้า |
เว็บไซต์ | www.soc.cmu.ac.th |
เมื่อปี พ.ศ. 2503 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้น คณะที่เสนอไปครั้งแรกนั้นมีคณะนิติศาสตร์รวมอยู่ด้วย แต่จากผลการสำรวจความสนใจทางการศึกษาของประชาชนในภาคเหนือระหว่างปี พ.ศ. 2504-2505 พบว่าในช่วงนั้นความสนใจศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาสำหรับคณะวิชานี้ยังมีไม่มากนัก ประกอบกับมีข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิว่า ควรจะเปิดสอนเป็นคณะสังคมศาสตร์ที่ประกอบด้วยสาขาวิชาที่กว้างกว่าสาขาวิชาเฉพาะ เช่น คณะนิติศาสตร์ ซึ่งต้องอาศัยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ อันหาได้ยากยิ่งแม้แต่ในกรุงเทพเองก็ตาม ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่างรายละเอียดหลักสูตรวิชาสังคมศาสตร์ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2506 โดยมีนายเกษม อุทยานิน เป็นประธานอนุกรรมการ นางสุมนา คำทอง เป็นเลขานุการ และประกอบด้วยกรรมการอีก 10 คน
คณะสังคมศาสตร์ ตั้งอยู่ที่เชิงดอยสุเทพ ระหว่างถนนสุเทพและถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 4 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่เศษ (ปัจจุบันมี 27 ไร่) เป็นคณะ 1 ใน 3 คณะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นมาพร้อมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2507 และเริ่มเปิดสอนวันแรก เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2507 มีนักศึกษา 75 คน อาจารย์ 15 คน ในระยะแรกคณะสังคมศาสตร์ยังไม่มีอาคารเรียนเป็นของตนเอง เพราะอยู่ในระหว่างก่อสร้าง ดังนั้น จึงต้องอาศัยอาคารของภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และหอพักชาย อาคาร 1 เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว จนถึงปี 2509 จากนั้นจึงได้ย้ายไปเรียนที่อาคารหลังแรกของคณะฯ [1]
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในช่วงแรก (พ.ศ. 2507) เริ่มเปิดดำเนินการจำนวน 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาภูมิศาสตร์ (ก่อตั้งเป็นภาควิชาภูมิศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย) ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ภาควิชาบัญชีและบริหารธุรกิจ และภาควิชารัฐศาสตร์ เปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตในปี พ.ศ. 2507 ใน 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ได้จัดการเรียนการสอนระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ และสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และใน พ.ศ. 2544 ได้จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ อีกด้วย [2]
ต่อมา ภาควิชาและสาขาวิชาต่าง ๆ ของคณะสังคมศาสตร์ ได้แยกตัวเป็นคณะ ได้แก่ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ภาควิชาบัญชีและบริหารธุรกิจ ได้แยกตัวออกเป็น คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ ตามลำดับ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2535
ภาควิชารัฐศาสตร์ ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็น คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2548
สาขาวิชานิติศาสตร์ ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็น คณะนิติศาสตร์ (ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2549
คณะสังคมศาสตร์ได้แบ่งภาควิชาและส่วนงาน ตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ออกเป็น 6 ส่วนงานดังต่อไปนี้
ภาควิชาภูมิศาสตร์ เป็นภาควิชาแห่งแรกของประเทศไทยที่ทำการเปิดการเรียนการสอนทางด้านภูมิศาสตร์ ในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ทำการเปิดการเรียนการสอนขึ้นในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์
พ.ศ. 2525 ภาควิชาภูมิศาสตร์ ทำการเปิดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์
พ.ศ. 2547 ภาควิชาภูมิศาสตร์ ทำการเปิดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ (ภาคพิเศษ)
พ.ศ. 2556 ภาควิชาภูมิศาสตร์ ทำการเปิดการเรียนการสอน หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์ (นานาชาติ) ภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ในการศึกษาระดับปริญญาโท และได้ควบรวมหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาภูมิศาสตร์ สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ และสาขาวิชาการจัดการสาธารณภัย เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์
ปัจจุบัน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาตรี 4 หลักสูตร ปริญญาโท 6 หลักสูตร และปริญญาเอก 4 หลักสูตร ได้แก่
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | ||
---|---|---|
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) (Ph.D.)
|
ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อประสานงาน ขับเคลื่อน และบูรณาการงานต่างๆ ของศูนย์และโครงการในคณะอย่างมีทิศทาง โดยเฉพาะงานวิจัย บริการวิชาการแก่สังคม โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรต่างชาติ (International Exchange Program) รวมไปถึงสนับสนุนงานและบุคลากรของคณะสังคมศาสตร์ แบ่งเป็นศูนย์และโครงการในสังกัด ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ และศูนย์และโครงการที่เป็นความร่วมมือกับต่างประเทศภายใต้กลุ่มวิจัย 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) สิ่งแวดล้อม-ภัยพิบัติ เทคโนโลยีคาดการณ์ และผลกระทบเชิงพื้นที่/ผู้คน 2) การพัฒนา/การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เมือง ความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพ แรงงานและการอพยพ 3) วัฒนธรรมการศึกษา ศาสนา ชาติพันธุ์ ล้านนา 4) สตรีและเพศภาวะศึกษา และ 5) ภูมิภาคศึกษา จีน อินเดีย อาเซียน ชายแดน และการข้ามชาติศึกษา โดยประกอบไปด้วยศูนย์ฯ ต่างๆ ดังต่อไปนี้
รายนามคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รายนามคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | ||
รายนามคณบดี | ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง | |
---|---|---|
1. นายไกรศรี นิมมานเหมินท์ |
พ.ศ. 2506 | |
2. ศาสตราจารย์ ดร.หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย |
พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2508 | |
3. ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ |
พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2510 | |
4. ศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ศศิธร |
พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2516 | |
5. รองศาสตราจารย์ ประดิษฐ์ วิชัยดิษฐ์ |
พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2518 | |
6. ศาสตราจารย์ พันเอก (พิเศษ) พูนพล อาสนจินดา |
พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2522 | |
7. รองศาสตราจารย์ ฤทธิ์ ศิริมาตย์ |
พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2524 | |
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โฉมเฉลา เรืองพงษ์ |
พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2528 | |
9. รองศาสตราจารย์ สมศักดิ์ เกี่ยวกิ่งแก้ว |
พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2532 | |
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธุ์ วงษ์บูรณาวาทย์ |
พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2540 | |
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม |
พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2547 | |
12. รองศาสตราจารย์ ดร.เสน่ห์ ญาณสาร |
พ.ศ. 2547 | |
13. รองศาสตราจารย์ เศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ |
พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2551 | |
14. อาจารย์ ดร.สิทธิณัฐ ประพุทธนิติสาร |
พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555 | |
15. รองศาสตราจารย์ พวงเพชร์ ธนสิน |
พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2559 | |
16. รองศาสตราจารย์ ดร.เทพินทร์ พัชรานุรักษ์ |
พ.ศ. 2559 - 2567 | |
17. รองศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ ปัญญาแก้ว |
พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน | |
== คณาจารย์ ==
หัวหน้าภาควิชา
คณาจารย์
|
หัวหน้าภาควิชา
คณาจารย์
|
รักษาการแทนหัวหน้าภาควิชา
คณาจารย์
|
หัวหน้าภาควิชา
คณาจารย์
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.