คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Remove ads

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง แต่เดิมเป็น"ศูนย์ฝึกโทรคมนาคมนนทบุรี" ก่อนจะยกฐานะเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 7 คณะของสถาบัน มีทั้งสิ้น 13 ภาควิชา ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามสำนักหอสมุดกลาง และมีพื้นที่ติดกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ข้อมูลเบื้องต้น สถาปนา, คณบดี ...
Remove ads
Remove ads

ประวัติศาสตร์

สรุป
มุมมอง

ประวัติของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง แบ่งเป็น 2 ยุค คือ ยุคแรก นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงวันที่ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และยุคที่ 2 นับจากวันที่ได้รับอนุมัติ จนถึงปัจจุบัน

ยุคต้น

วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2503 รัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นได้มีพิธีการลงนาม ร่วมมือกัน จัดตั้ง “ศูนย์ฝึกโทรคมนาคมนนทบุรี” สังกัด กองโรงเรียนพาณิชย์ กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 ได้เริ่มดำเนินการสอนครั้งแรกใน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร 6 เดือน สำหรับข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และพนักงานองค์กรในสายงานโทรคมนาคม และ หลักสูตร 1 ปี สำหรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือจบปีที่ 2 จากโรงเรียนอาชีวศึกษาชั้นสูง แผนกวิทยุโทรคมนาคม ในตอนนั้น มีอาจารย์ชาวไทย จำนวน 10 คน และอาจารย์ชาวญี่ปุ่น จำนวน 8 คน โดยมีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 23 คน เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2505 มีการปรับปรุงหลักสูตร 1 ปี เป็นหลักสูตร 3 ปีให้เทียบเท่าวิทยาลัยเทคนิคทั่วไป ซึ่งมีคุณวุฒิระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 ได้รับการยกฐานะเป็น “วิทยาลัยโทรคมนาคม นนทบุรี[1]

ปี พ.ศ. 2511 และได้ปรับปรุงหลักสูตรปวส. จากหลักสูตร 3 ปี เป็นหลักสูตร 5 ปี ในสาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม และมีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 49 คน ในปี พ.ศ. 2512[1] ปีถัดมาเกิดมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อ สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยี โดยให้ใช้ชื่อว่า “สถาบันเทคโนโลยี” และมีฐานะเทียบเท่ามหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี และวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2513

ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2514 ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ใช้พระนาม “พระจอมเกล้า” เป็นชื่อของสถาบันทั้ง 3 วิทยาเขต ภายใต้พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า โดยมีฐานะเป็นกรม สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในปีเดียวกันนั้นได้ย้ายวิทยาเขตมาอยู่ที่ลาดกระบัง ซึ่งเป็นที่ดินของทายาท ท่านเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์(วร บุนนาค หรือ เจ้าคุณทหาร) มีเนื้อที่กว่า 1000 ไร่ เรียกว่า "วิทยาเขตนนทบุรี-ลาดกระบัง"[2] และได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นเงินกว่า 70 ล้านบาทเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนและอื่นๆ และในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2515 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ก็ได้รับรอง "ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม"[3]

ยุคที่ 2

วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2515 วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนสถานภาพเป็น “คณะวิศวกรรมศาสตร์[3] ต่อมาอีก 2 ปีในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 มีการโอนสังกัดของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ปีถัดมาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เปิดสอนในระดับปริญญาโท “หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า” โดยได้รับความเห็นชอบหลักสูตรในวันที่ 19 มิถุนายนในปีเดียวกันนั้น และในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2519 นับเป็นเกียรติประวัติสูงสุดเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้เสด็จมาทำการเปิดวิทยาเขตลาดกระบังและได้มีการจัดงานนิทรรศการ "พระจอมเกล้าลาดกระบัง" ขึ้นในระหว่างวันที่ 16-20 มิถุนายน พ.ศ. 2519

พ.ศ. 2521 คณะวิศวกรรมศาสตร์ร่วมกับกรมวิเทศสหการและรัฐบาลญี่ปุ่น จัดการอบรมนานาชาติ หลักสูตรเทคโนโลยีโทรคมนาคมขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งยังมีการจัดต่อมาในทุกๆปี นอกจากนี้ยังได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ โซลิดสเตท(ศูนย์วิจัยอิเล็กทรอนิกส์) และอิเล็กทรอนิกส์ และอีกก้าวที่นับเป็นจุดสูงสุดของการศึกษาคือเปิดสอนในระดับปริญญาเอก “หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า” เป็นแห่งแรกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2525และมีนักศึกษาจบหลักสูตร เป็นคนแรกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2529[1] ในปี พ.ศ. 2528 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยอิสระ ตามพระราชบัญญัติ มีชื่อเต็มว่า "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง"[1]

จากจุดเริ่มต้นของศูนย์ฝึกโทรคมนาคม ในปีพ.ศ. 2503 ซึ่งมีนักศึกษารุ่นแรก 23 คน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิต ทางวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถและมีคุณธรรมสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ เปิดการเรียนการสอนให้สาขาวิชาที่หลากหลาย โดยมีการดำเนินการจัดตั้งเป็นภาควิชาต่าง ๆ ดังนี้

  • พ.ศ. 2503 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม
  • พ.ศ. 2519 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า, ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ และภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • พ.ศ. 2521 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • พ.ศ. 2525 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุม และเปิดศูนย์วิจัยอิเล็กทรอนิกส์
  • พ.ศ. 2530 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเกษตร
  • พ.ศ. 2533 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมโยธา (ชื่อเดิม ภาควิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2529)
  • พ.ศ. 2537 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเคมี
  • พ.ศ. 2538 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมอาหาร
  • พ.ศ. 2540 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • พ.ศ. 2543 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมการวัดคุม (ชื่อเดิม ภาควิชาเทคโนโลยีการวัดคุมทางอุตสาหกรรม จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2526)
  • พ.ศ. 2544 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมสารสนเทศ (ชื่อเดิม ภาควิชาเทคนิคอุตสาหกรรม จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2517)

ในปัจจุบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ระดับแนวหน้าของประเทศที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ มีหลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกในหลายสาขาทางวิศวกรรมศาสตร์ มีศูนย์วิจัยทางวิศวกรรมศาสตร์จำนวน 2 ศูนย์ โดยในปัจจุบัน มีคณาจารย์จำนวน 296 คน และบุคลากรที่สนับสนุนงานด้านวิชาการจำนวน 246 คน[4]

Remove ads

ภาควิชาและหลักสูตร

สรุป
มุมมอง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็น 1 ใน 8 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย เรียงลำดับตามการก่อตั้งดังนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โดยมีภาควิชาและหลักสูตรที่เปิดสอนดังนี้

ข้อมูลเพิ่มเติม ภาควิชา, ระดับปริญญาตรี ...
Remove ads

แหล่งข้อมูลอื่น

13.726725°N 100.780125°E / 13.726725; 100.780125

อ้างอิง

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads