Loading AI tools
คณะวิชาภายใต้สังกัดมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นหน่วยงานในระดับคณะวิชา ภายใต้สังกัดมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536[c][12] เพื่อตอบสนองต่อความต้องการวิศวกรของประเทศไทยในเวลานั้น โดยทำการเปิดสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นสาขาแรก[13] ซึ่งในภายหลังได้ทำการเปลี่ยนชื่อมาเป็นสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม โดยหลักสูตรการศึกษาของทางคณะวิชาได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)[14], สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)[15], สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)[16] และสภาวิศวกร[17]
บทความนี้คล้ายโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์
วิกิพีเดียมิใช่ช่องทางการสื่อสารการตลาดของหน่วยธุรกิจใด ๆ กรุณาเขียนใหม่ด้วยมุมมองที่เป็นกลาง และนำแหล่งข้อมูลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องออก |
School of Engineering, Bangkok University | |
ชื่อย่อ | วศ. / EN |
---|---|
คติพจน์ | มุ่งพัฒนาวิชาการ สร้างสรรค์นวัตกรรม ล้ำหน้าเทคโนโลยี (ทางการ) C + E + T (ไม่เป็นทางการ) |
สถาปนา | พ.ศ. 2536 (อายุ 31 ปี) |
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (วิทยาเขตรังสิต) |
คณบดี | ผศ.ดร.วิศาล พัฒน์ชู |
ที่อยู่ | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต เลขที่ 9/1 หมู่5 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 |
วารสาร | วิศวกรรมสาร มกท. (Bangkok University Engineering Journal) |
เพลง | ดู บทเพลงประจำคณะวิชา |
สี | สีแดงเลือดหมู |
มาสคอต | เฟือง (Gear) |
สถานปฏิบัติ | อาคาร B4 |
เว็บไซต์ | www |
เชิงอรรถ / อ้างอิง [1][2][a][3][b][4][c][5][6][7][8][9][10][11] |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2536 เพื่อตอบสนองต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ โดยตระหนักถึงบทบาทในการผลิตวิศวกรที่มีคุณภาพ มีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการประกอบอาชีพอย่างสมบูรณ์ เพียบพร้อมด้วยจริยธรรมและคุณธรรมตลอดจนเป็นผู้ที่มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพของตน เพื่อเป็นกำลังที่มีค่าต่อสังคมและประเทศชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สภาวิศวกร ปัจจุบันเปิดทำการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาวิชาต่างๆ คือ
ระดับปริญญาตรี 4 สาขาวิชา คือ
ระดับปริญญาโท
ระดับปริญญาเอก
ปีการศึกษา | การดำเนินงาน |
---|---|
2536 | ก่อตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเปิดรับนักศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Engineering) หลักสูตร 4 ปี |
2537 | เปิดรับนักศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering) หลักสูตร 4 ปี |
2546 | เปิดรับนักศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) หลักสูตร 4 ปี |
2547 | เปิดรับนักศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต (Multimedia and Internet System Engineering) หลักสูตร 4 ปี |
ปรับเปลี่ยนชื่อสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Engineering) มาเป็น สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (Electronics and Telecommunications Engineering) หลักสูตร 4 ปี | |
เปิดทำการเรียนการสอนในโครงการ Double degree หลักสูตร 5 ปี โดยแบ่งเป็นการศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ระยะเวลา 4 ปี และหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ระยะเวลา 1 ปี | |
เปิดทำการเรียนการสอนในระดับปริญญาบัณฑิต หลักสูตรต่อเนื่อง 3 ปี สำหรับการเทียบโอนคุณวุฒิจากผู้ที่ทำการศึกษาจบในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบเท่า | |
2556 | ปรับเปลี่ยนชื่อสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (Electronics and Telecommunications Engineering) กลับมาเป็น สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Engineering) |
2560 | ยกเลิกทำการเรียนการสอนในโครงการ Double degree หลักสูตร 5 ปี |
ยกเลิกทำการเรียนการสอนในระดับปริญญาบัณฑิต หลักสูตรต่อเนื่อง 3 ปี | |
ปรับเปลี่ยนชื่อสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) มาเป็น สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ (Computer and Robotics Engineering) หลักสูตร 4 ปี | |
ปรับเปลี่ยนชื่อสาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต (Multimedia and Internet System Engineering) มาเป็น สาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (Multimedia and Entertainment Engineering) หลักสูตร 4 ปี | |
เปิดรับนักศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต และปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) (Electrical and Computer Engineering) | |
2562 | ยกเลิกทำการเรียนการสอนในระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Engineering) หลักสูตร 4 ปี |
เปิดรับนักศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล (Artificial Intelligence Engineering and Data Science) หลักสูตร 4 ปี |
แต่เดิมในช่วงเวลาที่เริ่มก่อตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้เปิดทำการเรียนการสอนในสาขาวิชาเดียว ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์[13] ซึ่งในภายหลังได้ทำการปรับเปลี่ยนชื่อหลักสูตรให้กลายมาเป็นสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม และในช่วงเวลาต่อมาจึงได้ทำการปรับเปลี่ยนหลักสูตรต่างๆของทางคณะวิชาให้เข้ากับยุคสมัย[18][19] เพื่อที่จะทำให้บุคลากรภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้สร้างคุณประโยชน์อย่างสูงที่สุดต่อสังคมจนก่อให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรภายในคณะวิชามาตลอดจวบจนระยะเวลาปัจจุบัน โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกภายในประเทศไทยที่ได้ทำการเปิดสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต[20][21] ซึ่งในภายหลังได้ทำการปรับเปลี่ยนชื่อหลักสูตรมาเป็นสาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นหน่วยงานในระดับคณะวิชา จึงทำให้มีการจัดการภายในเสมือนเป็นระบบองค์กรหนึ่ง ซึ่งแยกย่อยออกมาจากทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (หน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัย) ส่งผลให้มีสาขาวิชา, หลักสูตร, รวมไปถึงหน่วยงาน และสถานที่ทำการ เป็นของตนเอง โดยมีขอบเขตหน้าที่ในการรับผิดชอบส่วนต่างๆภายในคณะวิชาด้วยบุคลากรภายในองค์กรเอง แต่ยังคงได้รับความช่วยเหลือทั้งในด้านงบประมาณ, การจัดการเรียนการสอน, บุคลากรทางการศึกษา รวมไปถึงสถานที่ในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆภายในคณะวิชาเพิ่มเติม โดยขอบเขตหน้าที่ในความรับผิดชอบของทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สามารถแบ่งออกแยกย่อยได้ดังนี้
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีสาขาวิชาในสังกัด 6 สาขาวิชา ได้แก่
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีหน่วยงานในสังกัด 5 หน่วยงาน ได้แก่
ผู้ที่ทำการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อจำเป็นจะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ หรือสายอาชีพ หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรองรับวิทยฐานะ (โดยปีการศึกษาของผู้ที่ทำการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อ ซึ่งอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ หรือสายอาชีพ หรือเทียบเท่า ได้ทำการศึกษาจบ จำเป็นจะต้องอยู่ในระยะเวลาภายในหรือก่อนหน้าระยะเวลาปีที่ทำการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อ) หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรอนุปริญญา (ปวส. หรือ อ.ศศ. หรือเทียบเท่า) จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง และต้องสำเร็จการศึกษาที่ตรงกับสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพเปิดสอน หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่น หรือสถาบันการศึกษาชั้นสูงอื่นในประเทศหรือต่างประเทศซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษารับรอง และต้องการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาอื่นที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน[34] โดยจะต้องมีเกรดเฉลี่ย (GPAX) มากกว่า 2.00 หากต่ำกว่าเกณฑ์ที่ถูกกำหนดไว้ในข้างต้น ผู้ทำการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อจำเป็นจะต้องเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ เพื่อให้ทางมหาวิทยาลัยทำการดำเนินการในขั้นตอนถัดไป[34] อีกทั้งยังจำเป็นจะต้องเป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง หรือขัดขวางต่อการศึกษา และไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง หรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาอื่นๆเพราะสืบเนื่องมาจากเหตุผลในแง่ของความความประพฤติ[35]
ในการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จะมี 3 รูปแบบหลัก ซึ่งได้แก่ รูปแบบระบบแอดมิสชันส์[36][37], รูปแบบการสมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัย[38] และรูปแบบการสมัครผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Online)[38] โดยรูปแบบการสมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัย และรูปแบบการสมัครผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Online) จะมีเงื่อนไขในการเข้ารับการศึกษาต่อ ซึ่งได้แก่ กรอกใบสมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษา ยื่นเอกสารการสมัคร สอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ โดยสามารถใช้คะแนนแอดมิชชั่นในการยื่นเข้ารับการศึกษาต่อได้ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะทำการพิจารณา และสามารถตรวจสอบผลการคัดเลือกได้ในทันที[34] และในส่วนรูปแบบระบบแอดมิสชันส์ จะมีเงื่อนไขในการพิจารณาเข้ารับการศึกษาต่อเป็นไปตามระเบียบของทางมหาวิทยาลัย และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เป็นผู้กำหนดเกณฑ์การคัดเลือก
และในการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จะมี 7 รูปแบบรอง[39] ซึ่งได้แก่ รูปแบบทุนBU CREATIVE, รูปแบบทุนประกายเพชร, รูปแบบทุนNEW GEN ARTIST, รูปแบบทุนDigital Gen Z, รูปแบบทุนBUCA TALENT และรูปแบบทุนGLOBAL BRIGHT SCHOLARSHIP โดยเงื่อนไขในการรับเข้าศึกษาของแต่ละรูปแบบทุนการศึกษาก็จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป
ผู้ที่ทำการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อจำเป็นจะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า /อนุปริญญาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง จึงจะสามารถเข้ารับการศึกษาต่อได้ โดยจะต้องมีเกรดเฉลี่ย (GPAX) มากกว่า 3.00 และผู้ที่ทำการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อจำเป็นจะต้องยื่นคะแนนในการทดสอบTOEFLให้แก่ทางมหาวิทยาลัยสำหรับขั้นตอนของการพิจารณาในส่วนของการทดสอบทางภาษาอังกฤษ โดยจะต้องมีคะแนนขั้นต่ำ 68 iBT หรือ 190 CBT หรือ 520 PBT ในกรณีดังกล่าวจะยกเว้นสำหรับผู้ที่ทำการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อที่อยู่ในแถบประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการในการสื่อสารหรือเป็นผู้ที่ศึกษาอยู่ในหลักสูตรนานาชาติขณะที่ศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า /อนุปริญญา และคุณสมบัติดังกล่าวทั้งหมดอาจได้รับการยกเว้นสำหรับผู้สมัครที่มีผลงานในเชิงความสามารถทางด้านวิชาการระดับสูงหรือมีศักยภาพที่เพียงพอในการได้รับทุนการศึกษา ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการที่เป็นผู้ทำการรับสมัครในขณะนั้น[40]
ผู้ที่ทำการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อจำเป็นจะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า /สูงกว่า ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง จึงจะสามารถเข้ารับการศึกษาต่อได้ โดยจำเป็นต้องสำเร็จหลักสูตรที่จำเป็นทั้งหมดในระดับปริญญาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า /สูงกว่า ในก่อนหน้านี้ และจำเป็นต้องผ่านการทดสอบที่จำเป็นทั้งหมดซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้ทำการกำหนดไว้ อีกทั้งยังจำเป็นจะต้องผ่านการทดสอบคุณสมบัติภาษาอังกฤษตามที่ทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้ในหลักสูตร และมีสื่อสิ่งพิมพ์อย่างน้อยสองฉบับในด้านของวารสารซึ่งจำเป็นต้องอยู่ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ (โดยมีคณะผู้เชี่ยวชาญ ภายในสาขาวิชา เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ) โดยอยู่ในฐานข้อมูลที่มีชื่อเสียง เช่น i.e., ISI, SciMargo, Elsevier และอื่นๆ[41]
หลักสูตรที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับการเปิดการเรียนการสอนจากทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)[14], สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)[15], สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)[16] และสภาวิศวกร[17] โดยนักศึกษาที่ได้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของแต่ละสาขาวิชาในแต่ละระดับปริญญา[42] ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สามารถเข้ารับการสอบคัดเลือกเพื่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม[43] ตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542[44] เพื่อประกอบวิชาชีพวิศวกรได้
TPA Robot Contest | |
Global – Engineering | |
RoBoCon Robotics Engineering | 1 (2542) |
Best Performance Award (2542) | |
2 (2541) |
อาทิเช่น โครงการของนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยได้รับรางวัลรองชนะเลิศ[45][46] จากการแข่งขันหุ่นยนต์ในงาน TPA Robocon '98 ซึ่งจัดโดยสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) อีกทั้งยังได้รับรางวัลชนะเลิศ (Winner)[47][46][48] และรางวัล Best Performance[49] ในฐานะทีมตัวแทนจากประเทศไทยในการแข่งขันประดิษฐ์หุ่นยนต์ระดับนานาชาติจากงาน TPA RoBoCon '99 ณ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนับเป็นชัยชนะครั้งแรกของประเทศไทยในเวทีสากล[48] และเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพผู้นำนักศึกษา ทางมหาวิทยาลัยได้จัดโครงการอบรมสัมมนาผู้นำนักศึกษาประจำปีโดยมีจุดประสงค์ที่จะเสริมสร้างทักษะแก่นักศึกษาที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของชมรม คณะวิชา และโครงการกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งกิจกรรมภายในสถาบัน และการเข้าร่วมกิจกรรมระหว่างสถาบันอื่นๆ
TTU National University Popularity Rankings by Subjects | |
National - Engineering (Private University) | |
TER Engineering | 1 (2563) |
ผลการจัดอันดับความนิยมโดยแยกตามคณะวิชาและประเภทมหาวิทยาลัย โดย สถาบันจัดอันดับทางด้านการศึกษา (ประเทศไทย) หรือThailand Education Ranking (TER) พบว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับการจัดอันดับความนิยมให้อยู่ในลำดับที่ 1 สำหรับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประจำปี พ.ศ. 2563[50] โดยเกณฑ์ในการจัดอันดับจะทำการพิจารณาจากความนิยมของคะแนนโหวตจากนักเรียน นักศึกษา และประชาชน ในทั่วประเทศไทย โดยการเก็บข้อมูลจะแบ่งตามหมวดหมู่คำถามสำหรับความสนใจของตัวผู้เรียน และเก็บข้อมูลโดยแบ่งตามกลุ่มประเภทของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งจะทำการเก็บข้อมูลและประกาศผลปีละ 1 ครั้ง โดยทำการเก็บข้อมูลในระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนธันวาคม ในปีที่ทำการจัดอันดับ และจะทำการประกาศผลการจัดอันดับในระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ในปีถัดไป[51]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทำการเปิดสอนในหลากหลายสาขาวิชา[52]ทั้งในระดับปริญญาตรี[53] ปริญญาโท[25] และปริญญาเอก[26] โดยในปัจจุบันทางคณะได้เปิดทำการเรียนการสอนทั้งหมด 5 สาขาวิชา ใน 5 ภาควิชา ได้แก่
หลักสูตรที่เปิดทำการสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ | |||
---|---|---|---|
หน่วยงาน | ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
ภาควิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) / Bachelor of Engineering (B.Eng.)
|
|
|
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) / Bachelor of Engineering (B.Eng.)
|
|
|
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) / Bachelor of Engineering (B.Eng.)
|
|
|
ภาควิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์ | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) / Bachelor of Engineering (B.Eng.)
|
|
|
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) |
|
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) / Master of Engineering (M.Eng.)
|
วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วศ.ด.) / Doctor of Engineering (D.Eng.)
|
โดยการเรียนการสอนในระดับวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (ปริญญาบัณฑิต) ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ใช้ระบบทวิภาคคือ แบ่งปีการศึกษาหนึ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา ได้แก่ ภาคการศึกษาตอนต้นและภาคการศึกษาตอนปลาย (อาจมีการศึกษาในภาคฤดูร้อน) ซึ่งปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 สาขา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล[27], สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า[22], สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์[23] และสาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์[24] โดยทั้งสี่สาขาจะใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี ซึ่งแบ่งเป็นการศึกษาวิชาการศึกษาทั่วไปและวิชาพื้นฐานวิชาชีพเป็นเวลา 1 ปี และการศึกษาวิชาเฉพาะวิชาชีพเป็นเวลา 2 ปี และฝึกปฏิบัติวิชาชีพ 1 ปี โดยทั้งสี่หลักสูตรได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)[14], สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)[15], สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)[16] และสภาวิศวกร[17]
นอกจากการจัดการศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตนั้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ยังได้ทำการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษาระดับวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญามหาบัณฑิต)[25] โดยทั่วไป 3 ปี และระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาระดับวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต)[26] จะขึ้นอยู่กับวุฒิทางการศึกษาเดิมของผู้ที่ทำการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ โดยจำเป็นต้องไม่ต่ำกว่าในระดับปริญญาบัณฑิต และวุฒิทางการศึกษาดังกล่าวจำเป็นจะต้องเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ โดยทางมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้ทำการกำหนดเกณฑ์ในการรับสมัครและเกณฑ์ในการคัดเลือกต่อไปในแต่ละปีการศึกษา ซึ่งการศึกษาในระดับวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต และวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จะทำการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบของหลักสูตรนานาชาติเท่านั้น
ภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีสถานที่สำคัญต่างๆ[54] ดังนี้
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ทำการผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรม ทั้งในระดับปริญญาบัณฑิต ปริญญามหาบัณฑิต และปริญญาดุษฎีบัณฑิต โดยมีคณาจารย์และศิษย์เก่ามากมายที่ได้สร้างชื่อเสียงและผลงานให้แก่มหาวิทยาลัย ทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ อาทิเช่น วิศวกร, นักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิจัย ซึ่งนอกจากนี้ยังมีในส่วนของคณาจารย์ ที่ได้ทำการดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่ก่อตั้งจวบจนระยะเวลาปัจจุบัน โดยสามารถจำแนกแยกย่อยรายนามบุคคลสำคัญแต่ละบุคคลให้อยู่ในประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นับตั้งแต่การก่อตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นจวบจนช่วงระยะเวลาปัจจุบัน ศิษย์เก่าดีเด่นภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ได้รับการยืนยันจากทางด้านมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีรายนามทั้งหมด[59][60]ดังนี้
คำนำหน้านาม | รายนาม | สาขา/ปีที่เข้า | เกียรติประวัติ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
บุลากร แก้วฉาย | ผู้ให้คำปรึกษาในด้านภาษาอาบัป | |||
สุนันทา สมใจ | อดีตวิศวกรเครื่องมือและโครงการ | [61] | ||
อภิสิทธ์ อุคำ | สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ / พ.ศ. 2556 | อดีตนักพัฒนาซอฟต์แวร์ บริษัท พีทีที ดิจิตอล โซลูชั่น จำกัด และบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) | [62] | |
ภาริดา หมั่นทุ่ง | สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | วิศวกรระบบ บริษัท ซอฟต์แบงก์ เทเลคอม (ประเทศไทย) | ||
เกตุวดี บุญนาค | นักวิเคราะห์ระบบอาวุโส บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด | |||
ศุภฤกษ์ หนูเจริญ | ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตผู้อำนวยการ บริษัท ดิจิเดย์ จำกัด | [63][64][65] | ||
ปิยพงศ์ เปรมวรานนท์ | สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ / พ.ศ. 2538 | ผู้ช่วยนักวิจัย ห้องปฏิบัติการยานยนต์ หน่วยวิจัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ในปี พ.ศ. 2550 กลุ่มนักเทคโนโลยีดีเด่น “กลุ่มเทคโนโลยีการคำนวณเพื่อวิเคราะห์และออกแบบทางวิศวกรรม” | [66][67][68] | |
นับตั้งแต่การก่อตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นจวบจนช่วงระยะเวลาปัจจุบัน คณาจารย์ดีเด่นภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ได้รับการยืนยันจากทางด้านมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีรายนามทั้งหมดดังนี้
คำนำหน้านาม | รายนาม | สาขา | เกียรติประวัติ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
ณัฐวุฒิ เลื่อนไธสง | วิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต | ผู้ร่วมก่อตั้ง Be>our>friend Studio (Thailand) และได้รับรางวัล Best of 2003 - 2004 สาขา Interactive Best of 2003 - 2004 Category : Interactive, web-site design For : Self - Promotion Title : Passion of Bangkok2 จากการมอบรางวัล B.A.D Awards ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมผู้กำกับศิลป์บางกอก หรือ B.A.D (Bangkok Arts Directors' Association) | [69][70] | |
รองศาสตราจารย์ ดร. | ณัฐภพ นิ่มปิติวัน | สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ | รองประธานสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (คนที่2) สมัยที่ 36 | [71][72][d] |
รองศาสตราจารย์ ดร. | ทิพรัตน์ วงษ์เจริญ | สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ | กรรมการกลาง สมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และสารสนเทศแห่งประเทศไทย (ECTI Association) ชุดปี พ.ศ. 2549 - 2550 และรองอธิการบดีอาวุโสด้านวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ | [73][74][75][d] |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. | จักรพงษ์ สุธาภุชกุล | สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ | นักวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกรับทุนสนับสนุนการแลกเปลี่ยนนักวิจัย Newton Fund – Thailand Research Fund Researcher Links – Travel grants 2017/18 ซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับ British Council | [76][77][d] |
รูปแบบของความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และองค์กรต่างๆภายนอก ประกอบไปด้วย 2 รูปแบบหลัก ซึ่งได้แก่ รูปแบบบันทึกความเข้าใจ และรูปแบบห้างหุ้นส่วน โดยสามารถแบ่งหมวดหมู่แยกย่อย[78] ได้ดังนี้
หน่วยงานและองค์กรภายในประเทศไทยที่ได้ทำการเข้าร่วมความร่วมมือในลักษณะบันทึกความเข้าใจ กับทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประกอบไปด้วย CMO Group, เวสเทิร์นดิจิตอล (thailand) Co. ltd, The Monk Studios, บริษัท T-NET จำกัด และบริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด[78]
หน่วยงานและองค์กรภายในประเทศไทยที่ได้ทำการเข้าร่วมความร่วมมือในลักษณะห้างหุ้นส่วน กับทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประกอบไปด้วย บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด, ซีเกท เทคโนโลยี, ปูนซิเมนต์ไทย, Robomac, Bangkok Glass Group, มินีแบ, Yaskawa Electric Corporation, CFS Intelligent Robots CO. Ltd. และCT Asia[78]
หน่วยงานและองค์กรภายนอกประเทศไทยที่ได้ทำการเข้าร่วมความร่วมมือในลักษณะห้างหุ้นส่วน กับทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนางาโอกะ[78]
กิจกรรมที่จัดขึ้นภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์โดยส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่จะขึ้นตรงกับทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยกิจกรรมและประเพณีที่มีการจัดขึ้นโดยตรงเฉพาะภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งได้มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน จะมีกิจกรรมและประเพณีอันได้แก่ กิจกรรมพี่พบน้อง[79][80], ประเพณีวิ่งธง[81] โดยประเพณีดังกล่าวเริ่มต้นจัดงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2536 จนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงประเพณีปลดไทด์ใส่เกียร์[82] และประเพณีกีฬาเกียร์สัมพันธ์ ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็น1ใน31 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ของแต่ละสังกัดสถาบันอุดมศึกษาทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยที่เข้าร่วมประเพณีดังกล่าว
การศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ในระดับปริญญาบัณฑิต (ปริญญาตรี), มหาบัณฑิต (ปริญญาโท) และดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) ในตลอดทุกหลักสูตรจะทำการจัดการเรียนการสอน ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต เพียงวิทยาเขตเดียวเท่านั้น[83] ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะเรียกนักศึกษาที่กำลังทำการศึกษาอยู่ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ว่า "วิดสะเตอร์"[84] (อังกฤษ: Witsater)[84] โดยลักษณะสีของเสื้อช็อป (Workshop Shirt) ในช่วงระยะเวลาปัจจุบันสำหรับนักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จะมีสีซีเปีย[85] ซึ่งในช่วงระยะเวลาเริ่มแรกที่ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ทำการก่อตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้น ลักษณะเสื้อช็อปของทางคณะวิศวกรรมศาสตร์จะมีสีแดงเลือดหมู[85] โดยในช่วงระยะเวลาถัดมาจึงได้ทำการปรับเปลี่ยนมาเป็นสีเทา[85] เช่นเดียวกันกับตุ้งติ้งของทางคณะวิชาที่มีองค์ประกอบระหว่างสีทอง และสีแดงเลือดหมู[86] รวมไปถึงในส่วนปกของชุดครุยวิทยฐานะสำหรับนักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่เป็นสีแดงเลือดหมูเช่นเดียวกัน[87] สืบเนื่องมาจากการที่สีประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นสีเลือดหมู โดยมีสีเดียวกับโลหิตของพระวิษณุกรรม[88] ซึ่งเป็นเทพแห่งวิศวกรรม และเทพแห่งการช่างทั้งปวง[89]
สีประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ทำการกำหนดให้รหัสสี #8D1B23[90] เป็นสีประจำคณะวิชา และได้นำสีดังกล่าวมาปรับใช้กับตราสัญลักษณ์, ธง, ปกชุดครุยวิทยฐานะ ฯลฯ ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ตั้งแต่ในช่วงระยะเวลาที่เริ่มทำการก่อตั้งคณะวิชาจวบจนมาถึงในช่วงระยะเวลาปัจจุบัน
ในการเดินทางมายังคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จะมีรูปแบบหลักในการเดินทาง[91]ดังนี้
สาย 29, 34, 39, 59, 95ก., ปอ.504, ปอ.510, ปอ.520, ปอ.29, ปอ.39, รถ บขส. สายภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ และเดินทางเข้ามายังตึกB4 (คณะวิศวกรรมศาสตร์) ภายในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (วิทยาเขตรังสิต)
สาย ต.85 (อนุสาวรีย์ชัยฯ – ม.กรุงเทพ – รังสิต) และเดินทางเข้ามายังตึกB4 (คณะวิศวกรรมศาสตร์) ภายในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (วิทยาเขตรังสิต)
ลงสถานีจตุจักร ต่อรถตู้ที่ลานจอดรถตรงข้ามจตุจักร และเดินทางเข้ามายังตึกB4 (คณะวิศวกรรมศาสตร์) ภายในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (วิทยาเขตรังสิต)
การเดินทางภายในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (วิทยาเขตรังสิต) จะมีบริการขนส่งโดยรถราง และรถบัสเล็ก คอยให้บริการในตามจุดต่างๆ (รวมไปถึงบริเวณตึกB4 คณะวิศวกรรมศาสตร์) เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการโดยสารนักศึกษาไปยังจุดต่างๆภายในบริเวณมหาวิทยาลัย โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เนื่องจากเป็นสิทธิในการได้รับบริการขั้นพื้นฐานของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยและผู้ที่เข้ามาทำการเยี่ยมเยียน[92] โดยที่รถรางและรถบัสเล็กดังกล่าวได้ทำการใช้น้ำมันไบโอดีเซลในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์ แต่ในช่วงเวลาปัจจุบันได้มีการใช้พลังงานโซล่าเซลในการนำมาพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ แล้วจึงนำมาเข้าสู่ระบบไบโอดีเซลต่อไป ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ในทั้ง 2 ระบบ โดยได้แก่ การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้สำหรับในการหุงต้มน้ำเพื่อทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าในอดีต อีกทั้งยังนำมาใช้ในการให้ความร้อนกับน้ำมันพืชที่ได้ผ่านการใช้งานแล้ว เพื่อที่จะนำมาไว้ใช้สำหรับขั้นตอนกระบวนการกลั่น แล้วจึงนำกลับมาใช้ประโยชน์ต่อในกระบวนการถัดไป[93]
บทเพลงภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประกอบไปด้วยบทเพลง 2 ประเภท[94] ซึ่งจะแบ่งออกเป็นบทเพลงประจำคณะวิชา และบทเพลงสันทนาการ โดยในช่วงระยะเวลาปัจจุบันมีจำนวนบทเพลงโดยรวมทั้งหมดเป็นจำนวน 22 บทเพลง[94] ในจำนวนนี้จะสามารถแบ่งออกเป็นบทเพลงประจำคณะวิชาจำนวน 6 บทเพลง[94][e] และในส่วนของบทเพลงสันทนาการอีกจำนวน 16 บทเพลง[94][f] โดยบทเพลงเหล่านี้จะถูกนำใช้ในการประกอบกิจกรรมต่างๆที่ทางคณะวิชาได้ทำการเข้าร่วม ซึ่งรวมไปถึงกิจกรรมที่จัดขึ้นภายในบริเวณมหาวิทยาลัย และกิจกรรมที่จัดขึ้นภายนอกบริเวณมหาวิทยาลัย
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.