คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Mahasarakham University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ในฐานะในฐานะคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูมหาสารคาม ปัจจุบัน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามเป็นหนึ่งในคณะที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย

ข้อมูลเบื้องต้น ชื่อย่อ, คติพจน์ ...
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Faculty of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Maha Sarakham University
Thumb
ชื่อย่อมนส. / HUSOC
คติพจน์ภูมิปัญญาเป็นเลิศ เชิดชูคุณธรรม นำชุมชนพัฒนาอย่างยั่งยืน
สถาปนา14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 (49 ปี)
คณบดีรศ.ว่าที่ พ.ต. ดร.กิตติกรณ์ บำรุงบุญ
ที่อยู่
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เลขที่ 80 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
สี  สีขาว
เว็บไซต์http://human.rmu.ac.th/
ปิด

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. กระทรวงศึกษาธิการ 2518 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 และมาตรา 8 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศเป็นประกาศกระทรวง แบ่งส่วนราชการของมหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนั้นมีสถานะเป็นวิทยาลัยครูมหาสารคามโดบในอดีตคณะฯ ได้แบ่งส่วนราชการในรูปคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเป็นภาควิชาต่าง ๆ ดังนี้

  1. ภาควิชาภาษาไทย
  2. ภาควิชาปรัชญาและศาสนา
  3. ภาควิชาภาษาอังกฤษ
  4. ภาควิชาดนตรีศึกษา
  5. ภาควิชาภูมิศาสตร์
  6. ภาควิชานาฏศิลป์
  7. ภาควิชาประวัติศาสตร์
  8. ภาควิชาศิลปศึกษา
  9. ภาควิชาสังคมวิทยา
  10. ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
  11. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมือง

ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 วิทยาลัยครูทุกแห่งได้รับพระราชทานนามว่า “สถาบันราชภัฏ” ซึ่งแปลว่า “คนของพระราชา” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “ Rajabhat Institute” และต่อท้ายด้วยชื่อเดิมหรือชื่อจังหวัด ทำให้ในวันที่ 25 มกราคม 2538 จึงได้มีการยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏมหาสารคาม และดำเนินงานตามพระราชบัญญติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538[1] และวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏจึงเกิดเป็น “สถาบันราชภัฏมหาสารคาม” ส่งผลให้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูมหาสารคาม แปรสภาพเป็น “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม”[2]

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547[3] ซึ่งส่งผลให้สถาบันราชภัฏมหาสารคามเปลี่ยน สถานะเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม” และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม ก็ได้ยกฐานะเป็น “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม” ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 จนถึงปัจจุบัน[4]

การบริหารงาน

  1. คณบดี ประธานกรรมการ
  2. รองคณบดี รองประธานกรรมการ
  3. หัวหน้าภาควิชาทั้ง 11 ภาควิชา กรรมการ
  4. หัวหน้าฝ่ายประเมินผลฯ กรรมการ
  5. เลขานุการและประสานงาน กรรมการและเลขานุการ

หลักสูตร

ข้อมูลเพิ่มเติม หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ระดับปริญญาบัณฑิต ...
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม[5]
ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • สาขาวิชา Joint-Degree English Program
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
  • สาขาวิชาดนตรี
  • สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร
  • สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
  • สาขาวิชาภาษาจีน
  • สาขาวิชาปรัชญา สังคม และวัฒนธรรม
  • สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน
  • สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศล.บ.)

  • สาขาวิชาศิลปกรรม
  • สาขาวิชาวิจิตรศิลป์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาภาษาและวรรณกรรมไทย
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษา
  • สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • หลักสูตรสาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค
  • หลักสูตรสาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์
ปิด

ทำเนียบคณบดี

ข้อมูลเพิ่มเติม ทำเนียบคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ลำดับที่ ...
ทำเนียบคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ลำดับที่ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 ผศ.สมชาย วงค์เกษม 2519 - 2522
2 ผศ.พรชัย ศรีสารคาม 2523 - 2526
3 ผศ.ดร.ศิริลักษณ์ อุสาหะ 2526 - 2527
4 อ.ดร.สฤษดิ์ ศรีขาว 2528 - 2532
5 ผศ.บุญเลิศ นนทลือชา 2532 - 2538
6 อ.พลเลื่อน ดงเรืองศรี 2538 - 2542
7 อ.ดร.นิตยา กลางชนีย์ 2542 - 2546
8 ผศ.ดร.สุณี สาธิตานันต์ 2546 - 2556
9 ผศ.ดร.พรทิพย์ วรกุล 2556 - 2560
10 ผศ.ดร.รังสรรค์ สิงหเลิศ 2560 - 2564
11 รศ.ว่าที่ พ.ต. ดร.กิตติกรณ์ บำรุงบุญ 2564 - ปัจจุบัน
ปิด

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.