คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Law, Mahasarakham University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาลำดับที่ 20 ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดตั้งตามมติในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ครั้งที่ 11/2556 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[2] ซึ่งแต่เดิมเป็นหน่วยงานสาขาในวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
Remove ads
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
สาขาวิชานิติศาสตร์
เดิมมหาวิทยาลัยมหาสารคามเปิดหลักสูตรสาขานิติศาสตร์ ภาควิชานิติศาสตร์ ให้เป็นเป็นหน่วยงานในวิทยาลัยการเมืองการปกครอง โดยในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 สภามหาวิทยาลัยมหาสารคามได้มีมติให้จัดตั้ง "วิทยาลัยการเมืองการปกครอง" ขึ้นเป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะวิชา โดยการผนวก 3 หน่วยงานสังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ ภาควิชารัฐศาสตร์ ศูนย์ข้อมูลการเมืองท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และโครงการจัดตั้งหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต เข้าด้วยกัน ซึ่งได้รับการอนุมัติจัดตั้งในการประชุมครั้งที่ 6/2546 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2546[3][4] ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2546 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2546 โดยจัดตั้งหน่วยงานต่าง ๆ ในวิทยาลัยได้แก่ สำนักงานเลขานุการคณะ ภาควิชารัฐศาสตร์ และภาควิชานิติศาสตร์ มีหลักสูตรดังนี้
ระดับปริญญาตรี
- หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) สาขาวิชาการเมืองการปกครอง สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) สาขาวิชานิติศาสตร์
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาสิทธิมนุษยชนศึกษา
- รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
ระดับปริญญาโท
- รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชานโยบายสาธารณะ
- รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.) สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
คณะนิติศาสตร์
ต่อมาวิทยาลัยการเมืองการปกครองเล็งเห็นว่า สาขาวิชานิติศาสตร์มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาจากสาขาในวิทยาลัยการเมืองการปกครองเป็นคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้[5] อันจะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตซึ่งเป็นผู้เรียนและการจัดโครงสร้างการเรียนการสอนและการบริหารจัดการที่คล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุผลข้างต้น สภามหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงได้อนุมัติแผนการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในปี พ.ศ. 2557 และได้มีมติให้จัดตั้ง“คณะนิติศาสตร์” โดยแยกภาควิชานิติศาสตร์ไปจัดตั้งเป็นคณะนิติศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[2][6] ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Faculty of Law” เป็นคณะวิชาลำดับที่ 20 ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งหน่วยงานเป็นสำนักงานเลขานุการคณะนิติศาสตร์ ภาควิชากฎหมายมหาชน และภาควิชากฎหมายเอกชน
ปัจจุบันคณะนิติศาสตร์ เป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่ที่เขตพื้นที่ขามเรียง (ม.ใหม่) โดยใช้อาคารราชนครินทร์ชั้น 4 เป็นพื้นที่สำหรับหน่วยงานในการบริหารและจัดการเรียนการสอน และได้เปิดหลักสูตรในระดับปริญญาตรี คือหลักสูตรสาขานิติศาสตร์บัณฑิต[7] และระดับปริญญาโทคือ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต ซึ่งจะเปิดในภาคต้นของปีการศึกษา 2565[8] คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 21 คน มีนิสิตจำนวนทั้งหมด 2,139 คน จบการศึกษาแล้ว 17 รุ่น[9]
Remove ads
หน่วยงานในคณะ
คณะนิติศาสตร์ได้แบ่งหน่วยงานภายในตามประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่องการแบ่งหน่วยงานภายในคณะนิติศาสตร์[9]
Remove ads
หลักสูตร
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดทำการเรียนการสอนใน 2 หลักสูตรได้แก่
อาคารราชนครินทร์
สรุป
มุมมอง

คณะนิติศาสตร์ ตั้งอยู่ที่ชั้น 4 อาคารราชนครินทร์ในเขตพื้นที่ขามเรียง ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารราชนครินทร์ ในเขตพื้นที่ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 โดยสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2541 วงเงินก่อสร้าง 170,500,000 บาท ออกแบบโดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตประสานมิตร บริษัทผู้รับจ้าง หจก. กำจรกิจก่อสร้าง อาคารราชนครินทร์ เป็นอาคารก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 7 ชั้น และภายหลังมีการก่อสร้างเพิ่มเติมอีกหนึ่งชั้นเป็น 8 ชั้น โดยมีการเสริมหลังคาสีแดง มีพื้นที่ใช้สอย 15,034 ตารางเมตร
อาคารราชนครินทร์ เป็นอาคารเรียนหลังแรกของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ดำเนินการสร้างบนพื้นที่ตั้งตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เดิมนั้นเป็นงบประมาณที่อนุมัติให้สร้าง ณ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม อยู่ในช่วงเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม ครั้นเมื่อยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมี ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ เป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มีการดำเนินการก่อสร้างและสถาปนิกที่ออกแบบผังแม่บท ได้นำอาคารดังกล่าวมาตั้งในผังที่ออกแบบไว้ เพื่อเป็นอาคารเรียนรวม เมื่อสร้างเสร็จทางมหาวิทยาลัยได้มีมติให้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นคณะแรกที่ย้ายมาทำการเรียนการสอนในที่เขตพื้นที่ขามเรียง โดยใช้อาคารราชนครินทร์เป็นที่ทำการของคณะ ซึ่งตอนนั้นมี รองศาสตราจารย์วีณา วีสเพ็ญ ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาคารราชนครินทร์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระราชทานนาม “ราชนครินทร์” โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศวรมหาวิหาร ได้เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
ในช่วงแรกที่ทางคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ย้ายเข้ามาทางคณะได้มีการดำเนินการหลายอย่างเช่น ชั้นล่างของอาคารติดสระน้ำ จึงได้มีการจัดสรรให้ร้านอาหารเข้ามาเช่าประกอบการ เป็นร้านขายข้าวแกง เนื่องจากมหาวิทยาลัยยังไม่มีโรงอาหาร มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาภาษา อีกทั้งชั้นต่าง ๆ ของอาคารราชนครินทร์ยังเป็นพื้นที่ของคณะที่ก่อตั้งใหม่หลายคณะที่ยังไม่พร้อมได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ คณะศิลปกรรมศาสตร์ โครงการจัดตั้งคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม โครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบัณฑิตวิทยาลัย ก่อนที่จะทยอยย้ายออกไปหลังจากอาคารของแต่ละคณะแล้วเสร็จ
Remove ads
ทำเนียบคณบดี
รายนามคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้
Remove ads
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads