สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. (อังกฤษ: Office of the Basic Education Commission : OBEC) เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหัวหน้าส่วนราชการและขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[3] โดยมีหน้าที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาในระดับพื้นฐานตั้งแต่ระดับปฐมวัย จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ[4]

ข้อมูลเบื้องต้น ภาพรวมสำนักงาน, ก่อตั้ง ...
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Office of the Basic Education Commission
Thumb
ตราสำนักงาน
ภาพรวมสำนักงาน
ก่อตั้ง7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546; 21 ปีก่อน (2546-07-07)
สำนักงานก่อนหน้า
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 319 วังจันทรเกษม ถนนราชดำเนินนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
บุคลากร503,213 คน (พ.ศ. 2566)[1]
งบประมาณต่อปี261,930,798,400 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารสำนักงาน
  • ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา, เลขาธิการ
  • เกศทิพย์ ศุภวานิช, รองเลขาธิการ
  • พัฒนะ พัฒนทวีดล, รองเลขาธิการ
  • ธีร์ ภวังคนันท์, รองเลขาธิการ
ต้นสังกัดสำนักงานกระทรวงศึกษาธิการ
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
ปิด

ประวัติ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 43 ได้บัญญัติสิทธิและเสรีภาพด้านการศึกษาของปวงชนชาวไทยไว้ว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย" และในบทเฉพาะกาลมาตรา 335 (3) ได้กำหนดให้รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ดังนั้น รัฐจะต้องดำเนินการตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้และต้องเตรียมการให้พร้อมที่จะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542[5] ซึ่งถือเป็นกฎหมายการศึกษาฉบับแรกของไทยที่กำหนดแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชนชาวไทยให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญกล่าวคือ มาตรา 10 ระบุว่า " การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย"

เพื่อเป็นการตอบสนองตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษา และกรมวิชาการ จึงเป็นหน่วยงานที่จะต้องมารวมกันเป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี

หน่วยงานในสังกัด

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน่วยงานส่วนกลางประจำภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้แก่ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา[6] จำนวน 183 เขตพื้นที่การศึกษา เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา[7] จำนวน 62 เขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานส่วนกลาง จำนวน 20 หน่วยงาน[8]

  • สำนักอำนวยการ
  • สำนักการคลังและสินทรัพย์
  • สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • สำนักทดสอบทางการศึกษา
  • สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
  • สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
  • สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
  • สำนักบริหารงานบุคคลและนิติการ
  • สำนักนิติการ
  • สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน
  • สถาบันภาษาอังกฤษ
  • สำนักพัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษา
  • กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
  • หน่วยตรวจสอบภายใน
  • สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
  • สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา
  • หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

รายนามเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)

ข้อมูลเพิ่มเติม รายนามเลขาธิการ, วาระการดำรงตำแหน่ง ...
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รายนามเลขาธิการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายไพฑูรย์ จัยสิน 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546[9] - 30 กันยายน พ.ศ. 2546[10] (มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์)
2. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา (ครั้งที่ 1) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546[11] - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2547[12] (ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สป. ศธ.)
3. นางพรนิภา ลิมปพยอม 2 มิถุนายน พ.ศ. 2547[12] - 30 กันยายน พ.ศ. 2549[13] (มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์)
2. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา (ครั้งที่ 2) 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549[14] - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552[15] (ลาออกจากราชการ)
4. นายชินภัทร ภูมิรัตน 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552[16] - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556[17] (มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์)
5. นายอภิชาติ จีระวุฒิ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556[18] - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557[19] (ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สลน. นร.)
6. นายกมล รอดคล้าย 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557[19] - 30 กันยายน พ.ศ. 2558[20] (ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาการศึกษา สกศ. ศธ.)
7. นายการุณ สกุลประดิษฐ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558[20] - 21 กันยายน พ.ศ. 2560[21] (ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สป. ศธ.)
8. นายบุญรักษ์ ยอดเพชร 22 กันยายน พ.ศ. 2560[21] - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2562[22] (ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สอศ. ศธ.)
9. นายสุเทพ ชิตยวงษ์ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562[22] - 30 กันยายน พ.ศ. 2562[23][24] (มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์)
10. นายอำนาจ วิชยานุวัติ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562[25] - 30 กันยายน พ.ศ. 2563[26]ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาการศึกษา สกศ. ศธ.)
11. นายอัมพร พินะสา 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563[26] - 30 กันยายน พ.ศ. 2566 (มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์)
12. นายธนุ วงษ์จินดา 3 ตุลาคม พ.ศ. 2566[27] - ปัจจุบัน
ปิด

อ้างอิง

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.