ขนมเปียกปูน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขนมเปียกปูน

ขนมเปียกปูน เป็นขนมไทยประเภทกวน มักมีสีดำซึ่งได้จากกาบมะพร้าวเผาไฟ และสีเขียวเข้มที่ได้จากน้ำใบเตยคั้น

ข้อมูลเบื้องต้น ประเภท, แหล่งกำเนิด ...
ขนมเปียกปูน
Thumb
ประเภทขนม
แหล่งกำเนิดประเทศไทย
ส่วนผสมหลักแป้ง น้ำตาล น้ำปูนใส สีจากกาบมะพร้าวเผาไฟหรือน้ำใบเตยคั้น
ปิด

สันนิษฐานว่าดัดแปลงมาจากกะละแมแต่ไม่ใส่กะทิสด ทำจากแป้งหมักเช่นเดียวกับขนมจีนหรือลอดช่อง ส่วนผสมในอดีตประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้าหมักทิ้งไว้ แล้วนำมาโม่ด้วยโม่หินให้ละเอียดจนเป็นน้ำแป้ง ผสมน้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย ใบตาลเผาไฟ (ส่วนใหญ่ไม่ค่อยนิยม) และน้ำปูนใส เมื่อกวนเสร็จนำมาใส่ถาดทรงสี่เหลี่ยม หากเป็นสมัยโบราณเป็นถาดโบราณรูปทรงกลม เมื่อขนมแห้งตึงดีจึงใช้มีดตัดแบ่งออกพอเป็นคำ ๆ[1] ชาวบ้านเรียกติดปากว่า "สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน" เวลารับประทานโรยด้วยมะพร้าวอ่อนขูดฝอยเคล้ากับน้ำเกลือหรือเกลือป่น ส่วนวัตถุดิบในปัจจุบัน คือ แป้ง น้ำตาล และน้ำใบเตย[2] หรือน้ำจากกาบมะพร้าวเผาไฟ

ขนมเปียกปูนกับขนมเปียก (หรือขนมเปียกอ่อน) มีลักษณะคล้ายกัน ขนมเปียกมีสีน้ำตาลที่ได้มาจากน้ำตาลโตนด ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญของขนมเปียก ขนมเปียกมีเนื้อขนมที่ร่วนกว่าขนมเปียกปูน เนื่องจากไม่ได้ใส่น้ำปูนใส แต่จะเพิ่มหัวกระทิเข้าไป ทำให้ขนมเปียกมีรสชาติหวานมันมากกว่าขนมเปียกปูน มักรับประทานขนมเปียกกับถั่วทอง (ถั่วเขียวกระเทาะเปลือก)[3]

อ้างอิง

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.