Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กูเกิล โครมโอเอส (อังกฤษ: Google Chrome OS) เป็นโครงการระบบปฏิบัติการที่ออกแบบและผลิตโดยกูเกิล โดยเป้าหมายสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บเป็นหลัก[5] เปิดตัวเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซอฟต์แวร์นี้พัฒนาต่อจากกูเกิล โครเมียมโอเอส (ซึ่งตัวกูเกิล โครเมียมโอเอส นั้นก็พัฒนาต่อมาจากเจนทูลินุกซ์ อีกทอดหนึ่ง โดยตัวเจนทูลินุกซ์นั้นก็ใช้ เคอร์เนิลลินุกซ์อีกทอดหนึ่ง) โดยตัวระบบปฏิบัติการนี้มุ่งเน้นสำหรับคอมพิวเตอร์ในลักษณะของเน็ตบุ๊ก และใช้กูเกิลโครม เป็นuser interfaceตัวหลัก[6] โดยวางแผนจะเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2553[7] ระบบปฏิบัติการจะทำงานกับโพรเซสเซอร์ x86 หรือ ARM architecture [8]
โลโก้ ณ เดือนมีนาคม 2022 | |
ผู้พัฒนา | กูเกิล |
---|---|
เขียนด้วย | ซี, ซี++, แอสเซมบลี, จาวาสคริปต์, เอชทีเอ็มแอล5, ไพทอน, รัสต์ |
ตระกูล | ลินุกซ์ (ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์)[1] |
สถานะ | ติดตั้งไว้ล่วงหน้า Chromebooks, Chromeboxes, Chromebits, Chromebases |
รูปแบบ รหัสต้นฉบับ | กรรมสิทธิ์กับส่วนประกอบโอเพนซอร์ซ |
วันที่เปิดตัว | 15 มิถุนายน 2011 |
วิธีการอัปเดต | อัปเดตอย่างต่อเนื่อง |
ตัวจัดการ แพกเกจ | Portage[a] |
แพลตฟอร์ม ที่รองรับ | ARM32, ARM64, IA-32, x86-64 |
ชนิดเคอร์เนล | Monolithic (Linux kernel)[3] |
ยูเซอร์แลนด์ | Aura Shell (Ash), Ozone (display manager); X11 apps can be enabled in recent ChromeOS |
ส่วนติดต่อผู้ใช้ปริยาย | กูเกิล โครม |
สัญญาอนุญาต | กรรมสิทธิ์[4] |
เว็บไซต์ | www |
นอกจากนี้กูเกิลได้กล่าวไว้ว่าภายในสิ้นปี 2552 ระบบปฏิบัติการตัวนี้จะเป็นโครงการในลักษณะโอเพนซอร์ซ[9] ระบบปฏิบัติการตัวนี้จะสามารถใช้แทนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ถึงแม้ว่าซอฟต์แวร์นี้จะพัฒนาตามลินุกซ์เคอร์เนิลก็ตาม[10]
บริษัทที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาได้แก่ ควอลคอมม์ เท็กซัสอินสตรูเมนตส์ โตชิบา ฟรีสเกล เลโนโว เอเซอร์ อะโดบี อัสซุส และ ฮิวเลตต์-แพคการ์ด[11]
หน้าตา
ลักษณะ interface ของ กูเกิล โครมโอเอส มีลักษณะเหมือน กูเกิล โครม ที่เป็นเบราว์เซอร์ของกูเกิล
โปรแกรม
โปรแกรมที่สามารถทำงานได้ คือ เหล่าเว็บแอปพลิเคชัน หรือก็คือเว็บไซต์ที่สามารถทำงานได้เหมือนโปรแกรมที่ติดตั้งลงคอมพิวเตอร์ ซึ่งมันมีข้อดีตรงที่ตัวเว็บแอปพลิเคชันจะมีการอัปเดตตลอดเวลา และเมื่อมีการแก้ไขข้อผิดพลาดก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งตัวแก้
ความปลอดภัย
ตัวโครม โอเอสมีพื้นฐานของระบบปฏิบัติการยูนิกส์ทำให้มีความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีระบบ sandbox ซึ่งจะแบ่งที่ให้โปรเซสไว้โดยที่แต่ละโปรเซสมิอาจยุ่งกับโปรเซสอื่นได้ และยังมีระบบอัปเดตอัตโนมัติด้วย
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.