Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (อังกฤษ: breastfeeding, nursing) คือการป้อนนมให้กับทารกหรือเด็กด้วยน้ำนมจากหน้าอกของผู้หญิง ทารกจะมีกลไกอัตโนมัติในการดูดที่จะทำให้เขาสามารถดูดและกลืนน้ำนมได้
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
มีหลักฐานจากการทดลองชี้ให้เห็นว่า น้ำนมคนเป็นแหล่งสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก[1] แต่ผู้เชี่ยวชาญยังมีความเห็นไม่ตรงกันว่าควรให้ทารกกินนมแม่นานเท่าไรจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด และจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเท่าไรจากการให้สารทดแทนน้ำนมคนแก่ทารก[2][3][4]
ทารกอาจจะกินน้ำนมจากอกของแม่ของตัวเองหรือผู้หญิงอื่นที่ร่างกายสามารถผลิตน้ำนมได้ (ซึ่งอาจจะเรียกว่า แม่นม) น้ำนมอาจจะถูกบีบออกมา (เช่น ใช้เครื่องปั๊มนม) และป้อนให้ทารกโดยใช้ขวด และอาจเป็นน้ำนมที่รับบริจาคมาก็ได้ สำหรับแม่หรือครอบครัวที่ไม่สามารถหรือไม่ต้องการให้ลูกกินนมแม่ก็อาจให้สารทดแทนนมแม่แทน การศึกษาวิจัยยังมีความขัดแย้งกันเกี่ยวกับคุณค่าสารอาหารในสารทดแทนนมแม่ เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าการให้ทารกกินนมผสมที่มีขายในท้องตลาดจะไปรบกวนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทั้งในทารกที่คลอดตามกำหนดและคลอดก่อนกำหนด[5] ในหลายๆ ประเทศการให้ลูกกินสารทดแทนนมแม่ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคท้องร่วงในทารกเพิ่มขึ้น[6] แต่ในพื้นที่ที่มีน้ำสะอาดมีเพียงพอ การให้ลูกกินสารทดแทนนมแม่ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับได้[3]
มีนโยบายของรัฐบาลและความพยายามจากหน่วยงานนานาชาติในการส่งเสริมและสนับสนุนให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเลี้ยงทารกในช่วงปีแรกและนานกว่านั้น องค์การอนามัยโลกและสถาบันกุมารแพทย์ของอเมริกา (American Academy of Pediatrics) ก็มีนโยบายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่[7][8]
การหลั่งน้ำนม (Lactation) คือ กระบวนการในการสร้าง การหลั่ง และการไหลออกมาของน้ำนม การหลั่งน้ำนม เป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่ใช้นิยาม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
คุณสมบัติของนมแม่ยังไม่เป็นที่รู้แน่ชัด แต่คุณค่าสารอาหารของน้ำนมที่สมบูรณ์แล้วจะค่อนข้างคงที่ องค์ประกอบของน้ำนมจะมาจากอาหารที่แม่รับประทานเข้าไป, สารอาหารต่างๆ ในกระแสเลือดของแม่ในระหว่างที่ให้น้ำนม และสารอาหารที่ร่างกายเก็บสะสมไว้ ในการศึกพบว่าผู้หญิงที่ให้ลูกกินนมแม่ล้วนๆ จะใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอีกวันละ 500-600 แคลอรีในการผลิตน้ำนมให้ลูก[9] ส่วนประกอบของน้ำนมจะแตกต่างกันไปในแต่ละวัน และแต่ละชั่วโมง ขึ้นอยู่กับลักษณะการให้ทารกกินนม, อาหารที่แม่รับประทาน, และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ดังนั้นอัตราส่วนของน้ำต่อไขมันในน้ำนมแม่ จึงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ช่วงอายุของลูกหลังจากที่คลอดแล้วฮอร์โมนในร่างกายแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงแล้วจะกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมขึ้นในช่วงแรกน้ำนมจะเป็นสีเหลืองเมื่อลูกดูดกินไปเรื่อยๆจะกลายเป็นน้ำนมสีขาวในที่สุด
น้ำนมส่วนหน้า (Foremilk) ซึ่งเป็นน้ำนมที่ไหลออกมาในช่วงแรกของการให้นม จะค่อนข้างใส ไขมันต่ำ คาร์โบไฮเดรตสูง น้ำนมส่วนหลัง (Hindmilk) ซึ่งเป็นน้ำนมจะไหลออกมาหลังจากให้นมทารกไปได้ระยะหนึ่ง จะมีลักษณะข้นกว่า แต่ไม่มีการแบ่งแยกที่ชัดเจนระหว่างน้ำนมส่วนหน้ากับน้ำนมส่วนหลัง น้ำนมจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลง งานวิจัยของ Human Lactation Research Group เก็บถาวร 2007-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ซึ่งนำโดยศาสตราจารย์ปีเตอร์ ฮาร์ทมันน์ (Peter Hartmann) แสดงว่าปริมาณไขมันจะแปรผันไปตามความสามารถในการดึงน้ำนมออกจนหมดเต้า ยิ่งมีน้ำนมในเต้าน้อยเท่าไร ปริมาณไขมันในน้ำนมจะยิ่งมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงเต้านมจะไม่มีทางหมดเต้าได้ เพระต่อมน้ำนมจะผลิตน้ำนมออกมาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์ต่อทั้งแม่และทารก ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ สารอาหารและภูมิต้านทานต่างๆ จะถูกส่งผ่านไปยังทารก ในขณะที่ฮอร์โมนจะหลั่งออกมาในร่างกายของแม่[10] สายสัมพันธ์ระหว่างทารกและแม่จะแนบแน่นมากขึ้นในระหว่างการให้ลูกกินนมแม่[11]
มีหลักฐานมากมายเกี่ยวกับประโยชน์ทางสุขภาพ ตามที่สถาบันกุมารแพทย์ของอเมริกากล่าวไว้ว่า
การทำงานวิจัยมากมาย โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่หลากหลายและน่าทึ่งของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีต่อทารก, แม่, สมาชิกในครอบครัว และสังคม และการใช้น้ำนมแม่เป็นอาหารสำหรับทารก ประโยชน์ที่ได้คือ สุขภาพที่ดีกว่า สารอาหาร ภูมิต้านทาน ผลดีต่อสภาพจิตใจ สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
— คำแถลงนโยบายของสถาบันกุมารแพทย์อเมริกา[8]
ทารกที่กินนมแม่จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคไหลตายในเด็ก (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS) และโรคอื่นๆ น้อยกว่า การดูดที่อกแม่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการของฟันและอวัยวะในการออกเสียงอย่างเหมาะสม นอกจากนี้น้ำนมแม่ยังมีอุณภูมิที่เหมาะสมและมีพร้อมให้ทารกกินได้ทันที
ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งที่เด็กจะได้รับ จากการดื่มนมแม่ก็คือ เด็กจะมีภูมิคุ้มกันโรคได้หลายชนิด นอกจากนี้การให้ลูกดื่มนมยังช่วยให้ ลูกน้อยรู้สึกใกล้ชิดกับแม่ ซึ่งจะก่อให้เกิดความอบอุ่นใจและทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัยอีกด้วย
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์ต่อแม่ เพราะช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนออกซีโทซินและโปรแลกติน ซึ่งทำให้แม่รู้สึกผ่อนคลายและมีความรู้สึกรักใคร่ทะนุถนอมทารก[21] การให้ลูกกินนมแม่ทันทีหลังจากคลอดลูกจะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนออกซีโทซินในร่างกาย ทำให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วและลดอาการตกเลือด[22]
ไขมันที่ถูกสะสมในร่างกายในช่วงตั้งครรภ์จะถูกใช้ในการผลิตน้ำนม การยืดระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานขึ้นจะช่วยให้แม่สามารถลดน้ำหนักตัวได้เร็ว[23][24] การให้ลูกกินนมบ่อยๆ หรือให้ลูกกินนมแม่เพียงอย่างเดียวอาจจะทำให้การมีประจำเดือนช้าลง จึงมีส่วนในการช่วยคุมกำเนิด บางครั้งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงถูกนำมาใช้เป็นวิธีการคุมกำเนิด ซึ่งอาจจะสามารถคุมกำเนิดได้ 98% โดยจะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขต่อไปนี้
อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้ใช้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นวิธีการคุมกำเนิด เนื่องจากการตกไข่หลังคลอดบุตรอาจเกิดขึ้นก่อนการมีประจำเดือน ดังนั้นผู้หญิงจึงสามารถ (และบ่อยครั้ง) ตั้งท้องได้ก่อนที่จะเริ่มกลับมามีประจำเดือนอีกครั้ง
แม่ยังคงสามารถให้ลูกกินนมแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ได้ แต่โดยทั่วไปแล้ว การผลิตน้ำนมจะลดลงหลังจากตั้งครรภ์ได้ระยะหนึ่ง
แม่ที่ให้ลูกกินนมแม่จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลายๆ โรคลดลง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ฯลฯ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.