ทัศนมิติ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทัศนมิติ[1] (อังกฤษ: perspective) หรือทับศัพท์ว่าเพอร์สเปกทีฟ คือการเขียนภาพให้ปรากฏออกมาในลักษณะที่เหมือนการมองเห็นจริง โดยปรกติมักจะใช้เพื่อการนำเสนอภาพจำลองของแนวความคิดในการออกแบบผลงาน เช่นภาพงานอาคารในงานสถาปัตยกรรม ภาพการตกแต่งภายในสำหรับงานมัณฑนศิลป เป็นต้น
ประเภทของทัศนมิติ
- ทัศนมิติแบบจุดเดียวจะมีจุดสุดสายตา (Vanishing point) จุดเดียว อาจอยู่ด้านซ้าย หรือขวา บนหรือล่าง หรืออยู่กึ่งกลางของภาพก็ได้
- จุดลับตาหรือจุดอันตธาน คือจุดรวมของเส้นฉายของภาพ
- ทัศนมิติแบบสองจุด จะมีจุดสุดสายตา สองจุด อยู่ทางด้านซ้ายและขวาของภาพ
- ทัศนมิติแบบสามจุด จะมีจุดสุดสายตา สองจุด อยู่ทางด้านซ้ายและขวาของภาพ อีกหนึ่งจุดอาจอยู่ด้านบนหรือด้านล่างของภาพก็ได้
ระดับมุมมองของทัศนมิติ
- มองแบบนก (Bird’s eye view) เป็นภาพในลักษณะมองจากที่สูงลงมา
- มองในระดับสายตา (Human’s eye view) เป็นภาพการมองในลักษณะระดับสายตาของคนทั่วไป
- มองแบบหนอน (Worm’s eye view) เป็นภาพในลักษณะมองขึ้นไปที่สูง
องค์ประกอบของทัศนมิติ
- จุดสุดสายตา (Vanishing Point)
- เส้นระดับสายตา (Horizon Line)
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.