Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายกรัฐมนตรีอินทิรา คานธีถูกลอบสังหาร เมื่อเวลา 9:29 น. วันที่ 31 ตุลาคม 1984 ที่บ้านพักของเธอบนถนนซัฟดัรจุง ในนิวเดลี[1][2] เธอถูกลอบสังหารโดยองครักษ์ของเธอเอง[3] คือ สัตวันต์ สิงห์ และ เพอันต์ สิงห์ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากปฏิบัติการดาวน้ำเงิน การสังหารหมู่ชาวซิกข์ในวิหารทอง อมฤตสระ ซึ่งกระทำโดยกองทัพอินเดีย วิหารทองซึ่งเป็นศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของศาสนาซิกข์ได้รับความเสียหายอย่างหนัก [4]
เวลาราว 9:20 น. ตามเวลาท้องถิ่น วันที่ 31 ตุลาคม 1984 อินทิรากำลังเดินทางไปสัมภาษณ์กับนักแสดงชาวอังกฤษ ปีเตอร์ อัสตีนอฟ ซึ่งกำลังถ่ายทำสารคดีให้กับโทรทัศน์ไอร์แลนด์ เธอเดินผ่านสวนของบ้านพักนายกรัฐมนตรีหมายเลข 1 ถนนซัฟดัรจุง (Prime Minister's Residence, No. 1 Safdarjung Road) ในนิวเดลีไปยังออฟฟิศ บ้านเลขที่ 1 ถนนอักบัร ซึ่งอยู่ติดกัน[1]
อินทิราเดินผ่านประตูซึ่งมีองครักษ์ยืนคุ้มกันอยู่สองคน คือ สัตวันต์ และ เพอันต์ สิงห์ ทันใดนั้นเขาทั้งสองคนก็ยิงเข้าใส่อินทิรา เพอันต์ ยิงปืนสามนัดเข้าไปที่ช่องท้องของเธอ โดยใช้ปืนพกลูกโม่ขนาด .38[5] ตามด้วย สัตวันต์ ยิงปืน 30 นัด โดยใช้ปืนกึ่งปืนกลใส่เธอซ้ำหลังเธอล้มลงบนพื้น[5] จากนั้นชายทั้งสองโยนอาวุธลงและ เพอันต์ได้กล่าวว่า “เราทำในสิ่งที่เราต้องทำ คุณทำในสิ่งที่คุณอยากทำ” ("I have done what I had to do. You do what you want to do.") หลังจากนั้นเพียง 6 นาที เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจตราพรมแดน ตาร์เสม สิงห์ ชัมวัล (Tarsem Singh Jamwal) และ ราม สราญ (Ram Saran) จับกุมและสังหารเพอันต์ ส่วน สัตวันต์ถูกจับกุมโดยองครักษ์อีกคนของอินทิรา เขาได้รับบาดเจ็บอย่างหนักจากความพยายามจะหลบหนี[6]
เพอันต์ เป็นหนึ่งในบอดีการ์ดที่อินทิราชื่นชอบเป็นส่วนตัว เธอรู้จักกับเขามามากว่า 10 ปี[5] ส่วน สัตวันต์ อายุเพียง 22 ปีในขณะก่อการลอบสังหาร และพึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นองครักษ์ประจำตัวอินทิราเพียง 5 เดือนก่อนการลอบสังหาร[5]
อินทิราถูกส่งตัวไปยังสถาบันการแพทย์ออลล์อินเดีย นิวเดลี หนึ่งในกลุ่มสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ออลล์อินเดีย ในเวลา 9:30 น. แพทย์ที่ทำการผ่าตัดรักษาได้ประกาศทางการของแพทย์ออกมาเมื่อเวลา 14:20 น. ยืนยันว่าเธอได้เสียชีวิตแล้ว การวินิจฉัยสาเหตุการเสียชิวิตโดยติรัถ ทาส โดกรา ระบุว่าเธอถูกยิง 30 นัด โดยใช้ปืนกึ่งปืนกลสเตียร์ลิง (Sterling sub-machine) และปืนลูกโม่ ฆาตกรยิงปืนใส่เธอทั้งหมด 33 นัด โดนตัวเธอ 30 นัด ในจำนวนนี้ 23 นัดทะลุร่างกาย ส่วนอีก 7 นัดฝังอยู่ในร่างกาย โดกราแยกกระสุนออกมาเพื่อระบุหาอาวุธที่ใช้ยิง โดยใช้วิธีการแบบการพิจารณาบัลลิสติก (ballistic examination) กระสุนนั้นวินิจฉัยพบว่าตรงกับของอาวุธในคลังแสงของ CFSL เดลี ร่างของเธอบรรจุใส่โลงและขนขึ้นรถขนปืน (gun carriage) ผ่านไปตามถนนของเดลีในเข้าวันที่ 1 พฤศจิกายน ไปยังตีนมูรติภวัน ซึ่งเป็นที่ไว้ร่างของบิดาของอินทิรา[1] พิธีศพจัดขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน ใกล้กับราชฆาฏ อนุสรณ์สถานของมหาตมะ คานธี ในบริเวณที่เรียกว่า “ศากติสถล” โดยมีผู้สืบตำแหน่งและบุตรชายของเธอเอง ราชีพ คานธี เป็นผู้จุดไฟเผาศพ
สี่วันหลังจากนั้น ศาสนิกชนซิกข์หลายพันคนถูกฆาตกรรมใน จลาจลต่อต้านชาวซิกข์ 1984[7]
สัตวันต์ สิงห์ และ ผู้สมรู้ร่วมคิด เกหัร สิงห์ ถูกตัดสินประหารชีวิต ทั้งคู่ถูกประหารชีวิตในวันที่ 6 มกราคม 1989
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.