Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ในสาขาจิตวิทยา การรับมือ (อังกฤษ: coping) เป็นการตั้งใจพยายามแก้ปัญหาส่วนตัวหรือกับคนอื่น แล้วเอาชนะ ลด หรืออดทนความเครียดหรือความรู้สึกขัดใจของตน[1][2][3][4] ประสิทธิผลของความพยายามขึ้นอยู่กับรูปแบบความเครียดหรือความขัดแย้ง บุคคลอื่น และสถานการณ์อื่น ๆ
กลไกการรับมือทางใจเรียกอย่างสามัญในภาษาอังกฤษว่า coping strategies (กลยุทธ์การรับมือ) หรือ coping skills (ทักษะการรับมือ)[5] เป็นสิ่งที่ไม่รวมกลยุทธ์ใต้สำนึก (เช่น กลไกป้องกันตน [defence mechanism])
คำทั่วไปหมายถึงกลยุทธ์รับมือที่เป็นการปรับตัวที่ดี (adaptive) หรือว่าเป็นแบบสร้างสรรค์ ซึ่งก็คือ ช่วยลดความเครียด โดยกลยุทธ์บางอย่างพิจารณาว่า เป็นการปรับตัวผิด (maladaptive) คือ เพิ่มความเครียด การรับมือแบบผิด ๆ อาจจะเรียกได้ว่า เป็นการไม่รับมือ นอกจากนั้นแล้ว เป็นคำที่หมายถึงปฏิกิริยา คือเป็นการรับมือตอบสนองต่อตัวสร้างความเครียด (stressor) เทียบกับการรับมือล่วงหน้า (proactive coping) ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อดักตัวก่อความเครียดที่จะเกิดในอนาคต การรับมือส่วนหนึ่งควบคุมโดยบุคลิกภาพคือลักษณะที่เป็นนิสัย แต่ส่วนหนึ่งก็คุมโดยสถานการณ์ทางสังคม โดยเฉพาะธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมที่ก่อความเครียด[6]
มีกลยุทธ์การรับมือเป็นร้อย ๆ[6] แต่การจัดเป็นลำดับชั้นโดยเป็นหมวดหมู่ยังไม่มีมติร่วมกัน การแยกแยะหมวดหมู่มักจะทำแบบเป็นคู่ ๆ เช่น มีปัญหาเป็นศูนย์ หรือมีอารมณ์เป็นศูนย์, สู้หรือหนี, โดยการรู้คิดหรือโดยพฤติกรรม หนังสือเรียนจิตวิทยาเล่มหนึ่งกำหนดชนิดกลยุทธ์การรับมือไว้ 4 อย่างแบบกว้าง ๆ คือ[1]
กลยุทธ์เพ่งการประเมินเป็นการเปลี่ยนความคิดของตน ยกตัวอย่างเช่น ปฏิเสธความจริง (denial) หรือแยกตัวจากปัญหา (distancing) หรือเมื่อเปลี่ยนวิธีคิดถึงปัญหาโดยเปลี่ยนเป้าหมายและค่านิยมของตน เช่น เห็นความน่าขันในสถานการณ์เช่น "มีคนที่แนะว่า มุกตลกอาจมีบทบาทสำคัญเป็นตัวลดความเครียดในหญิงมากกว่าชาย" (คือ เปลี่ยนปัญหาหญิงเครียดกว่าชายไปเป็นเรื่องขำ ๆ)[7]
ส่วนคนที่ใช้กลยุทธ์เพ่งปัญหาจะพยายามจัดการเหตุของปัญหา โดยหาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาแล้วเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ในการจัดการปัญหา เป็นกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนหรือกำจัดตัวก่อความเครียด ศาสตราจารย์จิตวิทยาทรงอิทธิพลที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ดร. ลาซารัส และเพื่อนร่วมงานได้กำหนดกลยุทธ์ว่า เป็นการเข้าควบคุม การหาข้อมูล และการประเมินส่วนได้ส่วนเสีย
ส่วนกลยุทธ์เพ่งอารมณ์รวมทั้งการ
กลยุทธ์นี้ "มุ่งจัดการอารมณ์ที่ตามมากับการรับรู้ความเครียด"[8] ส่วนดร. ลาซารัสกำหนดกลยุทธ์ว่าเป็น[9]
|
|
กลยุทธ์นี้ บรรเทาความเครียดโดยลดมันให้ต่ำที่สุด หรือป้องกันอารมณ์ที่จะมากับตัวก่อความเครียด[10] โดยประยุกต์ใช้ได้หลายแบบ เช่น[10][11]
|
|
กลยุทธ์นี้มุ่งเปลี่ยนความหมายของตัวสร้างความเครียดหรือย้ายความสนใจไปในเรื่องอื่น[11] ยกตัวอย่างเช่น การประเมินใหม่พยายามหาความหมายที่ดีเกี่ยวกับเหตุของตัวก่อความเครียดเพื่อลดอารมณ์ที่เกิดตอบสนอง การหลีกเลี่ยงความทุกข์ทางใจเป็นการหันไปสนใจเรื่องอื่นจากความรู้สึกไม่ดีที่สัมพันธ์กับตัวก่อทุกข์ เป็นกลยุทธ์ที่เหมาะกับตัวก่อความเครียดที่เหมือนจะควบคุมไม่ได้ (เช่น การได้วินิจฉัยว่าเป็นโรคระยะสุดท้าย หรือการสูญเสียบุคคลที่รัก)[10]
กลไกการรับมือเพ่งที่อารมณ์บางอย่าง เช่น การหลีกเลี่ยง สามารถบรรเทาความทุกข์ระยะสั้น ๆ แต่ว่า อาจจะก่อความเสียหายถ้าใช้ในระยะยาว ส่วนกลไกเชิงบวกอื่น ๆ เช่น การหาคนสนับสนุน และการประเมินใหม่ในแง่ดี สัมพันธ์กับผลที่ดีกว่า[12] การรับมือโดยวิธีทางอารมณ์ (Emotional approach coping) เป็นรูปแบบการรับมือโดยเพ่งอารมณ์อย่างหนึ่ง ที่การแสดงและการประมวลอารมณ์นำมาใช้อย่างปรับตัวได้เพื่อบริหารการตอบสนองต่อตัวก่อความเครียด[13]
โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์จะใช้กลยุทธ์รับมือทั้งสามอย่างผสมผเสกัน และทักษะการรับมือปัญหาปกติจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา วิธีทั้งหมดนี้สามารถมีประโยชน์ได้ แต่ก็มีนักวิชาการที่อ้างว่าผู้ที่ใช้กลยุทธ์เพ่งปัญหาจะปรับตัวในชีวิตได้ดีกว่า[14] เพราะว่า กลยุทธ์อาจช่วยให้รู้สึกว่าสามารถควบคุมปัญหาของตนได้ดีกว่า เทียบกับวิธีเพ่งอารมณ์ที่บางครั้งทำให้รู้สึกว่าควบคุมเหตุการณ์ได้น้อย ซึ่งถือเป็นการรับมือแบบปรับตัวได้ไม่ดี ดร. ลาซารัสแนะให้สังเกตความเชื่อมกันระหว่างแนวคิดเรื่องการประเมินใหม่เพื่อป้องกันตน (defensive reappraisals) หรือการรับมือด้วยความคิด กับแนวคิดของฟรอยด์เรื่องการป้องกันอัตตา (ego-defenses)[9] ดังนั้น กลยุทธ์การรับมือจึงมีส่วนคาบเกี่ยวกับกลไกป้องกันตน
กลยุทธ์การรับมือที่ดีอันหนึ่ง เป็นการคาดหมายหรือการเตรียมป้องกันปัญหา ซึ่งเรียกว่า การรับมือล่วงหน้า (proactive coping)[8] การคาดหมายเป็นการลดความเครียดในเรื่องอะไรที่ยาก โดยคาดว่ามันจะเป็นอย่างไรแล้วเตรียมตัวรับมือกับมัน[15]
กลยุทธ์ที่ดีอีกสองอย่างก็คือ การรับมือทางสังคม (social coping) เช่น การหาคนสนับสนุน และการรับมือแบบเพ่งความหมาย ที่บุคคลพยายามหาความหมายจากประสบการณ์เครียด[8] การทานอาหาร การออกกำลังกาย และการนอนหลับให้พอเพียง ล้วนมีส่วนช่วยบริหารความเครียด และแม้แต่ความแข็งแรงของร่างกายและเทคนิคการผ่อนคลายเช่น progressive muscle relaxation ที่ผู้บำบัดสอนให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อในทุก ๆ ส่วนของร่างกาย ก็มีส่วนเช่นกัน[16]
วิธีที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งที่สามารถใช้กับเหตุการณ์ที่ก่อความเจ็บปวดก็คือมุกตลก คือ แม้ว่าเราจะรู้สึกไปตามเหตุการณ์ตามที่ควรจะเป็น แต่ก็เอาชนะมันโดยเปลี่ยนมันให้เป็นเรื่องตลกและน่าขัน[17]
เมื่อรับมือกับความเครียด สำคัญที่จะจัดการเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางกาย ทางใจ และทางสังคม ทุกคนควรรักษาสุขภาพและรู้จักผ่อนคลายเมื่อเกิดความเครียด ส่วนทางจิตใจ เป็นเรื่องสำคัญที่จะคิดถึงเรื่องต่าง ๆ ในเชิงบวก ให้คุณค่าตัวเอง บริหารการใช้เวลาได้ดี วางแผนและคิดถึงอนาคต และแสดงอารมณ์ ทางสังคม เราควรจะคุยกับคนอื่นและหาทำสิ่งใหม่ ๆ โดยใช้กลยุทธ์ง่าย ๆ เหล่านี้ การตอบสนองต่อความเครียดในชีวิตจะง่ายขึ้น[18][19]
เทียบกับวิธีการรับมือที่เป็นการปรับตัวที่ดีซึ่งช่วยเพิ่มสมรรถภาพในชีวิต เทคนิคที่เป็นการปรับตัวผิดแม้จะช่วยลดอาการของปัญหาแต่ก็จะช่วยรักษาและเสริมแรงปัญหานั้น เทคนิคที่ปรับตัวผิดจะมีประสิทธิผลในระยะสั้นเท่านั้นไม่เหมือนการรับมือระยะยาว ตัวอย่างของกลยุทธ์การรับมือที่เป็นการปรับตัวผิดรวมทั้งการแยกตัวทางใจจากสิ่งแวดล้อมหรือความจริง (dissociation) การเพิ่มความไวปฏิกิริยาต่อสิ่งก่อความเครียด (sensitization) พฤติกรรมที่ทำให้รู้สึกปลอดภัยแต่ไม่ช่วยแก้ปัญหา (safety behaviors) การหนีไม่ประสบกับเหตุการณ์/ตัวก่อความเครียดที่อาจก่อปัญหา (avoidance coping) และการหนีจากความจริงที่ต้องประสบในชีวิต (escape) รวมทั้งการใช้สารเสพติด กลยุทธ์เหล่านี้ขัดขวางการเรียนรู้ที่จะแยกความวิตกกังวลออกจากเหตุการณ์ที่กลายมาเป็นเรื่องสัมพันธ์กัน เป็นการปรับตัวไม่ดีที่ช่วยดำรงความผิดปกติทางจิต
การแยกตัว (dissociation) เป็นความสามารถของใจที่จะแยกและจัดแบ่งส่วนของความคิด ความจำ และอารมณ์ ซึ่งบ่อยครั้งสัมพันธ์กับความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PSD) การทำให้ไว (sensitization) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลพยายามเรียนรู้ ฝึกซ้อม หรือคาดการณ์เหตุการณ์ที่กลัว โดยเป็นความพยายามเพื่อป้องกันเหตุการณ์เหล่านั้นไม่ให้เกิดขึ้นตั้งแต่แรก แต่ความจริงทำให้เกิดความระมัดระวังเกินไปและความวิตกกังวลที่ซ้ำ ๆ พฤติกรรมที่ทำให้รู้สึกปลอดภัย (safety behavior) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลที่มีโรควิตกกังวลกลายมาพึ่งอะไรบางอย่าง หรือคนบางคน เพื่อรับมือความวิตกกังวลที่มีเกิน การรับมือแบบหลีกเลี่ยง (avoidance coping) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้วิตกกังวลโดยทุกวิถีทาง ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สามัญที่สุด การหนี (escape) คล้ายกับการหลีกเลี่ยง ซึ่งเกิดในคนไข้โรคตื่นตระหนกหรือโรคกลัวอะไรบางอย่าง ผู้ต้องการหนีจากเหตุการณ์ทันทีที่รู้สึกวิตกกังวล[20]
ตัวอย่างอื่น ๆ ของกลยุทธ์การรับมือรวมทั้ง[21] คนคุยที่ช่วยบรรเทาทุกข์ อุปกรณ์ช่วยบรรเทาทุกข์ การหันไปสนใจสิ่งอื่น การปฏิเสธว่ามีปัญหา การใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทในทางที่ผิด การโทษตัวเอง และการอยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไร (behavioral disengagement)[22]
หลายคนคิดว่า การนั่งสมาธิ/การเจริญกรรมฐาน "ไม่ใช่เพียงสงบอารมณ์ของเราเท่านั้น แต่ ... ทำให้เรารู้สึกเป็นหนึ่งเดียว" และอีกด้วยก็คือ "การสวดมนต์ที่คุณพยายามได้ความสงบและสันติภาพในภายใน"[23]
การรับมือโดยไม่พยายาม (low-effort coping) หมายถึงปฏิกิริยาของชนกลุ่มน้อยเมื่อพยายามจะเข้ากับวัฒนธรรมของคนกลุ่มใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนที่เป็นชนกลุ่มน้อยอาจเรียนรู้ที่จะพยายามให้น้อยที่สุดเพราะคิดว่าคนกลุ่มใหญ่กีดกันตนโดยความเดียดฉันท์[24]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชายกับหญิงอาจมีตัวก่อความเครียดและกลยุทธ์รับมือที่แตกต่างกัน มีหลักฐานว่า ชายมักจะเครียดเพราะเหตุอาชีพ เทียบกับหญิงที่มักจะเครียดเพราะปัญหาความสัมพันธ์กับคนอื่น[25] งานศึกษาต้น ๆ แสดงว่า "มีความแตกต่างระหว่างเพศในเรื่องแหล่งก่อความเครียด แต่ว่า ความแตกต่างระหว่างเพศในการรับมือค่อนข้างจะน้อยเมื่อควบคุมแหล่งก่อความเครียดแล้ว"[26] โดยปี 2552 ได้ยืนยันว่ามี "ความแตกต่างเล็กน้อยระหว่างชายหญิงในกลยุทธ์รับมือเมื่อศึกษาบุคคลต่าง ๆ ในสถานการณ์คล้าย ๆ กัน"[27]
โดยทั่วไปแล้ว งานศึกษาชี้ว่า หญิงมักจะใช้การรับมือโดยเพ่งที่อารมณ์ และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดโดยดูแลลูกและหาเพื่อน (tend-and-befriend) เทียบกับชายที่มักใช้การรับมือเพ่งที่ปัญหา และมีปฏิกิริยาแบบสู้หรือหนี (fight-or-flight) ซึ่งอาจเป็นเพราะมาตรฐานสังคมสนับสนุนให้ชายเป็นตัวของตัวเองมากกว่า และสนับสนุนให้หญิงเกื้อกูลกันมากกว่า ทฤษฎีอีกอย่างที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์นี้ได้ก็คือเป็นเรื่องทางพันธุกรรม แต่ระดับอิทธิพลที่ปัจจัยทางพันธุกรรมเทียบกับทางสังคมมีต่อพฤติกรรม ก็ยังไม่มีข้อยุติ[28]
ฮอร์โมนอาจมีบทบาทในการบริหารความเครียด ฮอร์โมนความเครียดคือคอร์ติซอล พบว่าเพิ่มขึ้นในชายในสถานการณ์ที่ก่อความเครียด แต่ว่าในหญิง ระดับฮอร์โมนกลับลดลง แต่สมองส่วนระบบลิมบิกทำงานเพิ่มขึ้น นักวิจัยจำนวนมากเชื่อว่า ผลเช่นนี้เป็นเหตุที่ชายมีปฏิกิริยาสู้หรือหนี (fight-or-flight) ต่อความเครียด เทียบกับหญิงที่มีปฏิกิริยาดูแลลูกและหาเพื่อน (tend-and-befriend)[29] เพราะปฏิกิริยาสู้หรือหนีทำให้ระบบประสาทซิมพาเทติกทำงาน มีผลเป็นการเพิ่มระดับสมาธิและอะดรีนาลีน (อีพิเนฟริน) และนัยตรงกันข้ามปฏิกิริยาดูแลลูกและหาเพื่อนหมายถึงความโน้มเอียงที่หญิงจะปกป้องลูกและญาติ แม้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะสนับสนุนทฤษฎีทางพันธุกรรม แต่ไม่ควรเข้าใจว่า โดยทั่วไปแล้ว หญิงจะไม่มีปฏิกิริยาสู้หรือหนี หรือว่าชายจะไม่มีพฤติกรรมดูแลลูกและหาเพื่อน
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.