Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การระบาดของเอ็มพ็อกซ์เกิดขึ้นครั้งแรกในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2022 โดยมีอาการในชาวอังกฤษซึ่งเดินทางไปประเทศไนจีเรีย ซึ่งเป็นโรคเฉพาะถิ่น ต่อมาบุคคลดังกล่าวเดินทางกลับเข้ามาในสหราชอาณาจักรในวันที่ 4 พฤษภาคม โดยนำผู้ป่วยที่เป็นต้นเหตุเข้ามาในประเทศ
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
การแพร่ระบาดของเอ็มพ็อกซ์ พ.ศ. 2565–2566 | |
---|---|
แผนที่แสดงการระบาด ณ วันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2022 | |
โรค | เอ็มพ็อกซ์ |
สายพันธุ์ไวรัส | ไวรัสเอ็มพ็อกซ์ (MPV) ในแอฟริกาตะวันตก การแพร่ระบาดย่อยที่ไนจีเรีย ค.ศ. 2017–2019[1] |
แหล่งที่มา | การเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย (สันนิษฐาน)[2][3] |
สถานที่ | 103 ประเทศและดินแดน |
การระบาดครั้งแรก | ลอนดอน ประเทศอังกฤษ |
วันที่ | 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 – 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2023 (1 ปี 7 วัน) |
ผู้ป่วยยืนยันสะสม | 45,075 คน |
ผู้ต้องสงสัยป่วย‡ | 7,655 คน |
เสียชีวิต | 116 คน[4][5][6][7][8][9] |
‡Suspected cases have not been confirmed by laboratory tests as being due to this strain, although some other strains may have been ruled out. |
ไม่ทราบแหล่งที่มาของกรณีเอ็มพ็อกซ์หลายกรณีในสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม พบการแพร่ระบาดของเอ็มพ็อกซ์ในชุมชนในพื้นที่กรุงลอนดอนเมื่อกลางเดือนพฤษภาคม[10] มีรายงานการติดเชื้อไวรัสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษและนอกสหราชอาณาจักรซึ่ง ณ วันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 มีผู้ติดเชื้อ 5 คนในโปรตุเกส, 1 คนในสวีเดน, 1 คนในอิตาลี, 1 คนในเบลเยียม, 1 คนในสหรัฐ, 7 คนในแคนาดา, 30 คนในสเปน, 1 คนในเยอรมนี[11] และ 2 คนในออสเตรเลีย[12][13]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.