Loading AI tools
การทำให้ความเป็นสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยสิ้นสุดลง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทย คือ การทำให้ความเป็นสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยสิ้นสุดลง โดยนายกรัฐมนตรีเสนอให้พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร อันเป็นผลให้สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งปวงพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ทั้งนี้ เพื่อจัดการเลือกตั้งในประเทศไทยขึ้นใหม่ การยุบสภาเป็นมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งของระบบรัฐสภาที่ทำให้มีการคานอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร อาจนำมาใช้แก้ปัญหาทางตันทางการเมือง นอกจากทางอื่น เช่น รัฐบาลลาออก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
อนึ่ง เหตุผลในการยุบสภานั้น หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบัญญัติไว้ไม่ ดังนี้ จึงเป็นไปตามประเพณีการปกครองตลอดจนสภาวการณ์ของประเทศในขณะนั้น อาทิ เกิดความขัดแย้งรุนแรงในรัฐสภาหรือระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล การใช้เป็นเครื่องมือในการชิงความได้เปรียบทางการเมือง เช่น ขณะที่ตนมีคะแนนนิยมสูงมาก การที่สภาวการณ์ต่าง ๆ สุกงอมพอสมควรที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งก่อนครบอายุสภา เช่น ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญได้เสร็จสิ้นแล้ว
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หลักการสำคัญในการยุบสภาสามารถพิจารณาภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้ ดังนี้[1]
อนึ่ง คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็น ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ได้แก่
ส่วนสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาหาได้สิ้นสุดลงจากการยุบสภาผู้แทนราษฎรไม่ ดังนั้น จึงยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จะมีการประชุมวุฒิสภามิได้ เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้ (มาตรา 132)
การยุบสภาผู้แทนราษฎรเกิดขึ้นมาแล้วรวมทั้งสิ้น 14 ครั้ง[2][3][4]
ครั้งที่ | วันที่ | นายกรัฐมนตรี | สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ | เหตุผล |
---|---|---|---|---|
1 | 11 กันยายน พ.ศ. 2481 | พระยาพหลพลพยุหเสนา | 2 | รัฐบาลขัดแย้งกับสภา |
2 | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2488 | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช | 3 | สภาผู้แทนยืดอายุมานานในช่วงสงคราม จนสมควรแก่เวลา |
3 | 12 มกราคม พ.ศ. 2519 | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช | 11 | ความขัดแย้งภายในรัฐบาล |
4 | 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 | เปรม ติณสูลานนท์ | 13 | สภาผู้แทนราษฎรขัดแย้งกับวุฒิสภา กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ |
5 | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 | 14 | รัฐบาลขัดแย้งกับสภา กรณีการตราพระราชกำหนด | |
6 | 29 เมษายน พ.ศ. 2531 | 15 | ความขัดแย้งภายในรัฐบาล | |
7 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | อานันท์ ปันยารชุน | 17 | เป็นรัฐบาลเฉพาะกิจเพื่อยุบสภาหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง |
8 | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 | ชวน หลีกภัย | 18 | ความขัดแย้งภายในรัฐบาล |
9 | 28 กันยายน พ.ศ. 2539 | บรรหาร ศิลปอาชา | 19 | |
10 | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 | ชวน หลีกภัย | 20 | ปฏิบัติภารกิจตามเป้าหมายเสร็จแล้ว |
11 | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 | ทักษิณ ชินวัตร | 22 | เกิดวิกฤตการณ์การเมืองจากการชุมนุมขับไล่นายกรัฐมนตรี ต่อมาเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 |
12 | 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | 23 | วิกฤตการณ์ทางการเมือง |
13 | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร | 24 | ปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยกของชนในชาติ (วิกฤตการณ์ทางการเมือง) ต่อมาเกิดรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 |
14 | 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | ประยุทธ์ จันทร์โอชา | 25 | เพื่อคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองให้แก่ประชาชนผ่านการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป[5] |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.