การบุกครองอินโดจีนฝรั่งเศสของญี่ปุ่น(仏印進駐 Futsu-in shinchū) เป็นการเผชิญหน้าทางทหารในช่วงระยะสั้นระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่นและรัฐฝรั่งเศสในทางตอนเหนือของอินโดจีนฝรั่งเศส การต่อสู้ได้ดำเนินตั้งแต่วันที่ 22 ถึง 26 กันยายน ค.ศ. 1940 พร้อมกับยุทธการที่กวางสีตอนใต้ในสงครามจีน-ญี่ปุ่น
การบุกครองอินโดจีนฝรั่งเศส | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 และ สงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||||
ทหารแห่งกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้รุกเข้าสู่หลั่งเซิน ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 ในอินโดจีนฝรั่งเศส | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
ญี่ปุ่น | |||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
อาเกโตะ นากามูระ ทาคุมะ นิชิมูระ | มอว์ไรส์ มาร์ติน | ||||||||
กำลัง | |||||||||
36,000 คน | 3,000 คน ทหารเวียดนาม40,000คน | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
1000 เสียชีวิตและบาดเจ็บ[1] | 824 เสียชีวิต |
เป้าหมายหลักของญี่ปุ่นคือการขัดขวางต่อสาธารณรัฐจีนจากการนำเข้าอาวุธและเชื้อเพลิงผ่านทางอินโดจีนฝรั่งเศสที่ไปตามเส้นทางรถไฟสายคุนหมิง-ไฮฟอง จากท่าเรือไฮฟองของอินโดจีน ผ่านทางเมืองหลวงของฮานอยถึงเมืองคุนหมิงในยูนนานของจีน[2]
แม้ว่าจะมีการตกลงกันระหว่างรัฐบาลฝรั่งเศสและญี่ปุ่นก่อนการสู้รบ ผู้มีอำนาจไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์บนพื้นดินได้เป็นเวลาหลายวันก่อนที่ทหารจะหยุดยิง ตามข้อตกลงก่อนหน้านี้, ญี่ปุ่นได้รับอนุญาตให้ครองเมืองตังเกี๋ยในทางตอนเหนือของอินโดจีนและปิดกั้นจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เบื้องหลัง
ในช่วงต้นปี 1940 กองทัพของจักรวรรดิญี่ปุ่น ได้ลงมาถึงตอนใต้ของมณฑลกวางสีในเขตเมืองหลงชู ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทางหนึ่งของทางรถไฟสายคุณหมิง-ไฮฟอง โดยอยู่บริเวณเขตชายแดนกับเมืองพิงเซียง ซึ่งในตอนนั้นกำลังตัดทางรถไฟไปทางตะวันตกอันเป็นทางไปเมืองคุณหมิง ซึ่งทางรถไฟสายนี้เป็นทางที่สำคัญที่สุดที่รัฐบาลจีนจะสามารถติดต่อออกสู่ภายนอกได้อย่างปลอดภัยที่สุด
ในช่วงวันที่ 20 มิถุนายนปี 1940 ฝรั่งเศสเริ่มเพลี้ยพร้ำจากการบุกของเยอรมันเข้าไปทุกที ก่อนที่ในอีกไม่กี่วันต่อมารัฐบาลฝรั่งเศสออกเสียงส่งให้จอมพลฟีลิป เปแต็งขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีหลังการประกาศยอมแพ้ต่อนาซีเยอรมัน ซึ่งนี่นำไปสู่การล่มของสาธารณรัฐที่ 3 ชาวเมืองฝรั่งเศสส่วนมากยอมจำนนต่อเยอรมันแต่โดยดี ซึ่งกลุ่มรัฐบาลอาณานิคมตามที่ต่างๆ ก็ให้การสนับสนุนอำนาจของฟิลิป เปแต็งที่วีชี นำไปสู่การตั้งวิชีฝรั่งเศสนั่นเอง แต่ชาวฝรั่งเศสก็ไม่ได้ยอมจำนนต่อเยอรมันไปเสียหมด ชาวฝรั่งเศสส่วนหนึ่งอันนำโดยชาร์ล เดอ โกลได้หนีไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นหรือฝรั่งเศสเสรีที่อังกฤษ
การเจรจาระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่น-ฝรั่งเศส
ในวันที่ 19 มิถุนายน เมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้นาซีเยอรมันในสมรถูมิยุโรป จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ใช้โอกาสนี้ในการจะบุกอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส โดยจักรวรรดิญี่ปุ่นที่กำลังติดพันกับศึกที่จีนอยู่นั้นได้ยื่นข้อเสนอแกมบังคับไปให้ ฌอร์ฌ คาทรู ข้าหลวงใหญ่แห่งอินโดจีนของฝรั่งเศสให้ยกเลิกการขนส่งเสบียงและอาวุธผ่านทางรถไฟไปให้จีน รวมทั้งยังให้ทหารอีก 40 นายภายใต้การประจำการของพลเอกอิสซึกุ นิชิฮาระ เข้าไปตรวจสอบภายในรัฐด้วย อเมริกานั้นเมื่อทราบข่าวก็เตือนไปถึงข้าหลวงของอินโดจีนว่าญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรกับนาซีเยอรมัน การยอมทำตามอาจทำให้อินโดจีนของฝรั่งเศสสูญเสียอำนาจอธิปไตยไปได้ แต่ทว่ากองเรือและกองทัพบกของญี่ปุ่นก็จ่อเตรียมจะบุกเข้าไปทุกทีแล้ว แม้ฌ็อง เดอกูจะไม่อยากทำตามข้อเสนอของญี่ปุ่น แต่อาณานิคมนี้ก็ไม่สามารจะต่อกรกับการต่อสู้ระยะยาวได้ ฌ็อง เดอกูจึงต้องจำใจยอมทำตามคำขาดของญี่ปุ่นโดยรถไฟขบวนสุดท้ายที่ไปคุนหมิงนั้นเดินทางในวันที่ 20 หลังจากนั้นฌอร์ฌ คาทรูก็ลาออกจากตำแหน่งแทบจะในทันที
ฌ็อง เตอกูขึ้นมารับตำแหน่งข้าหลวงใหญ่แห่งอินโดจีนในเวลาต่อมา เขาพยายามจะดำเนินนโยบายโดยสานต่อกับสิ่งที่ข้าหลวงคนก่อนทำแต่ทว่ารัฐบาลจักรวรรดิญีปุ่นกลับยื่นคำขาดรอบที่สองเข้ามาอีก โดยการขอใช้ท่าเรือในทางใต้ของกวางโจวอันเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมอินโดจีนให้มันเป็นฐานทัพเรือของญี่ปุ่น รวมทั้งให้ปิดชายแดนกับจีนเต็มรูปแบบ ในช่วงนี้เป็นช่วงที่กองทหารของพลเอกนิชิฮาระเข้ามาที่กรุงฮานอยพอดี ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกที่ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเขานั้นมาทำไมแม้แต่ตัวของเขาเองก็ยังไม่รู้เหมือนกัน แต่เรื่องนี้ดูเหมือนจะไม่ไดแป็นที่สนใจมากเท่าไหร่ เพราะเมื่อข้อเสนอครั้งที่สามถูกส่งมาถึงมือของเตอกูมันคือการคุกคามอธิปไตยของฝรั่งเศสในภูมิภาคอินโดจีนชัดๆ เพราะคำขาดนี้คือการที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีสิทธิ์ในการตั้งฐานทัพอากาศภายในอินโดจีนได้
ภายในรัฐบาล เตอกูพยายามที่จะโน้มน้าวกับคณะรัฐบาลให้ต่อต้านการเข้ามาและคำขาดของญี่ปุ่น แม้ลึกๆแล้วเขาเองก็เชื่อว่ารัฐบาลอาณานิคมไม่สามารถเอาชนะและหยุดยั้งการรุกรานของญี่ปุ่นได้ แต่เขาก็เชื่อว่า การเจรจาที่เข้มแข็งภายในรัฐบาลจะทำให้ญี่ปุ่นไม่กล้ารุกรานได้ ซึ่งรัฐบาลวิชีนั้นก็ได้ให้คำปรึกษาแกเขาในฐานะผู้นำรัฐบาลอาณานิคมให้ต่อต้านการเข้ามาของญี่ปุ่น โดยให้เหตุผลว่าอินโดจีนยังมีสหรัฐที่คอยสนับสนุนกำลังทหารรวมทั้งการโจมตีจากเครื่องบินอยู่ อีกทั้งยังมีกองทหารต่างด้าวที่มาจากจิบูติประจำการอยู่ในอินโดจีนกว่า 4000 ชีวิต ทำให้ที่อินโดจีนนั้นมีกองกำลังทหารกว่า 32,000 นาย จำนวนนี้ยังไม่รวมทหารจ้างและทหารที่ถูกส่งมาช่วยอีกกว่า 17,000 นายอีก เพียงแต่กองกำลังยุทโธปกรณ์ไปจนถึงกองกำลังทหารเองไม่ได้มีความพร้อมในการทำสงครามมากนัก
ในวันที่ 30 สิงหาคม รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น โยซึเกะ มัตซึกะ ได้ตกลงในข้อเสนอที่ตัวแทนรัฐบาลฝรั่งเศสเสนอมาในการหารือกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยญี่ปุ่นอ้างว่าจะขอใช้อินโดจีนของฝรั่งเศสเป็นทางผ่านไปตลอดช่วงเวลาการทำสงครามกับจีน ซึ่งรัฐบาลทั้งคู่ต่างก็เห็นพ้องกันว่าควรให้คนที่อยู่ในอินโดจีนเป็นคนเจรจาดีกว่า เพราะจะสะดวกรวดเร็วและยังรู้ถึงรายละเอียดต่างๆภายในภูมิภาค และการเจรจาระหว่างตัวแทนทหารของทั้งคู่ก็เริ่มขึ้นที่ฮานอยในวันที่ 3 กันยายน (ตัวแทนของฝรั่งเศสคือ ผู้บัญชาการสูงงสุดของกองมหารอินโดจีน Maurice Martin ส่วนทางญี่ปุ่นเป็นพลเอกนิชิฮาระ)
ในช่วงที่การเจรจากำลังเกิดขึ้น เตอกูและมาร์ติน(Maurice Martin)ได้พยายามถามไปยังนาซีเยอรมันว่าพวกเขานั้นจงใจแทรกแทรงในคำขาดที่ญี่ปุ่นยื่นให้หรือเปล่า แต่รัฐบาลนาซีเยอรมันหาได้ตอบกลับมาไม่ นั่นทำให้ทางเตอกูรีบไปขอความช่วยเหลือจากทั้งอังกฤษและสหรัฐผ่านทางกงสุลแต่ละประเทศภายในฮานอย ซึ่งรวมถึงจีนเองด้วย เพื่อให้พวกเขาเข้ามาช่วยต่อสู้เพื่อป้องกันการรุกรานจากญี่ปุ่น
วันที่ 6 กันยายน ทหารจากกองพลทหารราบที่ 22 ของจักรวรรดิญีปุ่นได้ทำการบุกยึดเมืองหนานหนิงและใช้เมืองนั้นเป็นฐานที่มั่น โดยหนานหนิงนั้นเป็นเมืองชายแดนที่อยู่ติดกับเมืองด่ง ด๋าง(Đồng Đăng)ของเวียดนาม โดยกองพลทหารราบที่ 22 นี้เป็นกองทหารย่อยในสังกัดกองทัพญี่ปุ่นในเขตจีนตอนใต้ โดยกองทหารนี้เป็นกองทหารที่ขึ้นชื่อในเรื่องความรุนแรงแถมยังเคยต่อสู้แบบที่เกิดที่มุกเดนมาแล้ว เหตุการการยึดเมืองหนานหนิง และส่วนหนึ่งของกองทหารพยายามลุกล้ำเข้ามาในด่ง ด๋างทำให้เกิดวิกฤติในเมืองขึ้น ฌ็อง เตอกูใช้การกระทำของญี่ปุ่นนี้ในการตัดจบการเจรจราที่กำลังดำเนินไปด้วยดีในวันที่ 18 กันยายน พลเอกนิชิฮาระได้ยื่นคำขาดต่อเตอกูว่าจะบุกเข้ามาโดยไม่สนข้อตกลงใดๆ หากยังไม่ทำเจรจาต่อ ภายในเวลา 22.00 น.ของวันที่ 22 กันยายน จากเหตุการณ์นี้เตอกูได้สั่งให้มีการลดกองทหารญีปุ่นที่ประจำการในอินโดจีนให้เหลือน้อยที่สุด
7 ชั่วโมงครึ่งก่อนเส้นตายในคำขาด รัฐบาลอินโดจีนอนุมัติการประจำการของทหารญี่ปุ่น 5000 นายที่ตั๋งเกี๋ยเหนือแม่น้ำแดง รวมทั้งยังอนุญาตให้ใช้สนามบิน 4 สนามบินที่ตั้งอยู่ที่นั่น เพื่อย้ายกำลังพลอีกกว่า 25,000 นายจากอินโดจีนไปยังยูนนาน รวมทั้งส่งกองพลทหารราบที่ 22 ผ่านทางไฮฟองเพื่อไปที่ต่างๆของจีนต่อ ทว่ากองทัพญี่ปุ่นก็เตรียมการล่วงหน้าด้วยการเตรียมกองกำลังสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกประจำการเตรียมที่เกาะไฮหนานไว้แล้ว เหลือก็แค่รอเวลาที่กำหนดในการบุกเท่านั้น
เปิดฉากรุกราน
ข้อตกลงที่ได้จากการเจรจาระหว่างสองตัวแทน ถูกกระจายสื่อสารไปตามหน่วยงานต่างๆของญี่ปุ่นในช่วง 21.00 น. อันเป็นหนึ่งชั่วโมงก่อนจะถึงเส้นตายในคำขู่ โดยคาดว่ากองทหารกลุ่มแรกจะออกจาประเทศไปโดยเรือ แต่ถึงกระนั้นผลของการเจรจานี้ไม่ได้รับการยอมรับจากกองพลทหารราบที่ 22 เพราะเห็นว่าตัวเองไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากการเจรจา ร่วมทั้งยังสั่งให้กองทหารราบที่ 5 ใต้ผู้บังคับบัญชาพลโทอาเคโตะ นากามูระ ส่งกองกำลังของตนข้ามชายแดนมายังด่ง ด๋างในช่วงสี่ทุ่ม
เมื่อกองกำลังของญี่ปุ่นบุกเข้ามายังด่ง ด๋าง ทหารฝรั่งเศสจึงเริ่มต่อสู้กับญี่ปุ่นจนการต่อสู้ลุกลามไปทั่วเมืองต่างๆทั่วทั้งชายแดน ที่หลั่งเซินอันเป็นเมืองหลักที่ประจำการของทหารฝรั่งเศสส่วนมากในชายแดนอินโดจีนได้ถูกกองทหารญี่ปุ่นล้อมเมืองเอาไว้ในทุกด้าน เมื่อไม่เห็นโอกาสชนะพวกเขาเลยยอมจำนนในวันที่ 25 กันยายน โดยก่อนจะยอมแพ้ก็มีการทำลายอาวุธของตัวเอง อย่างตัวปิดลูกกระสุนปืนใหญ่ของปืนใหญ่ 150 mm ก็ถูกทิ้งลงแม่น้ำเพื่อไม่ให้ญีปุ่นใช้ ซึ่งเป็นิวิธีเดียวกับที่ฝรั่งเศสเคยใช้กับจีนในตอนทำสงครามจีน-ฝรั่งเสสในปี 1884-1885
ในช่วงที่มีการต่อสู้ตามตะเข็บชายแดนอยู่นั้น รัฐบาลอินโดจีนประท้วงรัฐบาลญี่ปุ่นถึงการละเมิดการเจรจาของกองทัพญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นไม่ได้ตอบโต้เรื่องนี้ พวกเขาใช้ฝูงบินที่ประจำการอยู่บนกองเรือที่มารออยู่ในอ่าวตังเกี๋ยอยู่ก่อนแล้วในการโจมตีเมืองท่า และมีเป้าหมายสำคัญในการยกพลขึ้นบกบนแผ่นดินเวียดนาม แน่นอนว่ารัฐบาลอินโดจีนไม่ยอมรับเรื่องนี้แน่ แต่พวกเขาก็ไม่สามารต้านทานกับกองทัพของจักรวรรดิญีปุ่นได้ พวกเขาสามารถขึ้นฝั่งได้ที่เมืองด่งถัก ทางตอนใต้ของไฮฟอง ซึ่งในช่วงบ่ายของวันนั้นก็มีกองกำลังกว่า 4500 คน และรถถังอีกกว่า 12 คันเข้ามาอยู่ในดินแดนเวียดนามแล้ว
การต่อสู้ได้จบลงในเย็นของวันที่ 26 กันยายน โดยญี่ปุ่นได้ยึดฐานทัพอากาศไกแลมนอกกรุงฮานอย ยึดเมืองตามแนวเส้นทางรถไฟไฮฟองตามตะเข็บชายแดน รวมทั้งยังตรึงกำลังพลไว้ที่เมืองท่าไฮฟอง และฮานอยไม่ต่ำกว่า 500 คนในแต่ละเมือง
เหตุการณ์สืบเนื่อง
หลังการต่อสู้ที่เกิดขึ้นในเมืองหลั่งเซิน รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศคำขอโทษพร้อมส่งเมืองและเหล่านักโทษให้กลับสู่อาณัติของรัฐบาลอาณานิคมอีกครั้งในวันที่ 5 ตุลาคม
การจะบุกลึกลงไปทางตอนใต้ของอินโดจีนเป็นสิ่งที่ญีปุ่นยังไม่สามารถกระทำได้ในทันที เพราะกองกำลังของฝรั่งเศสถูกส่งไปเสริมกำลังอีกกว่า 4,000 นาย รวมทั้งการบุ่มบ่ามโจมตีเข้าไปอาจจะกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่าง ญี่ปุ่น อังกฤษ อเมริกาได้ ทำให้ญี่ปุ่นต้องให้ความสนใจปัญหาของโซเวียตที่กำลังลุกล้ำเข้ามาในเขตอิทธิพลแมนจูเรียของญีปุ่นก่อน แต่ว่าจุดเปลี่ยนของการศึกนี้ก็เกิดขึ้นเมื่อกองทัพนาซีเปิดฉากจู่โจมโซเวียตในปฏิบัติการบาบารอสซ่า นั่นทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดการลุกลงไปในเอเชียเพื่อแย่งชิงทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องด้วยการที่สหรัฐไม่ยอมส่งทรัพยากรโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "น้ำมัน" มาให้กับญี่ปุ่นในการทำศึกกับจีน รวมทั้งยีงปิดเส้นทางการค้าของญีปุ่นนั่นทำให้ญี่ปุ่นต้องใช้มาตรการเพื่อแย่งชิงทรัพยากร โดยในช่วงการบุกอินโดจีนนั้นกองกำลังกว่า 140,000 นายได้เริ่มบุกยึดอินโดจีนตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 1941 แม้ชาวฝรั่งเศสจะยังคงมีอิทธิพลในรัฐบาลอาณานิคมแต่หลังจากการรัฐประหารของญี่ปุ่นในปี 1945 ทำให้พวกพนักงานชาวฝรั่งเศสส่วนมากโดนปลด และแทนที่ด้วยชาวญี่ปุ่นแทน
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.