การดับเพลิง เป็นการกระทำของความพยายามที่จะป้องกันการแพร่กระจายและดับไฟที่ไม่พึงประสงค์ที่สำคัญในอาคาร, ยานพาหนะ, ป่าไม้ ฯลฯ โดยนักผจญเพลิงระงับไฟเพื่อปกป้องชีวิตทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม[1]

Thumb
นักผจญเพลิงที่ห้อมล้อมเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในคอนแวนต์ร้างที่ประเทศแคนาดา ค.ศ. 2006

นักผจญเพลิงมักได้รับการฝึกอบรมทางเทคนิคในระดับสูง[1][2] เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการดับเพลิงทางโครงสร้างและการดับเพลิงป่า การฝึกอบรมเฉพาะด้านประกอบด้วยการดับเพลิงด้วยเครื่องบิน, การดับเพลิงบนเรือ, การดับเพลิงทางอากาศ, การดับเพลิงทางทะเล และการดับเพลิงระยะประชิด

หนึ่งในอันตรายที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการดับเพลิงคือสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษที่สร้างขึ้นโดยวัสดุที่ติดไฟได้ ความเสี่ยงที่สำคัญสี่ประการ ได้แก่ ควัน, การขาดออกซิเจน, อุณหภูมิที่สูงขึ้น และบรรยากาศที่เป็นพิษ[3] อันตรายเพิ่มเติม ได้แก่ การล้มและการวิบัติโครงสร้างที่สามารถทำให้ปัญหารุนแรงขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ เพื่อต่อสู้กับความเสี่ยงเหล่านี้ นักผจญเพลิงจึงแบกเครื่องช่วยหายใจชนิดถังติดตัว

ขั้นตอนแรกในปฏิบัติการดับเพลิงคือการสำรวจเพื่อค้นหาต้นกำเนิดของไฟและเพื่อระบุความเสี่ยงเฉพาะ

ไฟสามารถดับได้ด้วยน้ำ, การกำจัดน้ำมันเชื้อเพลิง หรือกำจัดสารที่ทำให้สารอื่นรวมตัวกับออกซิเจน หรือการยับยั้งเปลวไฟทางเคมี

ประวัติ

Thumb
ปฏิบัติการของนักดับเพลิงบัลแกเรีย ในคริสต์ทศวรรษ 1930
Thumb
ปั๊มมอเตอร์ของหน่วยดับเพลิงออตตาวา ในออตตาวา รัฐออนแทรีโอ ภาพนี้ถ่ายโดยทอปลีย์สตูดิโอ เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1915

นักดับเพลิงที่รู้จักแรกสุดอยู่ในเมืองโรม โดยในคริสตศักราช 60 จักรพรรดิเนโรได้ก่อตั้งเหล่าวีจิลส์ (Vigiles) เพื่อปกป้องกรุงโรมหลังจากเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ ที่ประกอบด้วยคนในปกครอง 7,000 คนพร้อมถังและขวานซึ่งทำหน้าที่ดับเพลิง รวมถึงทำหน้าที่เป็นตำรวจ[4]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.