กัลกิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กัลกิ

กัลกิ (กัลกะ, กลฺกิ; สันสกฤต: कल्कि) บางครั้งเรียก กัลกิน[1] เป็นอวตารที่ 10 ตามคำทำนาย และอวตารสุดท้ายของพระวิษณุในศาสนาฮินดู ตามจักรวาลวิทยาของไวษณพ กัลกิถูกกำหนดให้ปรากฏตัวในตอนท้ายของกลียุค ยุคสุดท้ายของสี่ยุคในวัฏจักรการมีอยู่ (Krita) การมาของพระองค์ถือเป็นจุดสิ้นสุดกลียุคและเป็นจุดเริ่มต้นขอสัตยยุค ยุคที่ดีที่สุด ก่อนที่จักรวาลจะสลายไปในที่สุด (มหาประลัย)[1][2]

ข้อมูลเบื้องต้น กัลกิ, ส่วนเกี่ยวข้อง ...
กัลกิ
ส่วนหนึ่งของ ทศาวตาร
Thumb
กัลกิในแบบของราชา รวิ วรรมา
ส่วนเกี่ยวข้องลัทธิไวษณพ
อาวุธNandaka หรือ Ratnamaru (ดาบ)
พาหนะเทวทัตต์ ,การสำแดงของครุฑหรือม้าเทพ[1][2][3]
เทศกาลกัลกิชยันตี[4]
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองPadmavati[5] and Ramā[6]
บุตร - ธิดาJaya กับ Vijaya (จาก Padmavati) (อุปปุราณะ)[7] Meghamala กับ Balahaka (จาก Rama) (กัลกิปุราณะ)[8]
บิดา-มารดาVishnuyashas (บิดา),[9] Sumati (มารดา)[10]
ปิด
ข้อมูลเบื้องต้น ลำดับทศาวตาร, ก่อนหน้า ...
ปิด

ในปุราณะ กัลกิถูกวาดเป็นอวตารผู้ที่จะมาฟื้นคืนการมีตัวตนด้วยการยุติช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดของอธรรม และฟื้นฟูธรรม พระองค์ได้รับการพรรณาว่าขี่ม้าขาวนามว่า เทวทัตต์ (Devadatta) และถือดาบเพลิง[2] การพรรณนาถึงกัลกินั้นแตกต่างกันไปในแต่ละปุราณะ และเรื่องเล่าของพระองค์ยังพบได้ในศาสนาอื่น ๆ ด้วย เช่นใน Kalachakra-Tantra ของศาสนาพุทธแบบทิเบต[11][12][13] และตำราซิกข์[14]

ศัพทมูลวิทยา

พระนามกัลกิมาจากคำว่า กาล ที่หมายถึง "เวลา" (กลียุค)[15] คำเดิมอาจหมายถึง Karki (ขาว, จากม้า) ที่แผลงไปเป็นกัลกิ ข้อเสนอนี้ได้รับการสนับสนุนจากเอกสารตัวเขียนมหาภารตะเท่าที่ค้นพบสองฉบับ (เช่น เอกสารตัวเขียน G3.6) บทโองการสันสกฤตกล่าวถึงการจุติของ Karki[1]


Thumb
กัลกิ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.