คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

กองพันทหารม้าที่ 3 กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์

หน่วยทหารม้าในประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Remove ads

กองพันทหารม้าที่ 3 กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหน่วยทหารม้ารักษาพระองค์ซึ่งขึ้นตรงต่อกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ในกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์

ข้อมูลเบื้องต้น ประจำการ, ประเทศ ...
Remove ads
Remove ads

ประวัติหน่วย

สรุป
มุมมอง

ชื่อของ "กองพันทหารม้าที่ 3" (ม.พัน.3 รอ.) ได้ก่อกำเนิดขึ้นมา 2 ระยะ กล่าวคือ ในครั้งแรกเป็นการพัฒนาและเปลี่ยนชื่อจาก "กรมทหารบกม้านครราชสีมาของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ" มาเป็น "กองพันทหารม้าที่ 3 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ" เมื่อ พ.ศ. 2470 มีที่ตั้งอยู่ในค่ายสุรนารี ตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยมีพันตรีหลวงรณเร่งรบ (เยื้อน ม้าเร็ว) เป็นผู้บังคับกองพันท่านแรก และได้ใช้นามหน่วยนี้ติดต่อกันเรื่อยมาเป็นเวลา 26 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2495 กองพันทหารม้าที่ 3 จึงแปรสภาพเป็น "กองพันทหารม้าที่ 6" ชื่อของ "กองพันทหารม้าที่ 3" จึงได้สลายไปในระยะแรก

นาม "กองพันทหารม้าที่ 3" ได้ก่อกำเนิดอีกครั้งในปีเดียวกัน (พ.ศ. 2495) นั่นเอง แต่เป็นคนละหน่วยกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น กล่าวคือ เป็นหน่วยที่แปรสภาพจาก "กองพันรถรบที่ 1" มาเป็น "กองพันทหารม้าที่ 3 ยานเกราะ" โดยมีสถานะเป็นหน่วยขึ้นตรงของ "กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ฯ" (ม.1 รอ.) เรียกนามย่อว่า "ม.1 รอ.พัน.3" มีที่ตั้งอยู่ ณ ถนนทหาร เกียกกาย แขวงถนนนครชัยศรี เขตดุสิต กทม. เมื่อครั้งแรกที่แปรสภาพ "ม.1 รอ. พัน.3" หน่วยยังคงใช้ยานเกราะของกองพันรถรบเดิมเป็นยานรบหลักเรื่อยมาจนกระทั่งปี พ.ศ. 2503 จึงได้แปรสภาพเป็นหน่วยในโครงการช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐอเมริกามีสภาพเป็น "กองพันทหารม้า (ยานยนต์)" โดยใช้รถเกราะและรถถังแบบเก่าๆ ซึ่งตกค้างมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นยานรบหลัก

ต่อมา พ.ศ. 2504 มีการปรับปรุงแก้ไขอัตราอีกครั้งโดยรวมเอา "ม.1 รอ. พัน.2" และ "ม.1 รอ. พัน.3" เป็นกองพันเดียวกัน เรียกว่า "ม.1 รอ. พัน.3" ใช้ อจย.17 - 55 ก. ลงวันที่ 26 ก.ค. 2503 (กองพันทหารม้ายานยนต์) ตามคำสั่งกองทัพบกที่ 91/4957 ลงวันที่ 25 เม.ย. 2504 ใช้ยานยนต์ล้อ ตามโครงการช่วยเหลือทางการทหารที่ซ่อมสร้างจากประเทศญี่ปุ่น และได้ใช้ยานยนต์ประเภทนี้เป็นยานรบหลักอยู่เป็นเวลาถึง 15 ปี

ต่อมา พ.ศ. 2519 มีเปลี่ยนแปลงอัตราการจัดหน่วยใหม่มาใช้ อจย.17-55 ก. ลงวันที่ 19 พ.ค. 2518 หรือ พัน.ม.(ยานยนต์) ใช้รถเกราะคอมมานโด v - 150 ซึ่งมีทั้งแบบติดตั้งปืนใหญ่ ขนาด 90 มิลลิเมตร ,แบบลำเลียงพล และแบบ ติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 81 มิลลิเมตร เป็นยานรบหลัก ตามคำสั่งกองทัพบก ที่ 58/19 ลงวันที่ 6 ก.ค. 2519

ต่อมา พ.ศ. 2531 กองพลทหารม้าที่ 2 รายงานขออนุมัติกองทัพบกแปรสภาพ/ปรับการจัดไปเป็น "กองพันทหารม้า-บรรทุกยานเกราะ" (พัน.ม.(ก.)) โดยใช้ อจย.17-25 พ. ลงวันที่ 10 มิ.ย. 2528 ตามคำสั่งกองทัพบก ที่ 212/2531 ซึ่งใช้รถสายพานลำเลียงพลแบบ 85 (รสพ.85 ประกอบด้วย รถสายพานบังคับการ, รถสายพานติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 82 มิลลิเมตร, รถสายพานติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 120 มิลลิเมตร) เป็นยานรบหลักเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

Remove ads

ประวัติธงชัยเฉลิมพลของหน่วย

กองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล 2 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานธงชัยเฉลิมพลแก่กองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2496 โดย พ.ต. สมศักดิ์ ปัญจมานนท์ ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 3 เป็นผู้รับพระราชทาน

ครั้งที่ 2 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารเป็นผู้แทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานธงเฉลิมพลให้กับหน่วยทหาร ณ พระบรมมหาราชวัง ซึ่งกองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ ฯ ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล (ผืนใหม่) เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2549 โดย พ.ท.ธัชพล เปี่ยมวุฒิ ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ฯ (ในขณะนั้น) เป็นผู้รับพระราชทาน

Remove ads

เกียรติประวัติของหน่วย

สรุป
มุมมอง
  • พ.ศ.2471 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระมหากรุณาดำรงตำแหน่ง "ผู้บัญชาการพิเศษ" เพื่อเป็นเกียรติยศแห่ง “กองพันทหารม้าที่ 3” ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล
  • พ.ศ.2496 : ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพลจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2496 โดย พ.ต. สมศักดิ์ ปัญจมานนท์ ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 3 เป็นผู้รับพระราชทาน
  • พ.ศ.2523 : กองทัพบกได้รายงานขอพระราชทานสถาปนาให้ “กองพันทหารม้าที่ 3” (ม.พัน.3) เป็นหน่วยรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ สร 0201/10520 ลงวันที่ 4 มิ.ย. 2523 ได้นำกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท จึงแปรสภาพหน่วย “กองพันทหารม้าที่ 3” (ม.พัน.3) เป็น กอง “กองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” (ม.พัน.3 รอ.) ประดับพระปรมาภิไธยย่อ “รร.6” ไว้ที่หน้าอกเสื้อเบื้องขวา แจ้งความ ณ วันที่ 7 ก.ค.2523 จนถึงปัจจุบัน
  • พ.ศ.2539 : จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์เข้าร่วมพิธีสวนสนามแสดงแสนยานุภาพกองทัพไทยเนื่องในวโรกาสมหามงคล พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เมื่อ 23 มิ.ย.39

โดยมี พ.ท.วรายุทธ ด้วงกลัด ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ฯ (ในขณะนั้น) เป็นผู้ควบคุม

  • พ.ศ.2542 : จัดกำลัง 1 หมู่ธง เข้าร่วมพิธีสวนสนามสาบานตนของทหารรักษาพระองค์ฯ ณ ลานพระราชวังดุสิต ในวโรกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงพระเจริญพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา โดยมี พ.ท.วรายุทธ ด้วงกลัด ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ฯ (ในขณะนั้น) เป็นผู้ควบคุม
  • พ.ศ.2549 : พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารเป็นผู้แทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานธงเฉลิมพลให้กับหน่วยทหาร ณ พระบรมมหาราชวัง ซึ่งกองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ ฯ ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล (ผืนใหม่) เมื่อวันที่ 8 พ.ย.2549 โดยมี พ.ท.ธัชพล เปี่ยมวุฒิ ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ฯ (ในขณะนั้น) เป็นผู้รับราชทาน
  • พ.ศ.2549 : จัดกำลัง 1 หมู่ธง เข้าร่วมพิธีสวนสนามสาบานตนของทหารรักษาพระองค์ ณ ลานพระราชวังดุสิต ในวโรกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยมี พ.ท.ธัชพล เปี่ยมวุฒิ ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ฯ (ในขณะนั้น) เป็นผู้ควบคุม
  • พ.ศ.2553 : สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงเยี่ยมทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติภารกิจ ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ซึ่งมีกำลังพลของหน่วยได้รับบาดเจ็บ ได้รับพระราชทานวโรกาสเฝ้ารับเสด็จฯ จำนวน 1 นายคือ พ.ท.นพสิทธิ์ สิทธิพงศ์โสภณ ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ฯ (ในขณะนั้น)
  • พ.ศ.2554 : จัดกำลัง 1 หมู่ธง เข้าร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ ต่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบรมวงศ์ ณ พระบรมมหาราชวังเนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมี พ.ท.วชรนันท์ กองศรี ผู้บังคับกองพัน เป็นผู้ควบคุม

การปฏิบัติการรบ

  • พ.ศ.2483 : กองพันทหารม้าที่ 3 โดยการนำของ พ.ต.หลวงชำนาญจักรศิลป์ผู้บังคับกองพัน (ในขณะนั้น) ได้ออกปฏิบัติราชการสนามกรณีพิพาทอินโดจีน ณ อำเภอเดชอุดม และอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ.2484 : กองพันทหารม้าที่ 3 เป็นกำลังส่วนหนึ่งของ กรมทหารม้าเฉพาะกิจที่ 35 (ม.35) ซึ่งได้รับมอบภารกิจให้ทำการลาดตระเวนและตรึงกำลังข้าศึกมิให้ล่วงล้ำแนวชายแดน บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมี พ.ต.หม่อมหลวงสุบรรณเสนีย์ เป็นผู้บังคับกองพัน (ในขณะนั้น)
  • พ.ศ.2485 : กองพันทหารม้าที่ 3 โดยการนำของ พ.ต. จรัญ วาทยานนท์ ผู้บังคับกองพัน (ในขณะนั้น) เป็นส่วนหนึ่งของกองพลทหารม้า (พล.ม.) มีภารกิจในการเข้าตียึดเมืองมะ เมืองลา ในกรณีพิพาทอินโดจีน
  • พ.ศ.2494 : กองพันทหารม้าที่ 3 ส่งกำลัง 1 กองร้อยไปร่วมปราบจลาจล ภายในพระนคร (กรุงเทพมหานคร) โดยมี ร.ท. อุดม อุณหเลขกะ เป็นผู้บังคับกองร้อย (ผบ.ร้อย.)
  • พ.ศ.2512 : กองพันทหารม้าที่ 3 จัดกำลัง 1 กองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะ (พัน.ม. (ก.)) ด้วยการสนธิกำลังโดยมี พ.ท. ชัยชนะ ธารีฉัตร ผบ.ม.1 รอ. พัน.3 เป็นผู้บังคับกองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะ (ผบ.พัน.ม.ยานเกราะ) กองพลทหารอาสาสมัคร (พล.อสส.) ร่วมปฏิบัติการรบ ณ ประเทศเวียดนามใต้
  • พ.ศ.2522-2528 : กองพันทหารม้าที่ 3 จัดกำลังสมทบหน่วยเฉพาะกิจกองพลทหารม้าที่ 2 ปฏิบัติการผลักดันและตรึงกำลังกรณีกองกำลังต่างชาติล่วงล้ำอธิปไตยและบูรณภาพดินแดนแห่งราชอาณาจักรบริเวณพื้นที่ด้านตะวันออก จังหวัดปราจีนบุรี
  • พ.ศ.2545-2554 : กองพันทหารม้าที่ 3 จัดกำลังสมทบกองทัพภาคที่ 3 ในการตรึงกำลัง ปกป้องอธิปไตยแห่งราชอาณาจักร และจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน ด้านจังหวัดตาก จังหวัดเชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่

การปฏิบัติงานความมั่นคงภายใน

  • พ.ศ.2546/2547/2552 : กองพันทหารม้าที่ 3 จัดกำลังสมทบกองอำนวยรักษาความมั่นคงภายใน กองพันทหารม้าที่ 3 ในการปฏิบัติการการสกัดกั้นปัญหายาเสพติดบริเวณพื้นที่ชายแดน ด้านจังหวัดเชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ.2548 : กองพันทหารม้าที่ 3 จัดกำลังสมทบศูนย์เสริมสร้างสันติสุข กองทัพภาคที่ 4 ในการปฏิบัติภารกิจรักษาความมั่นคงภายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จังหวัดปัตตานี
  • พ.ศ.2551 : กองพันทหารม้าที่ 3 จัดกำลังฝึกปฏิบัติภารกิจรักษาความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ บริเวณอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
  • พ.ศ.2554-2555 : กองพันทหารม้าที่ 3 จัดกำลังสมทบ กกล.ผาเมือง กองทัพภาคที่ 3 ในการปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศ ณ จังหวัดเชียงใหม่

ภารกิจพิเศษ

  • การถวายความปลอดภัยให้กับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ หน่วย และรอง ผบ.หน่วย ปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์เวร (รอ.) จัดกำลังปฏิบัติหน้าที่กองกำลังรักษาการณ์ภายนอก พระบรมมหาราชวัง
Remove ads

เครื่องแบบเต็มยศรักษาพระองค์ของหน่วย

สรุป
มุมมอง

เครื่องแบบเต็มยศรักษาพระองค์ในโอกาสปกติ

ข้อมูลเพิ่มเติม ประเภทเครื่องแบบ, ภาพด้านหน้า ...

เครื่องแบบเต็มยศรักษาพระองค์ในโอกาสขี่ม้า

ข้อมูลเพิ่มเติม ประเภทเครื่องแบบ, ภาพ ...
Remove ads

อ้างอิง

Loading content...

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads