Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ครุป[5] หรือ กล่องเสียงอักเสบอุดกั้น (อังกฤษ: croup, acute obstructive laryngitis) เป็นการติดเชื้อในระบบหายใจอย่างหนึ่งที่มักเกิดจากไวรัส[1] ภาวะนี้จะทำให้ท่อลมบวม ขัดขวางการหายใจ และทำให้เกิดอาการสำคัญได้แก่ การไอเสียงก้องคล้ายเสียงสุนัขเห่า การมีเสียงฮี้ด (stridor) ขณะหายใจ และเสียงแหบ[1] ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการไข้และน้ำมูกไหลร่วมด้วย[1] อาการของโรคมีทั้งเป็นเล็กน้อย ปานกลาง และรุนแรง[2] มักเริ่มเป็นหรือเป็นมากเวลากลางคืน[1][2] ระยะเวลาของการเจ็บป่วยรวมแล้วประมาณ 1–2 วัน[6]
ครุป | |
---|---|
ชื่ออื่น | กล่องเสียงและท่อลมอักเสบ (laryngotracheitis), กล่องเสียงอักเสบระดับใต้สายเสียง(subglottic laryngitis), กล่องเสียงอักเสบอุดกั้น (obstructive laryngitis), กล่องเสียงท่อลมและหลอดลมอักเสบ (laryngotracheobronchitis) |
ลักษณะตีบแคบบริเวณฝาปิดกล่องเสียง (steeple sign) ในภาพถ่ายรังสีบริเวณคอในท่าตรงของผู้ป่วยเด็กที่มีอาการกล่องเสียงอักเสบอุดกั้น | |
สาขาวิชา | กุมารเวชศาสตร์ |
อาการ | ไอเสียงก้อง, หายใจเสียงดัง, มีไข้, คัดจมูก[1] |
ระยะดำเนินโรค | ส่วนใหญ่หายใน 1–2 วัน, บางรายอาจเป็นนานถึง 7 วัน[2] |
สาเหตุ | ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส[1] |
วิธีวินิจฉัย | วินิจฉัยจากอาการ[3] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ, สิ่งแปลกปลอมในทางหายใจ, ท่อลมอักเสบจากแบคทีเรีย[3][4] |
การป้องกัน | การให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ[4] |
ยา | สเตอรอยด์, เอพิเนฟรีน[3][4] |
ความชุก | ร้อยละ 15 ของเด็กในบางช่วง[3][4] |
การเสียชีวิต | พบน้อย[1] |
ไวรัสที่เป็นสาเหตุของครุปมีหลายอย่าง ที่พบบ่อยได้แก่เชื้อไวรัสพาราอินฟลูเอนซา และไวรัสอินฟลูเอนซา (หรือเชื้อไข้หวัดใหญ่)[1] แบคทีเรียก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้แต่พบได้น้อยกว่า[4] การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำโดยอาศัยประวัติและผลการตรวจร่างกาย ก่อนวินิจฉัยจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกเอาโรคอื่นที่อันตรายกว่า เช่น ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ หรือสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ ออกไปให้ได้ก่อน[3] การตรวจทางห้องปฏิบัติการต่าง ๆ เช่น การตรวจเลือด การถ่ายภาพรังสี หรือการเพาะเชื้อ ส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นนัก[3]
เชื้อที่เป็นสาเหตุของครุปบางส่วนป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่ และเชื้อคอตีบ[4] การรักษาที่สำคัญคือการให้สเตอรอยด์ครั้งเดียว ซึ่งอาจให้กินหรือให้ฉีดก็ได้[1] ถ้าอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องใช้ยาเอพิเนฟรีนพ่นแบบฝอยละอองเข้าทางการหายใจ[1][7] ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงบางรายอาจจำเป็นต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล คิดเป็นประมาณ 1–5% ของผู้ป่วยทั้งหมด[8]
โรคนี้ค่อนข้างพบได้บ่อย เด็กประมาณ 15% จะเคยป่วยโรคนี้[3] ช่วงอายุที่พบบ่อยที่สุดคือระหว่าง 6 เดือน ถึง 5 ปี แต่บางครั้งก็พบได้ในเด็กโตถึงอายุ 15 ปี[2][3][8] พบในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิงเล็กน้อย[8] มักพบมากในฤดูใบไม้ร่วง[8] ในยุคก่อนที่จะมีการฉีดวัคซีนโรคนี้มักเกิดจากเชื้อคอตีบ และมักเป็นอันตรายถึงชีวิต[4][9] ปัจจุบันครุปจากเชื้อคอตีบพบได้น้อยมากเนื่องจากมีการให้วัคซีนโรคคอตีบอย่างกว้างขวาง[10]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.