Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (อังกฤษ: acute respiratory distress syndrome) หรือ ARDS เดิมเรียกว่า กลุ่มอาการหายใจลำบาก (อังกฤษ: respiratory distress syndrome, RDS) , กลุ่มอาการหายใจลำบากในผู้ใหญ่ (อังกฤษ: adult respiratory distress syndrome) หรือ shock lung เป็นภาวะการหายใจล้มเหลวชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยจะมีการอักเสบทั่วไปในเนื้อปอดอย่างรวดเร็ว[1] ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจลำบาก หายใจเร็ว และตัวเขียวได้[1] ผู้รอดชีวิตบางรายจะมีคุณภาพชีวิตที่ถดถอยลง[3]
กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (Acute respiratory distress syndrome) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Respiratory distress syndrome (RDS), adult respiratory distress syndrome, shock lung |
ภาพเอกซเรย์ปอดของผู้ป่วย ARDS แสดงให้เห็นรอยทึบแบบกระจกฝ้ากระจายทั่วปอดทั้งสองข้าง | |
สาขาวิชา | เวชบำบัดวิกฤติ |
อาการ | หายใจลำบาก, หายใจเร็ว, ตัวเขียวคล้ำ[1] |
การตั้งต้น | ภายใน 1 สัปดาห์[1] |
วิธีวินิจฉัย | สำหรับผู้ใหญ่: PaO2/FiO2 ratio of less than 300 mm Hg[1] สำหรับเด็ก: oxygenation index > 4[2] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | หัวใจวายเลือดคั่ง[1] |
การรักษา | การใช้เครื่องช่วยหายใจ, การใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด[1] |
พยากรณ์โรค | โอกาสเสียชวิต 35 - 50 %[1] |
ความชุก | ปีละ 3 ล้านคน[1] |
สาเหตุของภาวะนี้มีหลายอย่าง เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด ตับอ่อนอักเสบ การบาดเจ็บ ปอดอักเสบ และการสูดสำลัก[1] กลไกเบื้องหลังการเจ็บป่วยคือการเกิดการบาดเจ็บต่อเซลล์ปอดส่วนที่กั้นแบ่งถุงลม การทำงานผิดปกติของสารลดแรงตึงผิวในถุงลม การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเกินปกติ และภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ[4] ผลจากกลไกเหล่านี้ทำให้เนื้อปอดมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนก๊าซ (ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์) ลดลง[1] การวินิจฉัยภาวะนี้ในผู้ใหญ่อาศัยอัตราส่วน PaO2/FiO2 (อัตราส่วนระหว่างความดันออกซิเจนในหลอดเลือดแดงเทียบกับอัตราส่วนออกซิเจนในอากาศที่หายใจ) ที่น้อยกว่า 300 mmHg เมื่อตั้งค่าเครื่องช่วยหายใจให้ PEEP สูงกว่า 5 cmH2O แล้ว[1] นอกจากนี้ต้องตรวจว่าไม่ใช่ภาวะอื่นที่คล้ายกันคืออาการปอดบวมน้ำที่มีสาเหตุจากหัวใจ[3]
การรักษาที่สำคัญที่สุดคือการใช้เครื่องช่วยหายใจและรักษาภาวะอื่นที่เป็นสาเหตุของ ARDS[1] แนวทางช่วยหายใจที่เป็นที่แนะนำคือการใช้ปริมาตรหายใจต่ำ และความดันอากาศต่ำ[1] หากยังไม่เพียงพอสามารถใช้การระดมถุงลม (lung recruitment maneuver) และการใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อชนิดยับยั้งสารสื่อประสาทกับกล้ามเนื้อ (neuromuscular blocking agent)[1] หากยังไม่เพียงพออีกอาจใช้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนนอกร่างกาย (ECMO) เป็นทางเลือกได้[1] ผู้ป่วยภาวะนี้จะมีอัตราตายสูง อยู่ที่ 35-50%[1]
ทั่วโลกมีผู้ป่วย ARDS ประมาณ 3 ล้านรายต่อปี[1] ภาวะนี้ถูกบรรยายไว้ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1967[1] เดิมถูกเรียกชื่อว่า "adult respiratory distress syndrome" (กลุ่มอาการหายใจลำบากในผู้ใหญ่) เพื่อแยกจากกลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด ("infant respiratory distress syndrome") ปัจจุบันที่ประชุมนานาชาติได้มีมติให้เรียกโรคนี้ว่า "acute respiratory distress syndrome" เนื่องจากภาวะนี้สามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่[5] เกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้จะแตกต่างออกไปจากเกณฑ์ข้างต้น หากต้องการวินิจฉัยภาวะนี้ในผู้ป่วยเด็ก หรือผู้ป่วยในประเทศที่มีทรัพยากรจำกัด[3]
เกณฑ์การวินิจฉัย ARDS มีการเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างต่อเนื่องตามองค์ความรู้ในพยาธิสรีรวิทยาของโรคที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ มติที่ประชุมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติฉบับ ค.ศ. 2012 เป็นฉบับล่าสุด ได้ออก "นิยามเบอร์ลิน" เพื่อประกอบการวินิจฉัย ARDS[6][7] มีการเปลี่ยนแปลงคือ ขยายผู้ป่วยเข้านิยามให้กว้างขึ้น ไม่สนับสนุนให้ใช้คำว่า "ปอดเสียหายเฉียบพลัน" (acute lung injury) และนิยามระดับความรุนแรงของ ARDS ตามความรุนแรงของการลดลงของปริมาณออกซิเจนในเลือด[5]
นิยามของ ARDS ในผู้ใหญ่ ตามนิยามเบอร์ลิน ค.ศ. 2012 มีดังนี้
ทั้งนี้ นิยามเบอร์ลินฉบับ ค.ศ. 2012 เป็นการดัดแปลงเพิ่มเติมจากนิยามตามมติที่ประชุมฯ เมื่อ ค.ศ. 1994[8]
โดยภาพรวมแล้วผู้ป่วย ARDS มีพยากรณ์โรคที่ไม่ดีนัก โดยมีอัตราตายสูงถึง 40%[9] แม้ในผู้ที่รอดชีวิตก็อาจมีผลตามมาได้หลายอย่าง เช่น ออกกำลังกายได้ลดลง ผลต่อสภาพร่างกายและจิตใจ คุณภาพชีวิตลดลง เป็นต้น
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.