Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชีย เป็นกลุ่มย่อยของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดทั้งหมดราว 351 ล้านคน แพร่กระจายในบริเวณหมู่เกาะตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก และมีจำนวนเล็กน้อยในผืนแผ่นดินของทวีปเอเชีย ภาษามาลากาซีเป็นภาษาในกลุ่มนี้ที่อยู่ห่างไกลที่สุดใช้พูดบนเกาะมาดากัสการ์ในมหาสมุทรอินเดีย
กลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชีย | |
---|---|
ภูมิภาค: | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันออก, มหาสมุทรแปซิฟิก, มาดากัสการ์ |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | ออสโตรนีเซียน
|
ภาษาดั้งเดิม: | มลายู-พอลินีเชียดั้งเดิม |
กลุ่มย่อย: |
|
ISO 639-5: | poz |
กลอตโตลอก: | mala1545[1] |
กลุ่มภาษาบอร์เนียว
กลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชียตะวันตกอื่น (ภูมิศาสตร์)
กลุ่มภาษาฮัลมาเฮราใต้-นิวกินีตะวันตก
กลุ่มภาษาโอชีแอนิกตะวันตกสุด | |
กลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาโอชีแอนิก:
กลุ่มภาษาหมู่เกาะแอดมิรัลตีและแยป
กลุ่มภาษาเซนต์มาไทอัส
กลุ่มภาษาโอชีแอนิกตะวันตก
กลุ่มภาษาเตโมตู
กลุ่มภาษาโซโลมอนตะวันออกเฉียงใต้
กลุ่มภาษาโอชีแอนิกใต้
กลุ่มภาษาไมโครนีเชีย
กลุ่มภาษาฟีจี-พอลินีเชีย |
ลักษณะเฉพาะของกลุ่มภาษานี้คือมีแนวโน้มใช้การซ้ำคำทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อแสดงรูปพหูพจน์ การออกเสียงเป็นแบบง่าย ๆ ไม่ค่อยพบกลุ่มของพยัญชนะ เช่น str หรือ mpt ในภาษาอังกฤษ มีเสียงสระใช้น้อย ส่วนมากมีห้าเสียง
หลายทศวรรษที่ผ่านมา กลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชียถูกแบ่งเป็นกลุ่มตะวันตกและกลุ่มกลาง–ตะวันออก การแบ่งของกลุ่มตะวันตกเป็นการแบ่งโดยใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์โดยไม่มีความเกี่ยวพันกับหน่วยทางภาษาศาสตร์ ในปัจจุบันกลุ่มตะวันตกนี้จึงแบ่งเป็นกลุ่มนอกและกลุ่มในที่กลายเป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชียศูนย์กลาง กลุ่มในเรียกว่ากลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์ กลุ่มนอกเรียกว่า กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซี
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.