Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลีเซอรอล (อังกฤษ: glycerol) หรือ กลีเซอรีน (glycerine, glycerin) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรเคมีคือ C3H8O3 ลักษณะเป็นของเหลวหนืดไม่มีสี ไม่มีกลิ่น รสหวาน มีน้ำหนักโมเลกุล 92.1 g/mol และระดับความไวไฟ 1 ตาม NFPA 704 หรือต้องให้ความร้อนสูงก่อนจึงจะลุกติดไฟ[5][6] กลีเซอรอลถูกสกัดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1783 โดยคาร์ล วิลเฮ็ล์ม เชเลอ นักเคมีชาวสวีเดน และตั้งชื่อโดยมีแชล-เออแฌน เชฟเริล นักเคมีชาวฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1811[7][8]
| |||
ชื่อ | |||
---|---|---|---|
Preferred IUPAC name
Propane-1,2,3-triol | |||
ชื่ออื่น
Glycerin Glycerine Propanetriol 1,2,3-Trihydroxypropane 1,2,3-Propanetriol | |||
เลขทะเบียน | |||
3D model (JSmol) |
|||
ChEBI | |||
ChEMBL | |||
เคมสไปเดอร์ | |||
ดรักแบงก์ | |||
ECHA InfoCard | 100.000.263 | ||
เลขอี | E422 (thickeners, ...) | ||
IUPHAR/BPS |
|||
KEGG | |||
ผับเคม CID |
|||
UNII | |||
CompTox Dashboard (EPA) |
|||
InChI
| |||
SMILES
| |||
คุณสมบัติ | |||
C3H8O3 | |||
มวลโมเลกุล | 92.094 g·mol−1 | ||
ลักษณะทางกายภาพ | ของเหลวไม่มีสี | ||
กลิ่น | ไม่มีกลิ่น | ||
ความหนาแน่น | 1.261 g/cm3 | ||
จุดหลอมเหลว | 17.8 องศาเซลเซียส (64.0 องศาฟาเรนไฮต์; 290.9 เคลวิน) | ||
จุดเดือด | 290 องศาเซลเซียส (554 องศาฟาเรนไฮต์; 563 เคลวิน)[1] | ||
ผสมเข้ากันได้[2] | |||
log P | -2.32[3] | ||
ความดันไอ | 0.003 mmHg (50°C)[2] | ||
Magnetic susceptibility (χ) |
-57.06·10−6 cm3/mol | ||
ดัชนีหักเหแสง (nD) |
1.4746 | ||
ความหนืด | 1.412 Pa·s[4] | ||
เภสัชวิทยา | |||
A06AG04 (WHO) A06AX01, QA16QA03 (WHO) | |||
ความอันตราย | |||
NFPA 704 (fire diamond) | |||
จุดวาบไฟ | 160 °C (320 °F; 433 K) (closed cup) 176 °C (349 °F; 449 K) (open cup) | ||
NIOSH (US health exposure limits): | |||
PEL (Permissible) |
TWA 15 mg/m3 (total) TWA 5 mg/m3 (resp)[2] | ||
REL (Recommended) |
None established[2] | ||
IDLH (Immediate danger) |
N.D.[2] | ||
เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS) | JT Baker | ||
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
กลีเซอรอลเป็นสารพอลิออลชนิดน้ำตาลแอลกอฮอล์ที่มีอะตอมคาร์บอนเป็นแกนกลาง 3 อะตอม และเป็นโปรไครัล หรือสารที่โครงสร้างสามารถพัฒนาเป็นไครัลได้ การผลิตกลีเซอรอลมักได้จากไตรกลีเซอไรด์จากพืชและสัตว์ ทำปฏิกิริยาซาปอนิฟิเคชัน (saponification) กับโซเดียมไฮดรอกไซด์ ได้สบู่และกลีเซอรอล นอกจากนี้ยังสามารถสังเคราะห์ได้จากโพรพีลีนที่ทำปฏิกิริยาจนได้เอพิคลอโรไฮดริน และถูกไฮโดรไลซ์จนได้กลีเซอรอล[9] ในร่างกายใช้กลีเซอรอลเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์และฟอสโฟลิพิด เมื่อร่างกายใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงาน จะดึงกลีเซอรอลจากเนื้อเยื่อไขมันแล้วเปลี่ยนเป็นกลูโคสผ่านกระบวนการสร้างกลูโคสก่อนจะเข้าสู่กระแสเลือด[10]
กลีเซอรอลมีคุณสมบัติเป็นไฮโกรสโคปิก (hygroscopic) หรือสารที่สามารถดูดซึมหรือดูดซับความชื้นจากอากาศ จึงผสมเข้ากับน้ำได้ นอกจากนี้ยังละลายในแอซีโทนได้เล็กน้อย แต่ไม่ละลายในคลอโรฟอร์ม[11]
กลีเซอรอลเป็นสารที่มีพิษน้อย คือมีแอลดี 50 ในหนู (ทางปาก) อยู่ที่ 12600 mg/kg[12] กลีเซอรอลใช้เป็นตัวทำละลาย วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล และวัตถุกันเสียในอาหาร โดยมีเลขอีคือ E422[13] นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านจุลชีพและไวรัส จึงใช้รักษาบาดแผลและเป็นยาระบาย รวมถึงเป็นสารหล่อลื่นและสารกักเก็บความชุ่มชื้นในเครื่องสำอาง[14]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.