Remove ads
ละครโทรทัศน์ไทย พ.ศ. 2562 จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลิ่นกาสะลอง เป็นละครโทรทัศน์แนวย้อนยุค ชีวิต และรักในปี พ.ศ. 2562 ดัดแปลงจากนวนิยายชื่อเดียวกันของเนียรปาตี ผลิตโดย บริษัท ฟิลกู๊ด เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด บทโทรทัศน์โดย ปารดา กันตพัฒนกุล กำกับการแสดงโดย สันต์ ศรีแก้วหล่อ[1] นำแสดงโดย เจมส์ มาร์ และ อุรัสยา เสปอร์บันด์ ออกอากาศทุกวันจันทร์–อังคาร เวลา 20.20 น. เริ่มตอนแรกวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2562–29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, ไลน์ทีวี
กลิ่นกาสะลอง | |
---|---|
แนว | พีเรียด ดราม่า ลึกลับ |
สร้างโดย | บริษัท ฟิลกู๊ด เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด |
บทประพันธ์ | เนียรปาตี |
บทละครโทรทัศน์ | ปารดา กันตพัฒนกุล |
กำกับโดย | สันต์ ศรีแก้วหล่อ |
แสดงนำ | |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | สัญญากับคำว่ารอ – นรารักษ์ ใจบำรุง |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | สัญญากาสะลอง – ศรัณยู วินัยพานิช เจมส์ มาร์ นันทนัช โล่ห์สุวรรณ |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย ภาษาไทยถิ่นเหนือ |
จำนวนตอน | 15 ตอน |
การผลิต | |
ควบคุมงานสร้าง | ธิติมา สังขพิทักษ์ |
ความยาวตอน | 150 นาที |
ออกอากาศ | |
สถานีโทรทัศน์ | สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, ไลน์ทีวี |
ออกอากาศ | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2562 – 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 |
ละครเรื่องก่อนหน้า | แรงเงา 2 |
ละครเรื่องถัดไป | ด้ายแดง |
กลิ่นกาสะลอง เป็นละครของช่อง 3 ที่มีเรตติ้งสูงสุด ในปี พ.ศ. 2562 รองจาก กรงกรรม และ ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง[2]
กลิ่นกาสะลอง เป็นละครแนวโศกนาฏกรรมความรักข้ามภพข้ามชาติ ฉากหลังเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2467 ในช่วงปลายรัชกาลที่ 6[3] ในเรื่องนี้ อุรัสยา รับบทตัวละคร 4 ตัวละคร ทั้งบทข้ามชาติ และฝาแฝด[4] สำหรับบทบาทนี้อุรัสยา ต้องไปหัดพูดภาษาเหนือ และยังไปเรียนการแสดงเพิ่มเติมเพื่อค้นหาตัวละคร โดยมากแล้วตัวละครฝาแฝดมักจะแต่งหน้าทำผมไม่เหมือนกัน แต่เรื่องนี้ต่างไม่เยอะ แต่ให้คนดูแยกแยะด้วยการแสดง ละครเรื่องนี้ยังมีการใช้ภาพเทคนิคพิเศษหลายจุด ทั้งเรื่องฝาแฝด ผี ฉากอัศจรรย์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการทำซับไตเติลภาษา[5] ในเรื่องมีบางฉากที่พากย์เสียงทับ อย่างฉากที่อุรัสยาคุยกับพิศมัย วิไลศักดิ์ ที่ต้องลงเสียงใหม่เนื่องจากตอนแรกใช้สำเนียงเชียงราย ทำให้ฟังยากไป จึงพากย์ใหม่เป็นสำเนียงเชียงใหม่ เนื่องจากถ่ายทำไปแล้ว 4-5 คิว[6]
สถานที่ถ่ายทำหลายที่ถ่ายทำที่จังหวัดเชียงใหม่ เช่น วัดต้นเกว๋น วัดโลกโมฬี สถานีรถไฟเชียงใหม่ ตลาดวโรรส ตลาดต้นลำไย สีมันตรารีสอร์ต[7]
อุรัสยา รับบท 4 บทบาท เดอะสแตนดาร์ด วิจารณ์การแสดงว่าเป็นการแสดง "ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นบทสาวกาสะลองหวานอ่อนโยน, บทซ้องปีบสาวขี้วีนโมโหร้าย, พริมพี่สาวมั่นสมัยใหม่ และผีกาสะลอง บทหลอนวิญญาณแค้น แม้จะรับบทหนักทั้งหมด 4 บท แต่เธอก็สามารถถ่ายทอดอารมณ์และแยกความเป็นตัวละครนั้น ๆ ออกมาได้อย่างชัดเจน จนคนดูเชื่อว่าเธอแสดงเป็นคนละคนจริง ๆ"[8] ในขณะที่การพูดภาษาเหนือของอุรัสยานั้น โพสต์ทูเดย์ ว่า "ถึงแม้ว่าคนเหนือแท้ ๆ ฟังแล้วยังขัดหู แต่คนดูแบบเรา ๆ ให้ผ่าน"[9]
ปี | พ.ศ. 2562 |
---|---|
สถานีที่ออกอากาศ | ช่อง 3 |
ผู้ผลิต | บริษัท ฟิลกู๊ด เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด |
บทประพันธ์ | เนียรปาตี |
บทโทรทัศน์ | ปารดา กันตพัฒนกุล |
ผู้กำกับการแสดง | สันต์ ศรีแก้วหล่อ |
บทบาท | นักแสดงหลัก |
กาสะลอง / ซ้องปีบ (2467) ผีกาสะลอง / พิมพ์พิศา (พริมพี่) (2550) พิมพ์มาดา (พิมพ์) (2580) |
อุรัสยา เสปอร์บันด์ |
หมอทรัพย์ (2467) หมอทินกฤต (กฤต) (2550) ปรัศวินทร์ (2580) |
เจมส์ มาร์ |
มั่นฟ้า (2467) หมอภาคภูมิ (2550) |
ฐากูร การทิพย์ |
นางเหมย (2467) วิจิตรา (หมอก) (2550) |
นันทนัช โล่ห์สุวรรณ |
นายแคว้นมั่ง (2467) สุนทร (2550) |
มนตรี เจนอักษร |
ทองใบ (2467) พุดแก้ว (2550) |
เพ็ญพักตร์ ศิริกุล |
น้อยจั่น (2467) พ.ต.ต. ราเมศวร์ (2550) |
วริษฐ์ ทิพโกมุท |
บัวเกี๋ยง | อันดา กุลฑีรา (วัยเด็ก) พิศมัย วิไลศักดิ์ (วัยชรา) |
บทบาท | นักแสดงสมทบ |
แสง (2467) พระอาจารย์เทียน (2550) |
เลอวิทย์ สังข์สิทธิ์ |
อาม่ากิมฮวย | ศิรินุช เพ็ชรอุไร |
อากงเทียนอี้ | ทศพล ศิริวัฒน์ |
อินทร์ถา | ถนอม สามโทน |
คำหอม | นฤมล พงษ์สุภาพ |
บัวตอง | อรัญญา ประทุมทอง |
แสงหล้า | วิลาวัณย์ ทะลือ |
ฟองคำ | สิตางศุ์ ปุณภพ |
เกตแก้ว | สุพรรณิการ์ จำเริญชัย (รับบทสแตนอินของอุรัสยาด้วย) |
ไซโตะซัง | โชโกะ ทานิคาวะ |
บทบาท | นักแสดงรับเชิญ |
อุ๊ยแก้ว | สุเชาว์ พงษ์วิไล |
ปานจิตร | สุปราณี เจริญผล |
พ่อครูอินถา | สมมาตร ไพรหิรัญ |
ครูดาบ | วัชรชัย สุนทรศิริ |
พ่อเลี้ยงบ้านวังสิงห์คำ | พงศนารถ วินศิริ |
หมอเนเกอร์การ์ด | ปีเตอร์ ธูนสตระ |
สุดาวดี | ฉัตรฑริกา สิทธิพรม |
หมอคอร์ท | เคน ศรุตเกอร์ |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.