Loading AI tools
กระทรวงที่รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์ทางการทูตของญี่ปุ่นกับนานาประเทศ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทรวงการต่างประเทศ (ญี่ปุ่น: 外務省; โรมาจิ: Gaimushō; ทับศัพท์: ไกมุโช) เป็นหน่วยงานภายใต้อำนาจบริหารของรัฐบาลญี่ปุ่น มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
外務省 ไกมุโช | |
ตราสัญลักษณ์กระทรวงการต่างประเทศ | |
อาคารกระทรวงการต่างประเทศ | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2412 |
เขตอำนาจ | ญี่ปุ่น |
สำนักงานใหญ่ | 2-2-1 คาซูมิงาเซกิ เขตชิโยดะ โตเกียว 100-8919 ประเทศญี่ปุ่น |
บุคลากร | 6281 คน |
ต้นสังกัดหน่วยงาน | รัฐบาลญี่ปุ่น |
เว็บไซต์ | www.mofa.go.jp |
กระทรวงนี้ก่อตั้งขึ้นตามมาตรา 3 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรรัฐบาลแห่งชาติ[1] และพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงการต่างประเทศ โดยอ้างอิงจากพระราชบัญญัติดังกล่าว ภารกิจของกระทรวงการต่างประเทศคือ "การพัฒนาผลประโยชน์ของประเทศญี่ปุ่นและชาวญี่ปุ่น สนับสนุนการรักษาความสงบสุขและความปลอดภัยของสังคมระหว่างประเทศ สร้างสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่ดี และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดีอย่างต่อเนื่องและกระตือรือร้น"
ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น พ.ศ. 2490 คณะรัฐมนตรีได้ให้การต่างประเทศเป็นความรับผิดชอบหลักโดยมีรัฐสภาเป็นผู้ควบคุมดูแล นายกรัฐมนตรีจำเป็นที่จะต้องจัดทำรายงานการต่างประเทศเป็นช่วง ๆ ต่อรัฐสภาที่ทั้งสภาสูงและสภาล่างต่างมีคณะกรรมาธิการการต่างประเทศเป็นคนตนเอง อาจมีการตั้งคณะกรรมาธิการเฉพาะกิจเพื่อปรึกษาหารือเรื่องที่มีความพิเศษจำเพาะ สมาชิกรัฐสภามีสิทธิ์ที่จะตั้งกระทู้ถามเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนายกรัฐมนตรี ตลอดจนสนธิสัญญาต่าง ๆ กับต่างประเทศต้องเห็นชอบโดยรัฐสภา ในฐานะจักรพรรดิซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐที่จะปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพระราชพิธีการต้อนรับผู้แทนทางการทูต และเป็นผู้รับรองสนธิสัญญาต่างประเทศที่รัฐสภาเห็นชอบ
ในฐานะประธานแห่งอำนาจฝ่ายบริหารและบุคคลสำคัญในระบบการเมือง นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการบัญชาคำสั่งนโยบายการต่างประเทศที่สำคัญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและสมาชิกคณะรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นหัวหน้าที่ปรึกษาด้านการวางแผนและดำเนินการนโยบายการต่างประเทศ โดยรัฐมนตรีจะมีผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สองคน ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ คนที่หนึ่งจะดูแลการบริหารงานซึ่งอยู่บนสุดในโครงสร้างของกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะข้าราชการชั้นสูง และผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ คนที่สองจะดูแลการประสานงานทางการเมืองกับรัฐสภา ตำแหน่งอื่น ๆ ที่สำคัญในกระทรวงฯ เช่น เลขาธิการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีกองที่ดูแลเรื่องกงสุล การย้ายถิ่นออก การสื่อสาร และภารกิจการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และอธิบดีกรมต่าง ๆ ทั้งส่วนกระทรวงและส่วนภูมิภาค เป็นต้น
กระทรวงการต่างประเทศได้มีการสรรหาคณะทูตานุทูตพิเศษผ่านการสอบแข่งขัน และภายหลังจะได้รับการอบรมโดยสถาบันฝึกอบรมเจ้าหน้าที่การต่างประเทศ กรมสนธิสัญญามีหน้าที่ที่หลากหลาย ซึ่งมักจะดูแลและแก้ไขปัญหาทางนโยบายการต่างประเทศในเกือบทุกด้าน นอกจากนี้กรมวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัย และวางแผนจะควบคุมงานวางแผนและตรวจสอบนโยบายการต่างประเทศอย่างครอบคลุม
เจ้าหน้าที่การต่างประเทศตั้งแต่ยุคเมจิจนถึงสงครามโลกครั้งที่สองจะได้รับการคุ้มครองในฐานะชนชั้นสูง ซึ่งจะต้องผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นก่อนสงครามในการรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่การต่างประเทศ เช่น มีฐานะทางสังคมที่ดี ครอบครัวมีความสัมพันธ์กับชนชั้นสูง และต้องจบจากมหาวิทยาลัยแห่งจักรพรรดิโตเกียว (มหาวิทยาลัยโตเกียวในปัจจุบัน) โดยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง คุณสมบัติเหล่านี้ได้รับการปรับเปลี่ยนสืบเนื่องจากมาตรการปฏิรูปประชาธิปไตยในสมัยนั้น แต่เจ้าหน้าที่การต่างประเทศยังคงถือเป็นอาชีพที่ทรงเกียรติยศ ซึ่งเจ้าหน้าที่การต่างประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สองจะต้องผ่านการสอบเจ้าหน้าที่การต่างประเทศชั้นสูงก่อนที่จะเข้ารับราชการได้ ผู้สมัครที่ผ่านการสอบได้ส่วนใหญ่มักจะจบมาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียวที่มีชื่อเสียง และในเกือบทุกการแต่งตั้งเอกอัคราชทูตตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2493 เป็นต้นมาจะกระทำผ่านนักการทูตผู้มีประสบการณ์สูง
การทูตในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองไม่ได้ถูกกระทรวงการต่างประเทศผูกขาดอำนาจเท่านั้น โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ทับซ้อนของปัจจัยทางเศรษฐกิจทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กระทรวงฯ ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงการคลังในกิจการที่เกี่ยวข้องกับภาษีและพิกัดอัตราศุลกากร การเงินระหว่างประเทศ และการให้ความช่วยเหลือการต่างประเทศ ทั้งนี้ยังได้รับความร่วมมือจากกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมในการควบคุมดูแลการส่งออกและนำเข้า และการให้คำปรึกษาด้านการนำเข้าผลผลิตทางการเกษตรและสิทธิในเขตพื้นที่การประมงจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง นอกจากนี้กระทรวงการต่างประเทศยังได้ปรึกษาหารือกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น กระทรวงป้องกันประเทศ คณะกรรมการการค้ายุติธรรม ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออก องค์กรการค้านอกประเทศ กองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเล และสำนักงานความร่วมมือทางเทคนิคโพ้นทะเล
ในปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างประเทศของประเทศและความสัมพันธ์ทางการทูต กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม และกระทรวงการคลังจะทำงานร่วมกันให้การนำเข้าสินค้านั้นมีความเสรีมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงมักจะยืนหยัดในลัทธิคุ้มครองเสียมากกว่าเนื่องจากได้รับแรงกดดันมากมายจากกลุ่มผลประโยชน์พิเศษ
ความสัมพันธ์ในการต่างประเทศมีความสำคัญต่อในทุกด้านของชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ความซับซ้อนของหน่วยงานที่เกี่ยวกับการต่างประเทศเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความสับสนและความไร้สมรรถภาพในการขับเคลื่อนนโยบายการต่างประเทศ อย่างไรก็ตามผู้นำและนักวางนโยบายในช่วงยุคหลังสงครามเริ่มที่จะเป็นบทบาทสำคัญในการตัดสินใจของรัฐบาล และเมื่อปัญหานโยบายการต่างประเทศในทัศนคติของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ก็จะก่อให้เกิดสัญญาณว่าการดำเนินกิจการในการต่างประเทศจะสามารถทำได้ตามพื้นฐานของมติมหาชนที่มั่นคง
กระทรวงการต่างประเทศ (ญี่ปุ่น: 外務省; โรมาจิ: Gaimushō)
หนังสือทูตปกน้ำเงิน (ญี่ปุ่น: 外交青書; โรมาจิ: Gaikō Seisho) เป็นรายงานประจำปีที่จัดทำโดยกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งจะสรุปนโยบายการต่างประเทศและประเมินแนวโน้มการเมืองต่างประเทศ[4] หนังสือปกน้ำเงินเผยแพร่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2500[5] รายงานดังกล่าวอาจสร้างความไม่พอใจจากต่างประเทศกับนโยบายการต่างประเทศญี่ปุ่น เช่น การละเลยวลี "ประเทศเกาหลีใต้เป็นเพื่อนบ้านคนสำคัญของเรา" และเพิ่มประโยคอย่าง "อาชีพในประเทศเกาหลีใต้บนเกาะเล็กเลียนคอร์ตผิดกฎหมาย" ในหนังสือปกน้ำเงินปี พ.ศ. 2561 ได้สร้างการโต้เถียงกับรัฐบาลเกาหลีใต้อย่างเห็นได้ชัด[6]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.