Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก หรือ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกเพื่อความเจริญรุ่งเรือง (อังกฤษ: Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity) หรือ ไอพีอีเอฟ (IPEF) เป็นโครงการริเริ่มทางเศรษฐกิจที่เปิดตัวโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดิน แห่งสหรัฐ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2565[1][2] พร้อมกับอีกสิบสามประเทศ และคำเชิญอย่างเปิดเผยสำหรับประเทศอื่น ๆ ให้เข้าร่วมเมื่อใดก็ได้ในอนาคต
ไบเดินกล่าวถึงกรอบความคิดริเริ่มนี้ว่า "เป็นการเขียนกฎใหม่สำหรับเศรษฐกิจศตวรรษที่ 21" โดยระบุว่าข้อตกลงนี้จะทำให้เศรษฐกิจของผู้เข้าร่วม "เติบโตเร็วขึ้นและยุติธรรมขึ้น" และจีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวต่ออีกว่ากรอบการทำงานดังกล่าวเป็น "การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่สำคัญที่สุดที่สหรัฐเคยมีในภูมิภาคนี้"[3][4] อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ได้เปรียบเทียบความร่วมมือนี้กับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ทีพีพี) ที่สหรัฐถอนตัวออกไปในปี 2560
กรอบความร่วมมือนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อการลดอัตราภาษีอากร แต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการเจรจาในภายหลัง[5] ภายใต้หลักการ 4 ประการ ได้แก่[6]
ในปัจจุบัน ไอพีอีเอฟมีประเทศสมาชิก 14 ประเทศ คิดเป็นร้อยละ 40 ของจีดีพีโลก[2]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.