กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าหญิงฉิม เป็นพระธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) เจ้าผู้ครองนครศรีธรรมราช และเป็นพระมเหสีฝ่ายซ้ายในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ข้อมูลเบื้องต้น กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์, พระมเหสีฝ่ายซ้าย ...
กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์
พระมเหสีฝ่ายซ้าย
ก่อนหน้าเจ้าฟ้าสังวาลย์
ถัดไปสิ้นสุด
พระสวามีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พระบุตร
ราชวงศ์ธนบุรี (เสกสมรส)
พระบิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู)
พระมารดาหม่อมทองเหนี่ยว
ศาสนาพุทธ
ปิด

พระประวัติ

สรุป
มุมมอง

กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ หรือพระนามเดิมว่าเจ้าหญิงฉิม เป็นพระธิดาในเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) เจ้าผู้ครองนครศรีธรรมราชซึ่งตั้งตนเป็นรัฐอิสระหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองเรียกว่าก๊กเจ้าเมืองนคร และมิได้มีพื้นเพเป็นชาวนครศรีธรรมราช[1] เจ้านครศรีธรรมราชมีพระธิดาสามองค์ที่ประสูติแต่หม่อมทองเหนี่ยว พระชายา[2][3] ผู้มีเชื้อสายจีนในเมืองนครศรีธรรมราช[4] ได้แก่ เจ้าหญิงชุ่ม (หรือนวล), เจ้าหญิงฉิม และเจ้าหญิงปราง (หรือ หนูเล็ก)[5] ในราชสำนักนครศรีธรรมราชออกพระนามว่า ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงใหญ่, ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงกลาง และทูลกระหม่อมฟ้าหญิงเล็กตามลำดับ[6][7][8] และมีพระขนิษฐาต่างมารดาอีกองค์หนึ่งคือเจ้าหญิงยวน (หรือจวน)[9][10] นิธิ เอียวศรีวงศ์สันนิษฐานว่ากรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์น่าจะประสูติใน พ.ศ. 2302 ขึ้นไปเป็นอย่างช้า[11]

เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปราบปรามชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชได้เมื่อปี พ.ศ. 2312 เจ้านครศรีธรรมราชยอมสวามิภักดิ์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ไม่ทรงถือว่าเจ้านครศรีธรรมราชเป็นกบฏ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เข้าไปรับราชการในกรุงธนบุรี และทรงแต่งตั้งเจ้านราสุริวงษ์ พระเจ้าหลานเธอครองนครศรีธรรมราชแทน[12] ด้วยเหตุนี้เจ้านครจึงถวายธิดาคือเจ้าหญิงฉิมเป็นพระสนมสนองพระเดชพระคุณโดยมีเจ้าหญิงปรางติดตามไปด้วย[13]

ขณะที่เจ้าหญิงฉิมรับราชการเป็นพระสนมนั้น ได้สนองพระเดชพระคุณประสูติกาลพระโอรสคือเจ้าฟ้าทัศพงษ์ (ราว พ.ศ. 2319)[11] ปีต่อมาจึงประสูติกาลพระโอรสอีกคือเจ้าฟ้าทัศไพ จึงมีนามเป็นเจ้าจอมมารดาฉิม ตำแหน่งพระสนมเอก[14] หลังการประสูติกาลพระโอรสเป็นมารดาเจ้า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกเจ้าจอมมารดาฉิมขึ้นเป็นกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ เป็นมเหสีฝ่ายซ้าย[6][8][15] มีพระราชโอรส-ธิดาด้วยกัน 4 พระองค์ ได้แก่[9]

  1. เจ้าฟ้าทัศพงษ์ (ต่อมาถูกถอดพระยศเป็นพระพงษ์นรินทร์) เป็นต้นสกุลพงษ์สิน
  2. เจ้าฟ้าทัศไพ (ต่อมาถูกถอดพระยศเป็นพระอินทร์อภัย) เป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาน้อย ในรัชกาลที่ 4 ต้นราชสกุลนพวงศ์และสุประดิษฐ์
  3. เจ้าฟ้านเรนทรราชกุมาร (ต่อมาถูกถอดพระยศเป็นพระนเรนทรราชา) เป็นต้นสกุลรุ่งไพโรจน์
  4. เจ้าฟ้าปัญจปาปี (ต่อมาถูกลดพระยศเป็นหม่อมปัญจปาปี) เป็นหม่อมในสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ต้นราชสกุลอิศรางกูร

กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์สิ้นพระชนม์เมื่อใดไม่เป็นที่ปรากฏ

อ้างอิง

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.