อูนะโกฏิ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อูนะโกฏิ (อักษรโรมัน: Unakoti) แปลตรงตัวว่า น้อยกว่าหนึ่งโกฏิอยู่หนึ่ง ในภาษาเบงกอล เป็นเนินเขาที่เป็นที่ตั้งของเทวสถานในนิกายไศวะของศาสนาฮินดู ที่ซึ่งมีจุดเด่นที่งานแกะสลักนูนต่ำบนผนังหินขนาดใหญ่ที่แสดงรูปพระศิวะ อูนะโกฏิเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของอำเภออูนะโกฏิ รัฐตรีปุระทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย[1] พบหลักฐานกิจกรรมทางศาสนาที่นี่ย้อนกลับไปถึงศตวรรษที่ 7-9 เป็นอย่างต่ำ
อูนะโกฏิ | |
---|---|
ผนังหนึ่งของอูนะโกฏิ | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เขต | อำเภออูนะโกฏิ |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | ตำบลไกลาศาหาร |
รัฐ | ตรีปุระ |
ประเทศ | ประเทศอินเดีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 24°19′N 92°4′E |
สถาปัตยกรรม | |
เสร็จสมบูรณ์ | ค.ศ. 600–700 |
ในบรรดาภาพแกะสลักนูนต่ำประกอบด้วยพระศิวะเป็นองค์ประธาน พระนามว่า อูนะโกฏิศวรกาลไภรวะ (Unakotiswara Kal Bhairava) มีความสูง 30 ฟุต ซึ่งประกอบด้วยเครื่องทรงพระเศียรที่สูงราว 10 ฟุต สองข้างของเครื่องทรงพระเศียรนั้นพบพระแม่ทุรคาประทับบนสิงโต และเทวีอีกองค์หนึ่ง นอกจากนี้ยังพบรูปพระคเณศองค์ใหญ่ และมีการพบรูปโคนนทิที่ถูกฝังในดินอยู่ครึ่งหนึ่ง
พื้นที่นี้ขาดการดูแลอยู่ช่วงหนึ่งอันเป็นผลให้งานแกะสลักหินถูกกร่อนลงมาก ASI (องค์การสำรวจโบราณคดีอินเดีย) จึงได้เข้ามาดูแลและประกาศสถานะแหล่งโบราณสถาน อย่างไรก็ตามยังคงมีการขุดค้นอีกมากในพื้นที่ที่ยังไม่ได้ดำเนินการ รัฐบาลอินเดียเคยมีความพยายามที่จะเสนอต่อยูเนสโกให้อูนาโกฏิเป็นแหล่งมรดกโลก[2] เมื่อปี 2016 หน่วยงานของรัฐได้รับเงิน 12 โกรร์รูปี เพื่อพัฒนาพื้นที่นี้เป็นแหล่งท่องเที่ยว[3]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.