Loading AI tools
ซันไก (อังกฤษ: Sangai; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rucervus eldii eldii) เป็นละองละมั่งชนิดย่อยชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นที่พบในรัฐมณีปุระ ประเทศอินเดีย ที่เดียวเท่านั้น[2]
ซันไก | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Artiodactyla |
วงศ์: | Cervidae |
สกุล: | Rucervus |
สปีชีส์: | R. eldii |
ชื่อทวินาม | |
Rucervus eldii eldii (M'Clelland, 1842) | |
ซันไก ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกโดยนายทหารชาวอังกฤษ คือ ร้อยตรีเพอร์ซี เอลด์ (Percy Eld) ในปี ค.ศ. 1841 โดยถือเป็นละองละมั่งชนิดแรกที่ถูกค้นพบ จึงถือว่าเป็นชนิดต้นแบบของละองละมั่งด้วย เมื่อถูกพบครั้งแรกมีรายงานว่าเป็นกวางพื้นเมืองที่พบในเมืองมณีปุระ ในรัฐอัสสัม ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย คำว่า "ซันไก" (संगाई) เป็นภาษาฮินดี ที่ใช้เรียกกวางชนิดนี้ เป็นกวางประหลาดชนิดใหม่ที่มีเขาบนหัว ยื่นออกมาที่หน้าผาก ต่างจากกวางทั่ว ๆ ไป จึงตั้งชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า "Brow-antlered Deer" แต่มักนิยมเรียกกันว่า "Eld’s Deer" ตามชื่อเอลด์ในฐานะของผู้ค้นพบครั้งแรก ต่อมาจึงได้มีการศึกษาจำแนกและตั้งชื่อกวางที่พบชนิดใหม่นี้ตามหลักอนุกรมวิธาน เป็น Cervus eldi McClelland, 1842 ซันไกมีความแตกต่างจากละองละมั่งพันธุ์ไทยและละองละมั่งพันธุ์พม่า ตรงที่ส่วนปลายของลำเขาไม่โค้งงอหักเป็นตะขอมาข้างหน้า และมีแขนงกิ่งปลายเขาเพียง 2 แขนงเท่านั้น [3]
ซันไก อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ แต่กีบเท้าก็สามารถปรับตัวได้เป็นอย่างดีเมื่ออยู่ในพื้นที่ลุ่ม เขาจะมีการผลัดทุกปีและจะมีขนาดใหญ่ที่สุดในฤดูผสมพันธุ์ มีอายุยืนเต็มที่ในธรรมชาติ 10 ปี[4] ปัจจุบันจะพบประชากรซันไกกระจายพันธุ์อยู่ที่ทางตอนใต้ของทะเลสาบลอกตัก ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของภาคตะวันออกของอินเดีย[1] ภายในอุทยานแห่งชาติไคบุลแลมเจา ประมาณ 45 กิโลเมตรจากเมืองอิมผาล เป็นสัตว์ได้รับความคุ้มครอง และถือเป็นสัตว์ประจำรัฐมณีปุระ [2]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.