Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลีวียู ลีเบรสกู (โรมาเนีย: Liviu Librescu, เสียงอ่านภาษาโรมาเนีย: [ˈlivju liˈbresku]; ฮีบรู: ליביו ליברסקו 18 สิงหาคม 1930 – 16 เมษายน 2007) เป็นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรชาวอเมริกัน-โรมาเนีย ผู้รอดชีวิตจากโฮโลคอสต์ เขาชำนาญการพิเศษในสาขาแอโรอีลาสติกซีตี และ แอโรไดนามิกส์
ลีวียู ลีเบรสกู | |
---|---|
เกิด | 18 สิงหาคม 1930 ปลอเยชต์ ราชอาณาจักรโรมาเนีย |
เสียชีวิต | เมษายน 16, 2007 ปี) แบล็กสเบิร์ก รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐ | (76
สาเหตุเสียชีวิต | บาดแผลกระสุนปืน |
พลเมือง | โรมาเนีย |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยโปลีเทคนิกบูคาเรสต์ |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | วิศวกรรมศาสตร์: แอโรอีลาสติกซิตี และ แอโรไดนามิกส์ |
สถาบันที่ทำงาน | เวอร์จิเนียเทก มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ สถาบันเทคโนโลยีเทกนีออน-อิสราเอล[1][2] |
ลีเบรสกูเป็นที่รู้จักในวงกว้างจากบทบาทของเขาระหว่างการสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทคเมื่อปี 2007 ที่ซึ่งเขาดึงปิดประตูห้องเลกเชอร์ของเขาไว้เพื่อให้นักศึกษาในห้องหลบหนีออกทางหน้าต่างได้ทัน นักศึกษาในห้องเลกเชอร์ของลีเบรสกูหลบหนีออกมาสำเร็จยกเว้นเพียงแค่คนเดียว[3] ท้ายที่สุด ลีเบรสกูถูกยิงเสียชีวิตขณะเกิดเหตุสังหารหมู่ รัฐบาลโรมาเนียได้มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Order of the Star of Romania ซึ่งเป็นเกียรติยศสูงสุดสำหรับพลเมือง ให้แก่เชาหลังเสียชีวิต
ตอนที่เขาเสียชีวิต ลีเบรสกูเป็นศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์วิศวกรรมและเครื่องกลประจำเวอร์จิเนียเทก[4]
ลีวียู ลีเบรสกู เกิดในปี 1930 ในครอบครัวชาวยิวในเมืองปลอเยชต์ ราชอาณาจักรโรมาเนีย หลังนาซีเข้ายึดครองโรมาเนียในสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบครัวของเขาถูกเนรเทศไปค่ายแรงงานในทรานส์นีสเตรีย และต่อมาถูกส่งไปยังเกตโตในเมืองฟอกชันในโรมาเนีย[5]
หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด และรอดชีวิตจากฮอโลคอสต์มาได้ ลีเบรสกูเดินทางกลับสู่โรมาเนียยุคคอมมิวนิสต์[5] เขาจบการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์แอโรไดนามิกส์ จากมหาวิทยาลัยพอลีเทคนิกบูคาเรสต์ในปี 1952 และศึกษาต่อปริญญาเอก จบการศึกษาวุฒิ Ph.D. ในสาขากลศาสตร์ของไหล ในปี 1969 จากสถาบันวิทยาศาสตร์โรมาเนีย[6] เขาทำงานเป็นอาจารย์ประจำสถาบันต่าง ๆ ในบูคาเรสต์จนถึงปี 1975 ที่ซึ่งเขาปฏิเสธการสาบานตนเข้าร่วมกับรัฐบาลของผู้เผด็จการนีกอลาเอ ชาวูเชสกู[5] ต่อมาเขาได้ยื่นคำร้องอพยพไปยังอิสราเอล (สำหรับชาวยิว) สถาบันวิทยาศาสตร์โรมาเนียไล่เขาออกจากสถาบัน[5] ในปี 1976 ผลงานวิจัยที่เขาแอบลักลอบออกมาได้รับการตีพิมพ์ในเนเธอร์แลนด์ ทำให้ชื่อของเขาได้นับความสนใจในสาขาพลศาสตร์วัสดุ (material dynamics) จากนานาชาติ[7]
หลังถูกรัฐบาลปฏิสเธมาหลายเดือน ท้ายที่สุดเมนาเกม เบกิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เข้ามาแทรกแซงและอนุญาตให้ครอบครัวของลีเบรสกูสามารถอพยพมายังอิสราเอลได้ หลังเบกิน ได้ยื่นคำร้องโดยตรงแก่นีกอลาเอ ชาวูเชสกู ประธานาธิบดีโรมาเนีย เพื่ออนุมัติให้ลีเบรสกูออกจากประเทศมายังอิสราเอลได้[5] ครอบครัวของลีเบรสกูอพยพมายังอิสราเอลในปี 1978[8]
ในปี 1979 ถึง 1986 ลีเบรสกูเป็นศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมศาสตร์เครื่องกลและแอโรนอติกส์ประจำมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ และสอนที่สถาบันเทคนีออนในไฮฟา[8] ในปี 1985 เขาออกเดินทางเพื่อพักผ่อนซับบาติคัลมายังสหรัฐ และต่อมาเป็นศาสตราจารย์ประจำอยู่ที่เวอร์จิเนียเทก แผนกวิทยาศาสตร์วิศวกรรมและเครื่องกล[8][9] เขาเป็นสมาชิกบรรณาธิการบริหารของวารสารวิทยาศาสตร์เจ็ดหัว และได้รับเชิญเป็นบรรณาธิการรับเชิญให้กับฉบับพิเศษของวารสารวิชาการอื่นอีกห้าหัว[10] ไม่นานก่อนเสียชีวิต เขาเป็นประธานร่วมในคณะกรรมการจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยความเครียดความร้อนครั้งที่เจ็ด (7th International Congress on Thermal Stress) ที่ไทเป ในประเทศไต้หวัน ระหว่างวันที่ 4–7 มิถุนายน 2007 และเขายังได้รับเชิญเป็นผู้กล่าวคีย์โนตเลกเชอร์ (keynote lecture) ของการประชุมครั้งนี้ด้วย[4][10] ภรรยาของเขาระบุว่า ลีเบรสกูเป็นศาสตราจารย์ที่มีผลงานตีพิมพ์มากที่สุดในบรรดาศาสตราจารย์ที่เวอร์จิเนียเทก[8]
ลีเบรสกูเสียชีวิตในการสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทค สิริอายุ 76 ปี[8] ถือเป็นผู้เสียชีวิตที่อายุมากที่สุดในเหตุการณ์นั้น ขณะเกิดเหตุเมื่อ 16 เมษายน 2007 ผู้ก่อเหตุ โช ซึง-ฮี เดินเข้ามายังอาคารวิศวกรรมศาสตร์นอริสฮอลล์ (Norris Hall Engineering Building) และกราดยิงตามห้องเรียนในอาคาร ลีเบรสกู ซึ่งตอนนั้นกำลังสอนวิชากลศาสตร์ของแข็งในห้อง 204 ในนอริสฮอลล์ ได้ดึงประตูปิดเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ก่อเหตุบุกเข้ามาได้ พร้อมทั้งตะโกนเรียกให้นักศึกษาในห้องเขาหลบหนีออกไปทางหน้าต่าง ลีเบรสกูสามารถดึงรั้งประตูสู้ไว้ได้กระทั่งนักศึกษาส่วนใหญ่ในห้องหลบหนีออกไปสำเร็จ กระทั่งผู้ก่อเหตุเตะกระจกเข้ามาได้ นักศึกษาที่หลบหนีออกทางหน้าต่างบางส่วนบาดเจ็บที่ขาเนื่องจากกระโดดลงมาจากห้องซึ่งอยู่บนชั้นสอง บางส่วนปลอดภัยดี ทั้งหมดหลบหนีออกมาโดยวิ่งไปยังรถพยาบาลที่ล้อมรอบวิทยาเขตอยู่ บ้างวิ่งหนีออกไปทางป้ายรถประจำทางใกล้ ๆ[11][12][13] ลีเบรสกูถูกยิงรวมสี่นัดผ่านทางประตู[14] หนึ่งนัดผ่านทางนาฬิกาข้อมือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในห้องนั้นทั้ง 23 คนรอดชีวิต ยกเว้นเพียงแค่มินัล ปัญญัล (Minal Panchal) นักศึกษาปริญญาเอกชาวอินเดียจากมุมไบ และอีกสองคนบาดเจ็บไม่ถึงชีวิตขณะหลบอยู่ในซอกหลืบของห้อง[15]
นักศึกษาจำนวนหนึ่งของลีเบรสกูยกย่องเขาเป็นวีรบุรุษจากการกระทำของเขา แคโรลีน เมอรีย์ (Caroline Merrey) นักศึกษาชั้นปีสี่ ระบุว่านักศึกษาอีก 20 คนอัดกันออกมาทางหน้าต่าง ในขณะที่ลีเบรสกูตะโกนเร่งให้พวกเขารีบหนีออกไป[14] เธอระบุว่า "ฉันคิดว่าฉันไม่น่าจะ[รอดชีวิต]มายืนอยู่ตรงนี้ได้ ถ้าไม่ใช่เพราะเขา[ลีเบรสกู]"[16]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.