Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มโนสำนึกของฟินเนกัน (อังกฤษ: Finnegans Wake) เป็นนวนิยายชวนขัน (Comic novel) และงานชิ้นสุดท้ายที่เขียนโดยเจมส์ จอยซ์ ที่เขียนโดยใช้ลักษณะการเขียนแบบทดลอง ที่มีผลให้ได้ชื่อว่าเป็นงานวรรณกรรมนวนิยายชิ้นที่ยากแก่การเข้าใจมากที่สุดชิ้นหนึ่งของภาษาอังกฤษ[1][2] จอยซ์ใช้เวลาถึง 17 ปีในการเขียนงานชิ้นนี้ในปารีส และในที่สุดก็ได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1939 สองปีก่อนที่จอยซ์จะเสียชีวิต
ผู้ประพันธ์ | เจมส์ จอยซ์ |
---|---|
ภาษา | อังกฤษ |
ประเภท | Sui generis |
สำนักพิมพ์ | Faber and Faber |
วันที่พิมพ์ | 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1939 |
ชนิดสื่อ | การพิมพ์: (หนังสือปกแข็ง และ หนังสือปกอ่อน) |
ISBN | 0-14-118126-5 |
OCLC | 42692059 |
823/.912 21 | |
LC Class | PR6019.O9 F5 1999 |
เรื่องก่อนหน้า | ยูลิสซีส (ค.ศ. 1922) |
หนังสือทั้งเล่มเขียนโดยใช้จินตภาษา (idioglossia/idiosyncratic language) ที่ประกอบด้วยการเล่นคำ และคำสมาสที่จอยซ์สร้างขึ้นเอง (จินตสมาส (portmanteau)) โดยมีวัตถุประสงค์ที่สร้างบรรยากาศของจิตสำนึกที่อยู่ในสภาพระหว่างการหลับและการฝัน[3] การเขียนโดยการใช้การทดลองทั้งโครงสร้างและการใช้ภาษา, การเขียนตามกระแสสำนึก, การใช้นัยยะ, การใช้นัยประหวัดอิสระ[4] (Free association) และการละทิ้งการเขียนแบบที่มีโครงเรื่อง และ ตัวละคร ทำให้ “มโนสำนึกของฟินเนกัน” กลายเป็นหนังสือที่ยังไม่ได้รับการอ่านโดยสาธารณชนส่วนใหญ่[5][6]
“มโนสำนึกของฟินเนกัน” เป็นงานวรรณกรรมชิ้นสำคัญที่โมเดิร์นไลบรารีจัดให้เป็นลำดับที่เจ็ดสิบเจ็ดของนวนิยายดีที่สุดร้อยเรื่องโดยโมเดิร์นไลบรารี (Modern Library 100 Best Novels) ในบรรดานวนิยายที่ถือว่าดีเด่นของคริสต์ศตวรรษที่ 20[7]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.